ช่างภาพหลายๆคนคงเบื่อการถ่ายภาพแบบ stop action ที่ถ่ายภาพยานพาหนะต่างๆ หยุดนิ่งอยู่กับที่ ลองใช้เทคนิคการแพนกล้องถ่ายภาพวัตถุหรือยานพาหนะขณะเคลื่อนที่เพื่อให้ได้ภาพที่ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ด้วยวิธีง่ายๆ 6 วิธีครับ
หลักสำคัญของการถ่ายภาพประเภทนี้คือการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ การเลือกใช้โหมดถ่ายภาพนี้จะช่วยให้ได้ภาพวัตถุที่มีความคมชัด ส่วนฉากหลังหรือฉากหน้าจะดูเบลอเหมือนมีการเคลื่อนไหวอยู่
เพื่อให้ได้ภาพการแพนที่สมบูรณ์ มีทั้งส่วนที่คมชัดและเบลออยู่ในภาพเดียวกัน แนะนำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ระหว่าง 1/30 – 1/125 วินาที โดยดูจากความเร็วของวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพเป็นหลัก หากวัตถุเคลื่อนที่เร็ว การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ก็จะต้องสูงขึ้นตามไปด้วย หรือหากวัตถุเคลื่อนที่ช้าก็สามารถลดความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำลงมาได้เช่นกัน เช่น แพนกล้องตามจักรยานอาจใช้ที่ 1/30 วินาที แต่ถ้าเป็นรถแข่งอาจต้องใช้ถึง 1/125 วินาที
ในการถ่ายภาพประเภทนี้ต้องมีการแพนกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ ทำให้ตัวช่างภาพเองต้องเคลื่อนไหวตามไปด้วย ซึ่งอาจทำให้กล้องสั่น บวกกับการเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ อาจจะทำให้ภาพถ่ายขาดความคมชัด การใช้ขาตั้งกล้องตั้งให้กล้องนิ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
เพราะวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา การล็อกโฟกัส หรือเลือกใช้งานระบบโฟกัสให้ถูกต้องจะช่วยให้ได้ภาพที่ดีวัตถุมีความคมชัดและฉากหลังเบลอ สามารถทำได้ 2 วิธี
การใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ให้เลือกใช้โหมดโฟกัสตามวัตถุ (continuous focus ) หรือ AF-C, AI Servo ซึ่งกล้องจะโฟกัสตามวัตถุตลอดเวลาที่กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งทาง เป็นระบบที่ไว้ใจได้ ให้ความผิดพลาดน้อย แนะนำสำหรับมือใหม่
การใช้แมนนวลโฟกัส สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ให้โฟกัสที่วัตถุอื่นก่อน(ตำแหน่งที่คาดว่าวัตถุจะเคลื่อนมา) แล้วจึงปรับสวิทช์ระบบโฟกัสไปที่แมนนวล MF / M (การถ่ายแพนนิ่งมักจะใช้รูรับแสงค่อนข้างแคบ ความชัดลึกจะครอบคลุมถึงแม้ตำแหน่งโฟกัสจะผิดจากตำแหน่งจริงไปเล็กน้อย) แนะนำให้ถ่ายภาพหลายๆ ภาพเพื่อคัดเลือกภาพที่ดีที่สุดครับ
อย่าลืมตั้งค่าระบบถ่ายภาพเป็นระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง (continuous หรือ burst mode) เพื่อให้การถ่ายภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีโอกาสเลือกภาพดีๆ ได้มากกว่าครับ
การตั้งกล้องในตำแหน่งที่ดีต้องมีระยะห่างจากวัตถุที่เหมาะสม ช่างภาพสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดเจน ง่ายต่อการโฟกัสภาพวัตถุและยังสามารถแพนกล้องตามวัตถุได้อย่างสะดวก อย่ายืนอยู่ใกล้วัตถุมากเกินไป หากวัตถุเคลื่อนที่เข้ามาใกล้เกินกว่าระยะโฟกัสของเลนส์จะพลาดโอกาสในการถ่ายภาพ และควรเลือกฉากหลังที่มีโทนสีที่แตกต่างหรือมี contrast กับวัตถุที่จะถ่ายภาพมากกว่า 1 สี จะช่วยให้วัตถุมีความโดดเด่นน่าสนใจมากขึ้นได้
ต้องมั่นใจว่าวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพไม่หลุดออกนอกเฟรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากวัตถุเคลื่อนที่เร็วกว่าการแพนกล้อง กรืออาจจะแพนกล้องเร็วเกินไป เคล็ดลับในการได้ภาพที่ดีคือแพนกล้องให้ทันให้วัตถุอยู่ในเฟรม รักษาตำแหน่งวัตถุในภาพให้อยู่ที่เดิมตลอด และกดชัตเตอร์เมื่อวัตถุกับกล้องอยู่ในระนาบเดียวกัน จะได้ภาพที่คมชัดมากที่สุด
ครบ 6 ข้อแล้วก็แพนกล้อง กดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพได้เลยครับ
อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^
หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์และแชร์ด้วยนะครับ
FOTOINFO มี LINE@ OFFICIAL แล้ว !!! อย่าลืมแอดไลน์ @FOTOINFO (หรือสแกน QR Code ในภาพนี้)
? ขอบคุณครับ
ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus
หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่