กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดจัดประกวดภาพถ่าย “ประเพณี 12 เดือน ร้อยมุมมองวิถีไทย” ซีซั่น 2 ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 230,000 บาทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมภาพถ่ายประเพณีและเทศกาลทั่วประเทศที่มีคุณภาพ สวยงาม และภาพที่ได้จากการประกวดสามารถนำมาใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการร่วมอนุรักษ์ สืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้คนในประเทศได้ร่วมภาคภูมิใจ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่คุณค่าสาระความงดงามของประเพณีไทย สู่นานาชาติได้เป็นอย่างดียิ่งต่อไป
การประกวดภาพถ่าย “ประเพณี 12 เดือน ร้อยมุมมองวิถีไทย” ซีซั่น 2
- เทศกาลประเพณีที่เกิดขึ้นในเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม 2566
รายชื่อเทศกาลประเพณี
- ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จ.เพชรบูรณ์
- ประเพณีออกพรรษา ทั่วประเทศ
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ทั่วประเทศ
- เทศน์มหาชาติ ทั่วประเทศ
- ทอดกฐิน ทั่วประเทศ
- ประเพณีตักบาตรเทโว ทั่วประเทศ
- ประเพณีรับบัว จ.สมุทรปราการ
- ประเพณีลากพระ ชักพระ ภาคใต้
- ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จ.สกลนคร
- ประเพณีไหลเรือไฟ จ.นครพนม
- เทศกาลโคมแสนดวง จ.ลำพูน
- ประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต
- ประเพณีวิ่งควาย จ.ชลบุรี
- ประเพณีปักธงเมืองนครไทย จ.พิษณุโลก
- ประเพณีลอยกระทง ทั่วประเทศ
- ประเพณีแข่งเรือ ทั่วประเทศ
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ห่มพระ ทั่วประเทศ
- ประเพณีเกี่ยวกับการทำขวัญข้าว ทั่วประเทศ
รางวัลประจำครั้ง
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
- รางวัลดีเด่น จำนวน 15 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
หลักเกณฑ์ และ กติกา การส่งภาพประกวด
- ผู้สมัคร เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุ
- ผู้สมัคร 1 คน มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวดไม่เกิน 10 ผลงาน
- ผู้สมัครต้องทำการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการสมัครที่กำหนด และข้อมูลเกี่ยวกับภาพให้ครบถ้วนและต้องตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด
- ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยตนเอง ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น
- ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด จะต้องถ่ายทอด สาระ คุณค่า มรดกทางภูมิปัญญาอันดีงามของประเพณีและเทศกาลนั้น ๆ
- ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นไฟล์ภาพสี แนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้
- สามารถใช้กล้อง Digital ในทุกรูปแบบ (DSLR, Mirrorless, Compact, Action Camera, Tablet, Smartphone และ Drone) หรือกล้องบรรจุฟิล์ม
- ในกรณีที่ใช้ Drone ถ่ายภาพ เจ้าของผลงานต้องเตรียมนำหลักฐานมายื่นเพิ่มเติมดังนี้
- “ต้องมี” หนังสือการขึ้นทะเบียนผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินออกโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
- “ต้องมี” ใบรับรองการขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมสําหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสําหรับใช้งานเป็นการทั่วไป (โดรน) ออกโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
- “ต้องมี” เอกสารการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกจากอากาศยานที่ไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone Liability Insurance)
- ในกรณีทำการบินในพื้นที่หวงห้าม หรือทำการบินสูงเกิน 90 เมตร หรือ ขึ้นบินระหว่างเวลา 18.00 น. – 06.00 น. ต้องนำหลักฐานการอนุญาตให้ทำการบิน เช่น หนังสืออนุญาตที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือเจ้าของพื้นที่มาแสดง หรือต้องสามารถชี้แจงได้
- ไฟล์ภาพจากกล้อง DSLR, Mirrorless และ Compact ต้องมี “ขนาดด้านสั้นที่สุดต้องไม่ต่ำกว่า 2,400 pixels” และ “ขนาดด้านยาวที่สุดต้องไม่เกินกว่า 4,000 pixels” ในรูปแบบไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และควรต้องรักษาไฟล์ RAW ไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ
- ไฟล์ภาพจากกล้อง Action Camera, Tablet, Smartphone, หรือ Drone ควรมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่และมีคุณภาพเท่าที่อุปกรณ์นั้น ๆ จะสามารถทำได้ในรูปแบบไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และควรต้องรักษาไฟล์ RAW ก่อนการปรับแต่งและภาพหลังการแต่งแล้ว ในความละเอียดสูงไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ
- ในกรณีที่ใช้กล้องบรรจุฟิล์มจะต้องนำฟิล์มไปสแกนเป็นไฟล์ภาพดิจิตอลที่มี “ขนาดด้านสั้นที่สุดต้องไม่ต่ำกว่า 2,400 pixels” และ “ขนาดด้านยาวที่สุดต้องไม่เกินกว่า 4,000 pixels” ในรูปแบบไฟล์ .jpg หรือ .jpeg เท่านั้น และควรต้องรักษาฟิล์มต้นฉบับไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ
- ในกรณีที่ภาพถ่ายเป็นรูปแบบ Panorama จะต้องมีขนาดด้านยาวสุดไม่เกิน 4,000 pixels และต้องรักษาไฟล์ภาพต้นฉบับก่อนการปรับแต่งและภาพหลังการแต่งแล้วในความละเอียดสูงไว้แสดงในกรณีมีการเรียกตรวจสอบ
- สำหรับภาพที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ทางคณะผู้จัดโครงการฯ อาจทำการเรียกขอ File ขนาดใหญ่สุดเพิ่มเติม
- ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกใด ๆ ลงบนภาพรวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ
- สามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน
- ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่นใด
- ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องกรรมสิทธิ์ภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ทั้งนี้คณะผู้จัดงานจะไม่รับผิดชอบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เจ้าของผลงานมีสัญญาผูกพันต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีนี้เอง
- ไฟล์ภาพถ่ายทุกไฟล์ที่ส่งเข้าประกวด กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะไม่ส่งคืนให้ผู้เข้าร่วมประกวด และไฟล์ภาพดังกล่าวจะเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แต่ลิขสิทธิ์ของภาพยังคงเป็นของเจ้าของภาพอย่างสมบูรณ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีสิทธินำภาพถ่ายทุกภาพที่ส่งเข้าประกวดไปใช้ในการเผยแพร่เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่มุ่งหวังผลทางการค้า ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ การแสดงนิทรรศการ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้า และไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของภาพ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ความสำคัญกับการประกาศความเป็นตัวตนของเจ้าของผลงานและจะระบุชื่อเจ้าของผลงานให้ในทุกกรณีที่สามารถทำได้เมื่อมีการนำภาพถ่ายไปใช้
- หากปรากฏว่าภาพที่เข้าประกวดไม่เป็นไปตามกติกาข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วนคณะกรรมการฯ มีอำนาจในการตัดสินผู้ที่ส่งภาพเข้าประกวด และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น
- กรมส่งเสริมวัฒนธรรมขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไข รวมทั้งของรางวัลโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมีหน้าที่รับผิดชอบในการอ่านและทำความเข้าใจกับกฎระเบียบและเงื่อนไขต่าง ๆ ของโครงการฯ อย่างละเอียดและครบถ้วนทุกประการ หากกระทำผิดกฎระเบียบและเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น คณะผู้จัดการประกวดมีสิทธิ์ในการพิจารณาถึงการให้เข้าร่วมประกวด หรืออาจมีการติดต่อไปในรายบุคคลหากต้องการขอข้อมูลเพิ่ม หรือ อาจทำการตัดสิทธิ์และเรียกคืนรางวัลในภายหลังได้
- บุคลากรในสังกัดกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ คณะกรรมการตัดสิน ไม่มีสิทธิ์ร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในครั้งนี้
- การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ระยะเวลาดำเนินการ
- เปิดระบบรับภาพ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 10 มกราคม พ.ศ. 2567
- ประกาศภาพที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย และ เปิดให้สาธารณชนร่วมตรวจสอบภายใน เดือนมกราคม พ.ศ. 2567
- ประกาศผลภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ส่งภาพประกวดได้ที่ เว็บไซต์สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (www.rpst.or.th)
*หมายเหตุ วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : [email protected]
Leave feedback about this