Photo Techniques Photography

4 ไอเดียถ่ายภาพดอกไม้ในสวนสวยด้วยเลนส์เทเลโฟโต้

ปรกติช่างภาพมักจะคุ้นเคยกับการใช้เลนส์มาโครในการถ่ายภาพดอกไม้ แต่หากใครที่มีเลนส์เทเลทางยาวโฟกัสสูงๆก็สามารถนำมาถ่ายภาพดอกไม้ได้เช่นเดียวกัน แม้จะไม่สามารถขยับเข้าใกล้ดอกไม้ได้มากเท่าเลนส์มาโคร แต่คุณสมบัติของเลนส์เทเลโฟโต้ที่ช่วยให้ฉากหลังดูขยับเข้ามาใกล้มากขึ้น ช่วยหลีกเลี่ยงฉากหลังที่ไม่ต้องการได้ดี และหากใช้ทางยาวโฟกัสสูงๆยังช่วยเบลอฉากหลังได้สามารถสร้างภาพดอกไม้สวยๆได้ไม่แพ้การใช้เลนส์ระยะอื่นๆ

     เลนส์เทเลโฟโต้ที่ระยะประมาณ 100mm ก็เพียงพอต่อการนำมาใช้ถ่ายภาพดอกไม้ แต่หากใครที่มีเลนส์ทางยาวโฟกัสที่สูงขึ้น เช่น 200mm หรือ 300mm ลองนำมาถ่ายภาพแนวนี้จะได้ลักษณะของภาพที่แตกต่างกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการใช้เลนส์เทเลแม้จะมีข้อดี เช่น ช่วยเบลอฉากหลัง หรือช่วยให้วัตถุหลักที่โฟกัสมีความโดดเด่น แต่ก็ต้องระวังในเรื่องต่างๆเช่น รูรับแสง การจับถือกล้อง การเลือกจุดโฟกัส การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ และอื่นๆเพื่อให้ภาพที่ได้มีความคมชัด มีคุณภาพสูงตามที่ต้องการ และมีข้อแนะนำ 4 ข้อคือ

1. A narrow view

     ยิ่งใช้เลนส์เทเลที่ทางยาวโฟกัสสูงเท่าใด ก็ต้องถอยห่างจากวัตถุมากตามไปด้วย ซึ่งมีผลต่อเรื่องของเปอร์สเปคทีฟของภาพ และจำไว้เสมอว่าการขยับเพียงเล็กน้อยมีผลต่อความคมชัดของวัตถุหลัก และยังเปลี่ยนแปลงฉากหลังของภาพไปด้วย

2. Pick a flower

     การเลือกโฟกัสที่ดอกไม้ดอกใดดอกหนึ่งเพื่อให้เป็นจุดเด่นของภาพ แนะนำให้ตั้งค่า AF Area mode เป็นแบบ Single Point หลังจากที่เลือกเฟรมภาพหรือจัดองค์ประกอบแล้วจึงเลื่อนจุดโฟกัสไปยังดอกไม้ที่ต้องการเพื่อทำการโฟกัสภาพ

การเลือกจุดโฟกัสแบบ single point กล้องสามารถโฟกัสได้รวดเร็ว แม่นยำ ช่างภาพสามารถเลือกเปลี่ยนตำแหน่งจุดโฟกัสได้สะดวก ตามความต้องการตลอดเวลา

3. Get up to speed

      ความเร็วชัตเตอร์ เป็นปัจจัยหลักสำคัญของความคมชัดของภาพ ต้องมั่นใจว่าความเร็วชัตเตอร์ที่เลือกใช้สูงพอที่จะไม่เกิดการสั่นไหวจากการถือกล้องอันเป็นสาเหตุของภาพเบลอหรือขาดความคมชัด แนะนำให้ใช้โหมดถ่ายภาพ aperture priority แล้วเลือกค่ารูรับแสงและปรับค่าความไวแสง ให้ได้ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/500 วินาที หรือสูงกว่า หรือหากใครที่ถนัดโหมดอื่นๆ ให้ยึดหลักความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/ทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้

การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆช่วยเพิ่มโอกาสในการได้ภาพคมชัดมากตามไปด้วย โดยเฉพพาะกับการถ่ายภาพดอกไม้ในสวนที่มีลมพัดไปมาตลอดดเวลา

4. Exposure compensation

       ใช้การชดเชยแสงช่วยเพื่อปรับค่าความสว่างหรือมืดให้กับภาพ โดยหากถ่ายภาพดอกไม้สีขาวหรือสีอ่อนแนะนำให้ตั้งค่าชดเชยแสง ประมาณ +1.0 EV หากฉากหลังเป็นสีเข้มแนะนำให้ตั้งค่าชดเชยแสงประมาณ -1.0 EV

ดอกไม้ที่มีสีอ่อน แนะนำให้ปรับชดเชยแสงไปทาง + ให้โทนภาพสว่างขึ้น สามารถมองเห็นรายละเอียดของกลีบดอกไม้ได้

ฉากหลังเข้ม แนะนำให้ปรับชดเชยแสงไปทาง – เพื่อให้ดอกไม้มีสีถูกต้องตรงตามจริง

ที่มา : digitalcameraworld.com

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video