Basic Knowledge Photo Techniques Photography

แสง เวลา และจังหวะ

แสง เวลา และจังหวะ แสง คือสิ่งที่เราใช้ระบายแต้มไปในเซ็นเซอร์ภาพ ให้เกิดเป็นภาพที่เราต้องการ ซึ่งแน่นอนว่า ภาพที่ดี ก็ย่อมต้องมาจากแสงที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ถ่ายทอดสีสัน เก็บรายละเอียด และความคมชัดของภาพได้ดีขึ้น และเมื่อแสงดีแล้ว ที่เหลือก็คือจังหวะลั่นชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่เราต้องการนั่นเอง แสงที่ดี มักจะมาจากช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วงเวลาที่แสงดีๆ ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย ซึ่งถ้าหากว่าเป็นช่างภาพแนว Landscape ก็น่าจะเข้าใจได้ดีว่า การถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติ

Read More
Basic Knowledge Photography

Basic Tips สำหรับถ่ายมาโคร

Basic Tips สำหรับถ่ายมาโคร Basic หรือเรื่องพื้นฐาน กิจกรรมหลายๆ อย่าง ก็ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานให้ดีก่อน อย่างการเล่นกีฬา ถ้าจะให้เก่งเร็วๆ หรือมีความชำนาญ ก็ต้องฝึกพื้นฐานให้แน่นซะก่อน การถ่ายภาพก็เช่นกัน จะให้เก่งๆ ก็ต้องเข้าใจพื้นฐานการปรับตั้งกล้อง เข้าใจพื้นฐานเรื่องแสง เพื่อที่จะถ่ายรูปออกมาให้ได้ตามที่ต้องการ Basic สำหรับถ่ายมาโคร ก็จะอาศัยความเข้าใจพื้นฐานการถ่ายภาพมาโครเรื่องการปรับรูรับแสง และเทคนิคการโฟกัสในการถ่ายภาพมาโคร รวมทั้งการเลือกเลนส์มาโครที่เหมาะสม เพราะภาพมาโคร เป็นภาพที่ต้องเข้าไปถ่ายใกล้ๆ มากๆ

Read More
Basic Knowledge Photo Techniques Photography

ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ

ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลุดกันง่ายๆ เพราะไม่ได้สังเกตุก่อนถ่ายภาพ หรือมองข้ามไปเลยก็มี โดยเฉพาะกับมือใหม่ที่ยังไม่มีความชำนาญในการถ่ายภาพมากพอ หรือแม้แต่มืออาชีพที่อาจจะหลุดได้เช่นกัน ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ อย่างเช่น ถังขยะ ถุงพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม เสาไฟฟ้า ขาตั้งไฟ หรืออะไรก็ตามที่ไม่ได้ส่งเสริมให้ภาพดูดีขึ้น หรือมาแย่งความสนใจไปจากบรรยากาศหลักที่เราต้องการสื่อ อย่างภาพตัวอย่างนี้ สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ได้ต้องการเลยคือ คนเสื้อขาว ที่ถ่ายภาพอยู่ข้างล่างเนินลงไป เสื้อขาวจะดูเด่นขึ้นมาท่ามกลางโทนมืดๆ ต่างจากสองคนในชุดเข้มๆ ที่ยืนถ่ายภาพอยู่ข้างบนเนิน ซึ่งใช้เป็นส่วนเสริมของภาาพ

Read More
Basic Knowledge Photo Techniques Photography

ถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่น

ถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่น ถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่น เป็นคำถามที่เคยตอบอยู่บ่อยๆ วันนี้เลยเอามาเขียนไว้เป็นแบบ Tips ง่ายๆ ที่หลายๆ คนอาจจะมองข้ามไป การถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่นจะมีทั้งการปรับมุมมอง และการตั้งค่ากล้อง ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง โดยจะอ้างอิงกับการถ่ายภาพธรรมชาติ ถ่ายใกล้ๆ แบบมาโคร ถ่ายนก ถ่ายแมลงเป็นหลักครับ ตั้งกล้องในมุมระนาบ อย่างภาพตัวอย่าง เป็นผีเสื้อที่เกาะหากินอยู่บนพื้น ถ้าถ่ายมุมมองแบบก้มกล้องลงไป ตัวผีเสื้อแทบจะกลืนไปกับพื้น ก้อนหิน ก้อนกรวดก็จะชัดไปด้วยทั้งหมด

Read More
Back to Basic Basic Knowledge Photography

ระบบวัดแสงแบบ F-stop กับแบบ EV-step ต่างกันยังไง

ระบบวัดแสงแบบ F-stop กับแบบ EV-step ต่างกันยังไง ระบบวัดแสงแบบ F-stop จะเป็นระบบวัดแสงที่เราคุ้นเคยกันดี  และใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็มีระบบวัดแสงอีกแบบที่อาจจะไม่คุ้นหูกันมากนัก บางคนอาจจะงงๆว่าเอาไปใช้งานอะไร แบบไหน สำหรับการถ่ายภาพที่ซีเรียสเรื่องของรูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ อาจจะเลือกใช้งานแบบ F-stop ซึ่งสามารถเลือกตั้งค่า รูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการไว้ก่อน และตั้งอีกค่าตาม หรือถ้าหากว่าวัดค่าแสงจากเครื่องวัดแสง การหาค่ารูรับแสง เราจะต้องตั้งความไวแสงและความเร็วชัตเตอร์ไว้ก่อน ตัวเลขค่า EV ของกล้อง Konica III ซึ่งจะล็อควงแหวนรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ไว้ด้วยกัน เวลาปรับก็แค่หมุนวงแหวนเดียว ทั้งความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง จะถูกปรับให้สัมพันธ์กัน

Read More
Basic Knowledge Photo Techniques Photography

การใช้งานฟิลเตอร์ C-PL

การใช้งานฟิลเตอร์ C-PL  ฟิลเตอร์ C-PL ถือเป็นฟิลเตอร์เอนกประสงค์ ที่ใช้งานได้หลากหลาย โดยคุณสมบัติหลักๆ คือ ใช้สำหรับตัดแสงสะท้อนในบรรยากาศ และพื้นผิวที่มีความมันวาวแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่แวววาวแบบกระจกเงา ซึ่งประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน และใช้งานกันบ่อยที่สุดคือ ช่วยให้ท้องฟ้าสีฟ้าเข้มขึ้น เวลาที่ถ่ายวิวทิวทัศน์ การใช้ฟิลเตอร์ C-PL ปรับสีสันของท้องฟ้าให้เข้มขึ้น ท้องฟ้านั้นๆ จะต้องมีโทนสีฟ้าอยู่ด้วย ไม่ใช่ฟ้าแบบขาวโพลน หรือฟ้าที่มีเมฆคลุมเต็มไปหมด แบบนั้นไม่สามารถปรับให้เป็นสีฟ้าได้แน่ๆ หรือถ่ายภาพน้ำตกให้ได้สายน้ำพลิ้วๆ พร้อมทั้งตัดแสงสะท้อนที่อยู่ตามใบไม้ใบหญ้า โขดหิน

Read More
News Pr news Product news

Digital STM เปิดตัว Hollyland อุปกรณ์ส่งสัญญาณไร้สายใหม่

Digital STM เปิดตัว Hollyland อุปกรณ์ส่งสัญญาณไร้สายใหม่ Digital STM ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมสำหรับช่างภาพนิ่งและวิดีโอ รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับเหล่า Creatos ทั้งหลาย เปิดตัวอุปกรณ์เสริมสำหรับส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบไร้สายสองรุ่นใหม่ ตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น นั่นคือ Hollyland Pyro Series ที่มีขนาดเล็ก กะทัดรัด และน้ำหนักเบามากขึ้น มีโครงสร้างที่แข็งแรง และมาพร้อมประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อได้ถึง 4 อุปกรณ์ด้วยกัน Hollyland Pyro Series เปิดตัวมาด้วยกันสองรุ่น นั่นคือ Pyro H และ Pyro S โดยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้ Hollyland Pyro S หน้าจอ LCD สี

Read More
Basic Knowledge Photography

การสร้างจุดสนใจ เมื่อใช้เลนส์ Ultra Wide ถ่ายภาพ

การสร้างจุดสนใจ เมื่อใช้เลนส์ Ultra Wide ถ่ายภาพ การสร้างจุดสนใจ เป็นสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงในการถ่ายภาพอะไรก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้เลนส์ Ultra Wide หรือเลนส์ที่มีมุมรับภาพกว้างมากๆ เพราะถ้าหากว่าเราไม่มีจุดเด่น หรือสร้างจุดสนใจในภาพเลย จะทำให้ภาพนั้นดูธรรมดา ไม่ดึงดูดสายตาให้ผู้คนเข้ามาดู เป็นภาพที่ดูเวิ้งว้าง ไม่มีเรื่องราว ไม่น่าสนใจเอาเสียเลย ถ่ายภาพในมุมที่ต่ำกว่ามุมมองปกติ แต่ถ้าหากว่า เราดึงจุดเด่นอะไรซักอย่างในภาพให้โดดเด่นขึ้นมา ภาพนั้นก็จะดูน่าสนใจขึ้น ซึ่งการดึงเอาจุดเด่นขึ้นมานั้น ทำได้โดยการขยับเข้าไปให้ใกล้ๆ จุดที่จะดึงเอามาเป็นจุดเด่นให้มากขึ้น หรือการเปลี่ยนมุมมอง ให้เป็นมุมต่ำลง

Read More
Basic Knowledge Photo Techniques Photography

โฟกัสแบบโซนและกะระยะ ใช้งานยังไง

โฟกัสแบบโซนและกะระยะ ใช้งานยังไง โฟกัสแบบโซนและกะระยะ มักจะอยู่ในกล้องฟิล์มคอมแพค ที่ใช้โหมดออโต้ หรือกล้องฟิล์มประเภทเรนจ์ไฟน์เดอร์ ที่ปรับค่าแสงแบบออโต้ ซึ่งเป็นกล้องที่ออกแบบให้ใช้งานง่ายๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องปรับโฟกัส แค่หมุนวงแหวนโฟกัสไปตามสัญลักษณ์ที่อยู่บนตัวเลนส์ ซึ่งจะเป็น ภาพวิว ภาพบุคคลหมู่ หรือภาพบุคคลครึ่งตัว  หรือจะใช้แบบหมุนวงแหวนโฟกัสไปตามระยะทางบนตัวเลนส์ได้เลย ส่วนใหญ่กล้อง จะคุมเอฟให้ครอบคลุมความชัดตามระยะทางที่ปรับไว้ให้อัตโนมัติ หรือถ้าเป็นกล้องที่ปรับค่าวัดแสงได้เอง ช่างภาพก็มักจะหรี่รูรับแสงให้ครอบคุมระยะชัดตามที่ต้องการไว้ก่อนแล้ว โดยปกติแล้ว การโฟกัสแบบโซนและกะระยะนี้ จะทำให้การถ่ายภาพรวดเร็ว และจับจังหวะภาพได้ตามที่ต้องการ ช่างภาพแนว Street

Read More
Basic Knowledge Photo Techniques Photography

ถ่ายภาพคร่อม ฟังก์ชั่นที่ถูกลืม

ถ่ายภาพคร่อม ฟังก์ชั่นที่ถูกลืม ถ่ายภาพคร่อม หรือ Bracketing หรือตัวย่อ BKT เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นในกล้องถ่ายรูปที่หลายๆ คนอาจจะไม่เคยใช้ หรือไม่รู้เลยว่ากล้องตัวเองก็มีฟังก์ชั่นนี้ให้ใช้ ยิ่งเมื่อใช้กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ แบบ Mirrorless ที่ปรับแล้วเห็นภาพจริงก่อนที่จะกดชัตเตอร์ได้เลย ทำให้ความจำเป็นในการใช้งานลดลงไปด้วย ค่าที่ตั้งกล้องปกติ ค่าที่กล้องปรับให้ส่วน Shadow มืดลงกว่าปกติ ค่าที่กล้องปรับให้ส่วน Shadow สว่างกว่าปกติ สำหรับกล้องถ่ายรูปยุคก่อน หรือในยุคกล้องฟิล์ม การถ่ายภาพคร่อม

Read More
Basic Knowledge Photo Techniques Photography

ชดเชยแสงกล้องฟิล์มออโต้ทำยังไง?

ชดเชยแสงกล้องฟิล์มออโต้ทำยังไง? ชดเชยแสง เป็นการปรับตั้งค่ากล้องให้เปิดรับแสงได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วทำไมต้องชดเชยแสง ก็ต้องทำความเข้าใจว่า จากพื้นฐานการวัดแสงของกล้องถ่ายรูป จะอิงการวัดแสงจากค่าเทากลาง 18% โดยวัดค่าแสงที่สะท้อนจากซับเจคต์ เข้ามายังกล้อง  ถ้าหากว่าซับเจคต์มีค่าการสะท้องเท่ากับ หรือใกล้เคียงกับค่าเทากลาง 18% กล้องจะวัดแสงได้ตรง และภาพนั้นก็จะออกมาพอดี แต่ถ้าค่าการสะท้อนมากกว่า หรือน้อยกว่าค่าเทากลาง18% การวัดแสงก็จะเกิดการผิดพลาด รูปที่ออกมาก็จะมืด หรือสว่างเกินไป ตามโทนสีของซับเจคต์ สำหรับกล้องฟิล์มออโต้ จะเป็นกล้องที่ออกแบบให้ใช้งานง่ายๆ โดยกล้องจะปรับทั้งความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงให้ทั้งหมดหรือปรับความเร็วชัตเตอร์ให้อย่างเดียว เราปรับรูรับแสง ซึ่งกล้องไม่รู้หรอกว่าเราต้องการถ่ายอะไร กล้องรู้แค่เพียง

Read More
Back to Basic Basic Knowledge Photo Techniques Photography

ฟิลเตอร์ ND กับ C-PL จะเลือกใช้แบบไหนดี

ฟิลเตอร์ ND กับ C-PL จะเลือกใช้แบบไหนดี ฟิลเตอร์ ND และ C-PL เป็นฟิลเตอร์ที่มีคุณสมบัติในการลดแสงได้ทั้งคู่ แต่ก็มีความแตกต่างในการใช้งาน ที่ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยฟิลเตอร์ C-PL จะลดแสงได้ประมาณ 1.5-2 สตอป ขึ้นอยู่กับคุณภาพและแบรนด์ของ C-PL นั้นๆ นอกจากนี้ คุณสมบัติพิเศษของ C-PL คือ สามารถตัดแสงสะท้อนได้ ซึ่งประโยชน์ใช้งานที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การตัดแสงสะท้อนในท้องฟ้า ทำให้ได้ท้องฟ้ามีสีฟ้าเข้มขึ้น, การตัดแสงสะท้อนผิวน้ำ ช่วยให้น้ำทะเลสีสันเข้มขึ้น หรือช่วยลดแสงและตัดแสงสะท้อนตามโขดหิน ทำให้สปีดชัตเตอร์ต่ำลง ช่วยให้ได้น้ำตกที่พลิ้วไหว และสีสันของมอสหรือเฟิร์นตามโขดหินอิ่มตัว เป็นต้น ฟิลเตอร์ ND และ

Read More