Knowledge

พลิกวิกฤติ!! 10 สิ่งที่ช่างภาพทำได้เมื่อหยุดอยู่บ้านนานๆ เพราะพิษ COVID-19

10 Things To Do When Stuck at Home as a Photographer
โดย : Albert Dros

ช่วงนี้เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องอยู่บ้าน ไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตภายนอกได้อิสระเหมือนที่ผ่านมา มีการสั่งห้ามผู้คนออกจากบ้าน หรือประกาศปิดประเทศ ปิดเมือง กระจายไปทั่วโลก สำหรับช่างภาพ ีช่วงเวลาที่ยาวนานและน่าเบื่อเช่นนี้ มากพอที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ชดเชยกับการมีเวลาไม่พอในช่วงที่ผ่านมาได้

1. Work on Your Website ทํางานบนเว็บไซต์ของคุณ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่างภาพส่วนใหญ่มักจะไม่มีเวลาที่จะปรับปรุงเว็บไซต์ ตอนนี้มีเวลาในการจัดการเว็บไซต์เหลือเฟือทั้งการกลับมาปรับปรุงดูแลเว็บไซต์อีกครั้ง หรืออาจจะเริ่มต้นที่ Blog ซึ่งเรามักจะได้ยินคำว่ากำลังวางแผนจะเริ่มทำ… แต่ก็ไม่ได้เริ่มซักที? อ้างว่าไม่มีเวลา หรืออาจจะจัดการภาพรวมของเว็บไซต์ ให้มีระเบียบ น่าเข้าชมสำหรับนำเสนอลูกค้าในอนาคต หรือหันกลับมาตรวจดูรายละเอียดการทำ SEO เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงได้มากขึ้นโดยเครื่องมือค้นหา

2. Work on Your Social Media ทำงานบนโซเชียลมีเดีย
ปัจจุบัน โลกของโซเชียลมีเดีย กลายเป็นสิ่งสําคัญในชีวิตประจำวัน ด้วยความที่เข้าถึงง​่ายและทั่วถึงทุกพื้นที่ แม้จะไม่มีความจําเป็นต้องให้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่ทุกความเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอมีความสําคัญต่อการมองเห็นและเข้าถึงได้ง่าย
ตัวอย่างของช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ : Instagram, Facebook , ทวิตเตอร์, Flickr, 500px, แอปพลิเคชั่น VERO และอื่นๆ การเคลื่อนไหวหรือเพิ่มคอนเท้นท์ใหม่ๆบนสื่อต่างๆเหล่านี้ทำให้การเข้าถึงสื่อของคุณเป็นไปได้ง่ายและมีโอกาสมากขึ้น

3. Spend Some Time Checking Others’ Work มีเวลาในการดูผลงานของคนอื่นๆมากขึ้น
การเข้าชมผลงานของช่างภาพคนอื่นๆหรือจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสูงทั้งในด้านการถ่ายภาพ ด้านศิลปะดิจิตอล(digital arts)​ เช่น Behance เพื่ออัพเดทไอเดียและสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆในการทำงาน

4. Process Unprocessed or (Reprocess) Old Images ตกแต่งภาพที่ยังไม่ได้ทำ หรือ นำมามาตกแต่งเพิ่มเติมใหม่
สำหรับช่างภาพทุกสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างภาพสาย landscape (ผู้เขียน) ที่ต้องเดินทางตลอดเวลา และมีภาพค้างในสต็อครอการ process เป็นจำนวนมาก ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรื้อสต็อคภาพเหล่านั้นขึ้นมาดูและทำการ process แล้วครับ

5. Clean Up and Structure Your Hard Drive ได้เวลาเคลียร์และจัดระเบียบฮาร์ดไดร์ฟแล้ว
ช่างภาพจำนวนมากนิยมเก็บไฟล์ภาพหลายพันหลายหมื่นภาพไว้ในฮาร์ดไดร์ฟ และมากกว่า 80% ของไฟล์เหล่านี้ไม่เคยถูกจัดระเบียบเลย ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีที่จะหันกลับมาเลือกไฟล์ภาพ เริ่มจัดวางโครงสร้าง แบ่งแยกหมวดหมู่, จัดทำ directory, จัดเรียงตาม timeline, ทำความสะอาดไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือใช้ซอฟต์แวร์ช่วยจัดระบบระเบียบของฮาร์ดไดร์ฟ

6. Increase Your Skills เพิ่มพูนทักษะการทำงาน
ช่วงนี้เวลาว่างมีมากพอที่จะท่องโลกอินเทอร์เน็ต แหล่งข้อมูลใหญ่มาก ที่คุณนำมาใช้พัฒนาทักษะการถ่ายภาพได้ โดยเฉพาะ YouTube คือแหล่งข้อมูลฟรีที่ใหญ่ที่สุดชนิดที่เรียกได้ว่าไม่มีที่สิ้นสุด หรืออาจจะลองเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยการซื้อคอร์สเรียนการถ่ายภาพต่างๆทางออนไลน์ดูบ้างก็ได้

7. Prepare (Photography) Projects From Home วางแผนโปรเจ็คถ่ายภาพใหม่ๆเก็บไว้ ในมุมมองของผู้เขียนซึ่งเป็นช่างภาพสาย landscape ซึ่งต้องออกเดินทางถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ ในช่วงสถานการณ์แบบนี้ จะวางแผนล่วงหน้าถึงสถานที่ใหม่ๆที่อยากไป หรือคิดโปรเจ็คใหม่เพื่อเตรียมไว้นำเสนอผู้สนับสนุนต่างๆ นอกจากจะมีเวลาเลือกสถานที่ วางแผนการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเวลาคิดคำนวนค่าใช้จ่ายต่างๆเอาไว้ได้อีกด้วย
เมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไป และทุกอย่างพร้อมก็เป็นโอกาสที่จะเริ่มต้นออกไปถ่ายภาพตามแผนที่วางไว้ได้โดยไม่เสียเวลา

 

8. Sort Out Your Gear and See What You Can Get Rid Of

ช่างภาพส่วนใหญ่มักจะมีกล้อง เลนส์ และอุปกรณ์การถ่ายภาพอื่นๆคนละหลายๆอย่าง บางคนมีบอดี้มากกว่าหนึ่งตัว มีเลนส์มากมายหลายระยะ ขาตั้งกล้อง และ ฯลฯ ได้เวลามาจัดการอุปกรณ์ต่างๆพวกนี้ ชิ้นไหนใช้ ชิ้นไหน​ไม่เคยใช้ ไม่ค่อยได้ใช้ หรือชิ้นไหน​เสีย ก็จัดการขายหรือทิ้งให้เรียบร้อย

9. Work on (Properly) Printing Your Work ลองพิมพ์ภาพถ่าย การพิมพ์ภาพถ่ายและมองภาพขนาดใหญ่ขึ้นแขวนที่ผนังในระยะห่าง1-2 เมตร คุณจะพบความแตกต่างจากการดูภาพถ่ายจากหน้าจอมือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์เล็กๆที่ใช้อยู่ การพิมพ์ภาพจะทำให้คุณมองภาพถ่ายในอีกมุมมองหนึ่งและเห็นคุณค่าของภาพถ่ายมากกว่าไฟล์หนึ่งไฟล์ที่อยู่บนหน้าจอ คุณสามารถเรียนรู้การพิมพ์ การเลือกกระดาษ, การเลือกโปรไฟล์, การปรับสีภาพจากหน้าจอคอมพ์ให้สีตรงจริง หรือปรับตามใจชอบ สิ่งต่างๆเหล่านี้หาได้ง่ายๆใน YouTube

10. Write Something Yourself ลองเป็นนักเขียน การลองเขียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพ หรือนำเสนอความคิด เทคนิคต่างๆในรูปแบบ​ตัวหนังสือเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายไม่แพ้การถ่ายภาพ อย่าลังเล มีผู้อ่านที่สนใจรออ่านบทความของคุณอยู่เสมอ

ที่มา  : petapixel.com