ฉากหน้า และ ฉากหลัง และรายละเอียดอื่นๆในภาพ นอกจากจะช่วยเพิ่มมิติของภาพถ่ายแล้ว ยังสามารถบอกเล่าเรื่องให้ภาพถ่ายได้ เพียงแค่เปลี่ยนมุม ขยับกล้องเพื่อใส่องค์ประกอบอื่นๆเข้าไปด้วย การถ่ายภาพพลุก็เช่นกั
.
หลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับภาพพลุเขาวัง เพราะมีการจุดกันมาต่อเนื่องหลายปี องค์ประกอบภาพส่วนมากของภาพถ่ายพลุเขาวัง มักจะมีภาพตึกและอาคารต่างๆ บนเขาวังครบถ้วน รวมทั้งเส้นสายของไฟประดับตามทางเดินตั้งแต่พื้นล่างไปจนถึงยอดเขา ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ที่ช่างภาพถ่ายทอดกันออกมา แต่ถ้าหากพิจารณากันดีๆ ช่างภาพส่วนใหญ่จะเน้นให้ความสำคัญกับพลุมากกว่าตึกอาคารด้านล่าง โดยหลายๆ ภาพ ตัวอาคาร หรือเจดีย์จะสว่างจนขาดรายละเอียด ซึ่งจะว่ากันตามจริง สองสิ่งนั้นจะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
.
ในการตั้งค่าถ่ายภาพพลุเขาวัง ที่มีไฟประดับประดาตามอาคารต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับความสว่างของอาคารด้วย โดยจะต้องวัดแสงให้อาคารทั้งหมดสว่างพอดีๆ หรืออันเดอร์เล็กน้อยไว้ก่อนครับ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ต้องคำนึงระยะเวลาในการบันทึกภาพตั้งแต่พลุเริ่มพุ่งขึ้นมา จนกระทั่งแตกตัวจนหมด โดยปกติก็จะประมาณ 8 วินาที
.
ดังนั้นการตั้งค่า จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 8 วินาที เป็นหลัก จากนั้นก็ปรับรูรับแสงจนได้ภาพไฟประดับตัวอาคารสว่างพอดี และรอเวลาที่พลุจะถูกจุดขึ้นมา เท่านี้ก็จะได้รายละเอียดของภาพครบถ้วนทั้งรายละเอียดที่ตัวอาคาร เจดีย์ และพลุด้วยครับ แต่อย่าลืมว่าต้องใช้ชัตเตอร์ B ใช้รีโมทหรือสายลั่น กดค้างไว้ 8 วินาทีครับ
.
ใครจะไปถ่ายพลุ ลองขยับออกห่างจากพลุมากขึ้น หรือเปลี่ยนมาใช้เลนส์มุมกว้าง เก็บภาพบรรยากาศของสถานที่จุดพลุลงไปในเฟรมด้วย แค่มองก็รู้ว่าจุดพลุที่ไหน น่าสนใจกว่าถ่ายภาพพลุโดดๆครับ