NEWS PHOTO CONTEST

โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2565

โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2565

เวทีการประกวดศิลปะสำหรับเยาวชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อให้เวทีแห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งโอกาสสานฝันให้เยาวชนผู้รักงานศิลป์จากทั่วประเทศได้ส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าประชันเชิงชั้นด้านศิลปะ การคัดเลือกผลงานมีมาตรฐานที่เข้มข้น โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่เปิดสอนด้านศิลปะ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์กรที่ได้รับการยอมรับในด้านศิลปะต่าง ๆ อาทิ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตลอดจนมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะที่ทรงเกียรติร่วมพิจารณา ประกอบด้วย ศิลปินแห่งชาติ กลุ่มคณาจารย์ ศิลปินอิสระ ที่ทรงคุณวุฒิกว่า 60 ท่าน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรักศิลปะได้สร้างสรรค์ผลงานและมีเวทีในการแสดงออกถึงความสามารถสู่สายตาสาธารณชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาศักยภาพวงการศิลปะไทยให้ก้าวไปสู่การยอมรับในระดับสากล เพื่อเป็นรากฐานสำคัญต่อวงการศิลปะต่อไป โดยเปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นใหม่ ได้มาเปล่งประกายแสดงพรสวรรค์ทางศิลปะของตัวเอง

มูลนิธิเอสซีจีขอเชิญน้อง ๆ อายุ 15-25 ปี ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด “โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2565” หรือ “Young Thai Artist Award 2022” ชิงรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลรวม 3,300,000 บาท

วัตถุประสงค์
  1. เฟ้นหาเยาวชนที่มีความโดดเด่นทางศิลปะและส่งเสริมให้มีโอกาสแสดงผลงานต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
  2. สนับสนุนให้เยาวมีความมุ่งมั่นพากเพียรในการสร้างศิลปกรรมอย่างประณีตและสร้างสรรค์ เพื่อก้าวไปสู่ระดับสากล
  3. เพื่อเป็นเวทีสำหรับถ่ายทอด แลกเปลี่ยน เชื่อมโยงมุมมองทางศิลปะระหว่างศิลปินอาวุโสและศิลปินรุ่นใหม่
  4. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนมีประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนาและสร้างสรรค์งานของตนต่อไป
  5. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของงานศิลปะ

คุณสมบัติ
เยาวชนสัญชาติไทย อายุระหว่าง 15 – 25 ปี (เกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2540 – 31 ธันวาคม 2550)
สาขางานศิลปะที่จัดประกวด 6 สาขา
  1. ศิลปะ 2 มิติ ได้แก่ งานจิตรกรรม งานภาพพิมพ์ หรืองานสื่อผสมอื่นๆ ไม่จำกัดแนวคิดและเทคนิค และผลงานต้องมีขนาด กว้าง x ยาว ไม่เกิน 1.8 x 1.8 เมตร รวมกรอบพร้อมติดตั้ง โดยที่ส่วนที่ยื่นออกนอกเฟรมต้องไม่เกิน 10 เซนติเมตร
  2. ศิลปะ 3 มิติ ได้แก่ งานประติมากรรม งานสื่อผสม ฯลฯ ไม่จำกัดแนวความคิดและเทคนิค และผลงานต้องมีขนาด ความสูง (H) ความกว้าง (W) ความลึก (D) รวมกันไม่เกิน 2.5 เมตร (ไม่รวมฐาน) สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
  3. ภาพถ่าย ได้แก่ ผลงานที่ถ่ายด้วยกล้องบรรจุฟิล์ม หรือกล้องดิจิทัล และสามารถแก้ไขภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ สามารถส่งผลงานได้ไม่เกินคนละ 2 ชุด แต่ละชุดต้องมีจำนวนไม่เกิน 8 ชิ้น
  4. ภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์สีหรือขาวดำ Live Action หรือ Animation ความยาวไม่เกิน 30 นาที (รวม Title และ End Credit) มีภาพและเสียงสมบูรณ์ พร้อม Subtitle ภาษาอังกฤษ ส่งไฟล์ผลงาน คุณภาพความละเอียด 1080 x 1920 (HDV) และต้องเป็นผลงานที่ผลิตขณะที่เป็นนิสิต/นักศึกษาหรือเป็นผลงานที่ผลิตระหว่างเดือน เมษายน 2563 – กรกฎาคม 2565
  5. วรรณกรรม ได้แก่ นวนิยาย (1 เรื่อง ความยาว 60 – 80 หน้า) เรื่องสั้น (รวมเรื่องสั้นอย่างน้อย 8 เรื่อง โดยมีความยาวของแต่ละเรื่องไม่เกิน 8 หน้า) หรือกวีนิพนธ์ (รวมบทกวีมีฉันทลักษณ์ หรือบทกวีขนาดยาว จำนวน 150 – 200 บท/ กวีไร้ฉันทลักษณ์ จำนวน 60 -80 หน้า) โดยจัดพิมพ์ในกระดาษ A4 อักษร Angsana New หรือ Cordia New ขนาด 16 point ในรูปแบบไฟล์ PDF
  6. การประพันธ์ดนตรี ส่งผลงานในรูปแบบของ Score note ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 – 10 ชิ้น ความยาวของผลงานอยู่ระหว่าง 5 – 12 นาที

กำหนดระยะเวลา
  • เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 18 เมษายน 2565 – 31 กรกฎาคม 2565

คณะกรรมการตัดสิน
  • ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถเป็นที่ยอมรับ และมีความเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงนั้นๆ ทั้งอุทิศตนทำงานเพื่อวงการศิลปะอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ ศิลปินแห่งชาติ และสมาคมที่เกี่ยวข้อง

รางวัลการประกวด
  • รางวัลยอดเยี่ยม สาขาละ 1 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 300,000 บาท
  • รางวัลดีเด่น สาขาละไม่เกิน 5 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท

สมัครได้ที่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่