การดูแล และบํารุงรักษาเครื่องพิมพ์ อาจจะไม่ใช่งานที่เกี่ยวข้องกั บการถ่ายภาพโดยตรง อาจจะเป็นงานที่น่าเบื่อ แต่การทำความสะอาดเครื่องพิมพ์ เป็นขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อให้พรินเตอร์สามารถพิมพ์ ภาพที่มีคุณภาพสูงสุด
เคล็ดลับการบํารุงรักษาเครื่ องพิมพ์ที่อยู่ในบทความนี้ เป็นขั้นตอนที่ง่าย ปฏิบัติตามได้สะดวก และสามารถคงคุณภาพการพิมพ์และช่ วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องพิ มพ์ให้นานที่สุดได้อีกด้วย
พรินเตอร์ที่มีใช้งานในท้ องตลาดมีอยู่หลายชนิด หลายระดับราคา ตั้งแต่รองรับงานพิมพ์ธรรมดา ไปจนถึงการพิมพ์ภาพระดับอาชีพ และเครื่องพิมพ์หน้ากว้างสำหรั บงานอุตสาหกรรม แต่ไม่ว่าจะเป็นพรินเตอร์ในระดั บใดก็ตาม จะมีขั้นตอนการทำงาน และการบํารุงรักษาพื้นฐานที่คล้ ายกัน เมื่อใช้งานและดูแลรักษาถูกวิธี ก็ส่งผลให้เครื่องพิมพ์ภาพนั้ นคงคุณภาพการพิมพ์ได้สูงสุด
1. Printing frequency ความถี่ในการใช้งานหรือพิมพ์บ่ อยๆ
การใช้งานพิมพ์ต่อเนื่อง หรือมีความถี่ในการพิมพ์บ่อยๆ เป็นสิ่งสำคัญของเครื่องพิมพ์อิ งค์เจ็ท หัวพิมพ์มีการใช้งานสม่ำเสมอ ช่วยให้หัวพิมพ์ไม่ตัน แต่หากเครื่องพิมพ์ถูกทิ้งไว้ หรือไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ไม่มีหมึกวิ่งผ่านหัวพิมพ์ หมึกที่ตกค้างอยู่จะแห้ง แข็ง ติดอยู่ที่หัวพิมพ์ ทำให้เครื่องพิมพ์ไม่ สามารถทำงานได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากไม่มีงานพิมพ์ต่อเนื่อง หรือไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ อย่างน้อยควรเปิดเครื่องพิมพ์ และพิมพ์ภาพเดือนละครั้ง เพื่อให้เครื่องทำงานและหมึ กไหลเวียนในระบบ ป้องกันไม่ให้หัวพิมพ์ตัน
2. Head cleaning การล้างหัวพิมพ์
ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ทราบดีว่ าการล้างหัวพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งต้องทำตามขั้ นตอนและตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ แต่ผู้ใช้งานหลายคนก็ละเลยที่ จะปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ กับเครื่องพิมพ์ที่ถูกใช้งานบ่ อย อาจจะไม่ต้องล้างหัวพิมพ์บ่ อยตามระยะเวลาได้ แต่หากเครื่องพิมพ์ไม่ได้ใช้ งานเป็นประจำ หรือเมื่อไหร่ที่มองเห็นสี ของภาพเป็นเส้น นั่นหมายถึงว่าได้เวลาที่คุณต้ องทำการล้างหัวพิมพ์แล้ว
3. Clean the rollers ทำความสะอาดลูกกลิ้ง
ลูกกลิ้งฟีดกระดาษ ทำหน้าที่พากระดาษนอกตัวเครื่ องพิมพ์เข้าไปในตัวเครื่อง ไปยังหัวพิมพ์เพื่อพิมพ์ภาพ เป็นจุดที่มักถูกมองข้ามด้ านการทําความสะอาด ลูกกลิ้งนี้จะเป็นที่สะสมของฝุ่ นจำนวนมาก ซึ่งฝุ่นจะติดเข้าไปกั บกระดาษและเข้าไปสะสมอยู่ในตั วเครื่อง การทำความสะอาดสามารถใช้ผ้านุ่ มๆหรือจะใช้แอลกอฮอล์ร่วมด้วยก็ ได้ อาจจะเปิดเครื่องให้ลูกกลิ้งนี้ หมุนเพื่อให้สามารถเช็ดลูกกลิ้ งทั้งสองอันได้ทั่วถึงเพื่อให้ สะอาด ปราศจากฝุ่น
และไม่ควรเสียบหรือทิ้งกระดาษไว้ในถาดป้อนกระดาษ เพราะจะยิ่งเป็นการเพิ่มปริมาณฝุ่นให้เข้าไปในตัวเครื่องมากขึ้น
4. Internal roller cleaning ทำความสะอาดูกกลิ้งด้านในตั วเครื่อง
เครื่องพิมพ์ภาพหลายรุ่น อาจจะไม่มีฟังก์ชั่ นการทำความสะอาดลูกกลิ้ งภายในมาให้ด้วย แต่วิธีการที่แนะนำคือ ให้นำกระดาษเปล่าที่ หยดแอลกอฮอล์ไว้ นำมาผ่านการพิมพ์ตามปรกติ อาจจะทำโดยการสั่งพิมพ์ เอกสารเปล่าในโปรแกรม Photoshop ทำซ้ำๆสองสามครั้ง จะช่วยให้ลูกกลิ้งด้านในสะอาดขึ้ นได้ แต่มีข้อควรระวังคื อการหยดแอลกอฮอล์ลงบนกระดาษให้ ทำเฉพาะพื้นที่บริเวณกลางกระดาษเท่านั้ น ให้เว้นบริเวณขอบกระดาษไว้ไม่ หยดทั่วทั้งแผ่น
5. Cartridge installation การใส่ตลับหมึก
การใส่หรือเปลี่ยนตลับหมึก อาจจะดูเป็นเรื่องง่ายที่ อาจมองข้ามและละเลยจนอาจสร้ างความเสียหายให้พรินเตอร์ได้ ต้องมั่นใจว่าใส่ตลับหมึกถูกด้ าน สำหรับตลับหมึกแยกสีหลายสี ต้องมั่นใจว่าตลับที่ใส่หรื อเปลี่ยนนั้นเป็นรหัสสีที่ถูกต้ อง อย่าลืมดึงแถบกระดาษหรือริ บบอนก่อนใส่ตลับหมึกเสมอ เพราะอาจจะเข้าไปทำใสห้ตั วเครื่องเสียหาย หรือเกิดปัญหาในขั้นตอนการพิ มพ์ได้
6. Head alignment checks ตรวจสอบและจัดตำแหน่งหัวพิมพ์
ควรทดสอบการจัดตําแหน่งหัวพิ มพ์เป็นระยะ เนื่องจากอาจมีการเลื่อนตำแหน่ งของหัวพิมพ์เกิดขึ้นทีละน้ อยในการใช้งานแต่ละครั้ง ซึ่งอาจสังเกตุได้จากการเกิดเส้ นสีเข้ม แถบสีที่ไม่สม่ำเสมอบนงานพิมพ์ หรือความผิดปรกติอื่นๆ
การจัดตำแหน่งหัวพิมพ์นี้ สามารถทําได้ในเมนูการบํารุงรั กษาหรือเมนูการตั้งค่าของเครื่ องพิมพ์ ทำได้ทั้งการใช้เครื่องคอมพิ วเตอร์และไม่ใช้ การจัดตำแหน่งหัวพิมพ์นึ้จะช่ วยสร้างความมมั่นใจได้ว่าหัวฉี ดหมึกแต่ละหัวจะอยู่ในตําแหน่ งที่ถูกต้องเพื่อให้ได้คุ ณภาพการพิมพ์ที่ดีที่สุด
.
นอกจากเคล็ดลับที่กล่าวมาแล้วนั้น การใช้หมึกคุณภาพสูง, การอัพเดท driver, การปิดสวิทช์ที่ตัวเครื่องทุกครั้งหลังใช้งาน แทนการถอดปลั๊กเครื่องพิมพ์ ก็จะช่วยยืดอายุให้พรินเตอร์ และยังได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงสุดเสมอ
ต้นฉบับ : Printer maintenance explained: Get the most out of your photo printer
.
1 ตุลาคม 63