News Pr news

แคนนอน ทำคะแนนสูงสุดระดับ A ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในรายงานการประเมินของ CDP ประจำปี 2566

CDP ได้ประเมินบริษัทรายใหญ่และรัฐบาลทั่วโลกเกี่ยวกับความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยประเมินจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยและการตอบคำถามที่ส่งถึงบริษัทเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยได้เพิ่มจำนวนบริษัทเป้าหมายให้มากขึ้นทุกปี จนกระทั่งในปัจจุบันมีองค์กรมากกว่า 24,000 แห่งทั่วโลกที่ยอมเปิดเผยข้อมูลผ่านแบบสอบถามในปี 2566 และนับเป็นปีที่ 3 ที่แคนนอนติดอันดับ A-List ในหมวดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยก่อนหน้านี้ได้รับการจัดอันดับใน A List เมื่อปี 2559 และ 2563

การดำเนินงานภายใต้ปรัชญาเคียวเซทำให้แคนนอนมุ่งมั่นสร้างสรรค์สังคมอย่างสมดุลระหว่างการยกระดับไลฟ์สไตล์และการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านการส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” “ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร” “สารเคมี” และ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” ด้วยการกำหนดมาตรการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับเกณฑ์ SBTi[2] แคนนอนได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2[3]  ทั้งหมดที่ 42% และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 33 ทั้งหมด (หมวดที่ 1 และ 113) ที่ 25% ภายในปี 2573 โดยกำหนดให้ปีฐานคือปี 2565

เมื่อปี 2551 แคนนอนได้ตั้งเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดอายุการใช้งานต่อหน่วยผลิตภัณฑ์เฉลี่ย 3% ต่อปี และสามารถบรรลุเป้าหมายแล้วถึง 44.4%[4] โดยเฉลี่ยที่ปีละ 3.95%4 (ตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2566) นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งมั่นสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ (ขอบเขต 1-3) ภายในปี 2593 ด้วยการดำเนินแผนงานต่าง ๆ เช่น การใช้พลังงานทดแทนและกิจกรรมประหยัดพลังงานที่ไซต์การผลิต และการหมุนเวียนทรัพยากรขั้นสูง รวมถึงการใช้ซ้ำผลิตภัณฑ์และการรีไซเคิล

แคนนอนจะยังคงมุ่งมั่นสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เพื่อช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกภาคส่วนของสังคม

####


[1] ก่อตั้งขึ้นในปี 2000 ในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไรระดับนานาชาติซึ่งมีระบบการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมโดยภาคธุรกิจและรัฐบาลท้องถิ่น
[2] SBTi ย่อมาจากโครงการริเริ่มการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มระดับนานาชาติเพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศ ดำเนินงานร่วมกันโดย 4 องค์กร ได้แก่ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC), สถาบันทรัพยากรโลก (WRI), องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และ CDP เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแคนนอนได้รับการอนุมัติจาก SBTi ในปี 2566
[3] ขอบเขตที่ 1: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง (ก๊าซในเมือง, LPG, น้ำมันเบา, น้ำมันก๊าด, ก๊าซเรือนกระจกที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ฯลฯ)
ขอบเขตที่ 2: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (จากการใช้ไฟฟ้า ไอน้ำ ฯลฯ)
ขอบเขตที่ 3: การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน
หมวดที่ 1: ซื้อสินค้าและบริการ, หมวดที่ 11: การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขาย
[4] ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 31 มกราคม 2567

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video