Basic

Tips for Photographer About Video

เมื่อถ่ายวิดีโอแม้กับนักถ่ายภาพที่มีประสบการณ์ก็ยังอาจเกิดความสับสนได้ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่สำคัญเพื่อที่จะเริ่มต้นการสร้างสรรค์วิดีโอที่ดีขึ้นไม่ว่าด้วยกล้อง DSLR หรือ Mirrorless เพื่อให้ได้รับสิ่งที่ต้องการ และการพัฒนาสู่การถ่ายวิดีโอระดับมืออาชีพ

วางแผนการถ่ายทำ

ในการถ่ายวิดีโอที่ดีควรมีการเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนที่จพยกกล้องขึ้นมาถ่าย ดังนั้นนักถ่ายภาพจึงควรมี Storyboard, รายการสิ่งที่ต้องการถ่าย และแนวคิดในการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายวิดีโอ ถึงแม้ว่านักถ่ายภาพจะไม่ต้องมี Storyboard เหมือนกับที่กองถ่ายทำภาพยนตร์ใช้เพื่อถ่ายงานปาร์ตี้วันเกิด หรือการแข่งขันกีฬาของเด็ก แต่การวางแผนไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับภาพที่จะต้องถ่ายจะทำให้ตัดต่อได้ง่ายขึ้นภายหลัง

ถ่ายวิดีโอเหมือนถ่ายภาพนิ่ง

เมื่อจัดองค์ประกอบในวิดีโอ หลายกฏที่ใช้ทั่วไปในการถ่ายภาพสามารถนำมาใช้ด้วยได้ เช่นเส้นขอบฟ้าต้องตรงหรือฉากหลังไม่ควรรก รวมทั้งนักถ่ายภาพควรทำให้ถูกต้องตั้งแต่ในกล้องเพราะจะไม่มีพิกเซลให้ครอปออก นอกจากนี้เนื่องจากไม่สามารถถ่ายวิดีโอในแบบไฟล์ RAW ได้ จึงทำให้นักถ่ายภาพมีพื้นที่เล็กน้อยให้ผิดพลาดในเรื่องค่าแสงและไวต์บาลานช์ รวมทั้งอย่าลืม B-roll เช่นเดียวกับเมื่อถ่ายภาพงานอีเว้นต์นักถ่ายภาพมักจะถ่ายรายละเอียดต่างๆ ในงานนั้นด้วย ในวิดีโอสิ่งนี้เรียกว่า B-roll ซึ่งจะทำให้มีทางเลือกมากขึ้นตอนตัดต่อ Vu Bui จากทีมถ่ายภาพยนตร์ Bui Brothers แนะนำว่า “ถ้าเป็นไปได้ควรถ่ายวิดีโอสิ่งหลักนิ่งๆ อย่างน้อยหนึ่งสิ่ง และถ่ายรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งนั้นให้มาก เช่นเมื่อถ่ายการแสดงดนตรี จะสามารถให้กล้องหนึ่งหันไปถ่ายแค่เฉพาะเท้านักดนตรีได้ เพราะสามารถตัดภาพนี้ตอนช่วงใดของเพลงก็ได้”

หากมีกล้อง DSLR หรือ Mirrorless เพียงตัวเดียว Lan Bui แนะนำให้ใช้เพื่อถ่ายสิ่งต่างๆ เพื่อใช้สร้างสรรค์วิดีโอ และถ่ายวิดีโอวัตถุหลักนิ่งๆ ด้วยกล้องคอมแพกต์หรือแม้แต่สมาร์ทโฟน โดย Lan Bui บอกว่ามีคนจำนวนมากใช้วิธีนี้ในการ
สร้างสรรค์วิดีโอ

คิดถึงขนาดจอที่จะนำไปใช้ดูวิดีโอ

ในอดีตรูปทรงเกือบเป็นจตุรัสของอัตราส่วน 4:3 เป็นมาตรฐานของกล้องวิดีโอ แต่จอไวด์สกรีนและ HDTV ของทุกวันนี้ต้องการภาพที่มีอัตราส่วน 16:9 ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงแถบดำด้านบนและล่างเมื่อดูวิดีโอหรือภาพบางส่วนหายไปเมื่อดู ดังนั้นจึงควรถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด 1920 x 1080 หรือ 1280 x 72 เพื่อให้ภาพมีอัตราส่วนนี้ แต่หากต้องการถ่ายภาพที่มีอัตราส่วน 4:3 ก็มีกล้องบางรุ่นรวมทั้ง Action Camera บางรุ่นที่มีความละเอียดของวิดีโอ 1440 x 1080 ให้เลือกถ่ายซึ่งจะเพิ่มความละเอียดในด้านสูงของภาพมากขึ้นเพื่อให้วิดีโอที่มีอัตราส่วน 4:3

คิดถึงการเคลื่อนกล้อง

การแพนและการทิลต์กล้องเป็นลักษณะที่มักใช้กันในขณะที่กล้องอยู่บนขาตั้งกล้อง โดยการแพนเป็นการเคลื่อนกล้องจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ส่วนการทิลต์เป็นการเคลื่อนกล้องขึ้นลง ซึ่งความเร็วในการทำสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการแพนที่ช้าสามารถสร้างความรู้สึกสงสัยให้แก่ผู้ดูภาพในขณะที่การแพนกล้องอย่างรวดเร็วจะสามารถสร้างความรู้สึกประหลาดใจให้แก่ผู้ดูภาพได้ นอกจากนี้ยังมีการติดตามวัตถุหรือภาพนั้นด้วยการเคลื่อนกล้องไปด้านหน้าหรือด้านหลัง ซึ่งเพื่อทำให้การเคลื่อนที่มีความราบลื่นนุ่มนวลควรมีอุปกรณ์เสริมอย่างสไลเดอร์ซึ่งเป็นชุดรางที่สามารถเลื่อนกล้องได้

Todd Reichman นักถ่ายวิดีโองานแต่งใน Atlanta บอกว่า “การเคลื่อนกล้องสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ภาพได้ โดยเฉพาะหากทุกสิ่งในเฟรมอยู่นิ่ง และเมื่อเคลื่อนกล้องก็ควรที่จะแสดงให้เห็นสิ่งที่น่าสนใจในภาพนั้นไม่ใช่ปล่อยให้ถูกบัง”

ทำงานกับเลนส์ซูม

แม้ว่านักถ่ายวิดีโอส่วนใหญ่จะชอบทำงานกับเลนส์ทางยาวโฟกัสเดี่ยว แต่เลนส์ซูมจะมีความอเนกประสงค์กว่า เพราะช่วยให้นักถ่ายภาพสามารถขยับจากภาพที่แน่นเป็นมุมกว้างได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังสามารถใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจในภาพได้ เช่น การเดินเข้าหาวัตถุในภาพพร้อมกับปรับซูมให้มีมุมรับภาพกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในขณะที่ปรับทางยาวโฟกัสของเลนส์สั้นลงเรื่อนๆ ฉากหลังจะดูเหมือนถอยห่างออกไปในขณะที่วัตถุดูเหมือนอยู่นิ่งกับที่

เข้าใจ Codec

การใช้คำว่า Codec จะรวมกันทั้งการบีบอัดไฟล์และไม่บีบอัดไฟล์เพื่ออ้างอิงถึงวิธีที่กล้องเซฟวิดีโอฟุตเทจ กล้อง DSLR จำนวนมากจะใช้ H.264/MPEG-4 AVC Codec ร่วม MOV ซึ่งด้วยสองสิ่งนี้ทำให้นักถ่ายภาพสามารถใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโอได้โดยไม่ต้องแปลงฟอร์แมตของไฟล์ Sony และ Panasonic ใช้ฟอร์แมต AVCHD ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าทั้งในด้านพื้นที่เก็บไฟล์และคุณภาพของภาพ แต่มีโครงสร้างทั่วไปน้อยกว่าทำให้เล่นและตัดต่อยากกว่า

หลีกเลี่ยงความร้อน

อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกรวมถึงกล้องถ่ายภาพด้วยที่อาจทำงานได้ไม่ดีนักเมื่อร้อน โดยไม่เพียงแค่ความร้อนที่มีสาเหตุจากภายนอกอย่างแสงแดดหรืออุณหภูมิเท่านั้นที่ต้องระวัง แต่การถ่ายวิดีโอเป็นเวลานานจะทำให้เซ็นเซอร์ภาพร้อนขึ้นด้วย วิธีที่ดีคือการรู้ข้อจำกัดของกล้องที่ใช้และวางแผนที่จะถ่ายคลิปที่มีความยาวตามนั้น นอกจากนี้การปิดการทำงานของกล้องระหว่างถ่ายแต่ละช่วงจะช่วยให้กล้องเย็นลง นอกจากนี้หากเป็นไปได้การมีกล้องสำรองสำหรับถ่ายในตำแหน่งเดียวกับกล้องหลักก็เป็นทางเลือกที่ดีหากจำเป็น

วิธีอื่นในการป้องกันความร้อนกับกล้องคือใช้สิ่งที่ช่วยบังกล้องในขณะถ่ายวิดีโออย่างร่ม หรือแม้แต่ถือ Reflector ไว้เหนือกล้องหากเป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับใช้เมื่อออกไปถ่ายวิดีโออยู่แล้ว

เลี่ยงความผิดพลาดของมือใหม่

แม้การซูมและเคลื่อนกล้องจะช่วยในการสร้างสรรค์ภาพได้ แต่ความผิดพลาดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับมือใหม่ที่เริ่มถ่ายวิดีโอคือซูมและแพนกล้องตลอดเวลาทุกภาพ โดยนักถ่ายภาพควรคิดก่อนที่จะควบคุมการซูมว่าทำไมจึงซูม ต้องการเข้าใกล้วัตถุให้มากขึ้นจริงๆ หรือเพียงแค่ต้องการเล่นกับการซูม หากไม่สามารถหาเหตุผลในการซูมเลนส์หรือแพนกล้องจริงๆ ได้ ห็ไม่ควรทำ สิ่งหนึ่งที่ควรรู้ไว้คือผู้กำกับชื่อดังบางคนถ่ายภาพยนตร์บางเรื่องโดยไม่มีการซูมแม้เพียงครั้งเดียว แทนการซูมลองคิดถึงการหยุดถ่ายแล้วเคลื่อนเข้าไปใกล้วัตถุมากขึ้นแล้วตัดต่อได้ หากต้องแพนหรือทิลต์ควรเคลื่อนกล้องให้ช้าที่สัญชาตญาณบอกให้ทำ ส่วนใหญ่ของผู้เริ่มถ่ายวิดีโอมักจะแพนเร็วเกินไป

ถ่ายเพื่อตัดต่อ

นักถ่ายวิดีโอที่ดีมักจะคิดว่าสิ่งที่ถ่ายไปจะถูกใช้ตอนตัดต่ออย่างไร เช่นหากคนที่ถ่ายภาพกำลังพูดถึงการว่ายนํ้า ควรมีการถ่ายภาพ B-roll คนที่กำลังว่ายนํ้าหรือบุคคลที่พูดกำลังว่ายน้ำ ปัญหาหนึ่งในการตัดต่อเมื่อต้องใช้ B-roll คือการมีไม่พอ

ดังนั้นเมื่อถ่ายดอกไม้ควรถ่ายให้นานขึ้นกว่าที่คิดว่าต้องการ 5 วินาที ซึ่งด้วยวิธีนี้จะทำให้มีฟุตเทจสำหรับตัดต่อมากขึ้น กุญแจสำคัญของการถ่ายเพื่อตัดต่อคือพยายามทำให้มีทางเลือกมากเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อมีเวลาที่จะถ่ายได้

เรียนรู้ที่จะตัดต่อ

“แต่ละภาพต้องเสริมเรื่องราวและสร้างความน่าสนใจในการดู และถ้าไม่สร้างความน่าสนใจในการดูก็ต้องมีเพียงแต่ช่วงสั้นๆ แต่ไม่ควรสั้นเกินไป อย่าใช้การตัดต่อที่น่ารำคาญนำผู้ดูออกไปจากภาพ” Todd Reichman แนะนำ

หนึ่งในวิธีแก้ไขปัญหานี้คือเลี่ยง Jump Cut หรือการแสดงภาพวัตถุจากมุมที่แตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งวิธีง่ายๆ คือกล้องควรเลื่อนอย่างน้อย 30 องศาระหว่างภาพที่ติดกันของวัตถุเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถตัดภาพไปยัง B-roll เพื่อหยุดภาพนั้นได้ นอกจากนี้อีกกฏทั่วไปคือการตัดวัตถุในขณะที่กำลังเคลื่อนซึ่งจะช่วยการตัดภาพดูชัดเจนน้อยลง สิ่งที่ช่วยให้เรียนรู้เรื่องนี้ได้คือดูภาพยนตร์โดยตั้งใจดูในเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้เห็นทั้งการตัดภาพที่ดี ไม่ดี และการตัดภาพที่น่าสนใจ

รู้จักซอฟต์แวร์

ส่วนใหญ่แล้วคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันมักจะมีซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับตัดต่อวิดีโอมาให้ หากไม่ต้องการใช้ซอฟต์แวร์เหล่านี้การลองโหลด Trial เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ตัดต่อมาลองใช้ว่าซอฟต์แวร์ไหนที่เหมาะกับการใช้หรือใช้ได้ถนัดเป็นทางเลือกที่ดี โดยเมื่อรู้จักสิ่งที่อยู่ในซอฟต์แวร์ดีแล้วจะช่วยให้ตัดต่อได้เร็วขึ้น

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ


อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^


หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์และแชร์ด้วยนะครับ
FOTOINFO มี LINE@ OFFICIAL แล้ว !!! อย่าลืมแอดไลน์ @FOTOINFO (หรือสแกน QR Code ในภาพนี้)

ขอบคุณครับ

ติดตาม FOTOINFO ได้ทั้งรูปแบบนิตยสาร Free Copy, e-magazine ฟรีดาวน์โหลด และช่องทางอื่นๆออนไลน์ได้ที่
Line@ : @fotoinfo
YouTube : Fotoinfo Channel
Website : fotoinfomag.com
e-magazine : issuu.com/fotoinfomagazine


ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus

หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่

https://test2.fotoinfo.online/all-about-photo/basic