BASIC PHOTO TECHNIQUES

10 ข้อที่ช่างภาพมือใหม่ควรเลี่ยง เพื่อให้ถ่ายภาพสวย

สิ่งที่ช่างภาพ หรือนักถ่ายภาพมือใหม่ที่เริ่มหัดถ่ายภาพมักทำพลาด อาจจะเกิดกับผู้ที่เพิ่งซื้อกล้องถ่ายภาพตัวแรกเป็นของตัวเอง หรือแม้แต่หลายคนที่ถ่ายภาพมาช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม ข้อผิดพลาดบางสิ่งดูแล้วไม่น่าจะเกิดขึ้นแต่ก็มีช่างภาพไม่น้อยที่ทำพลาด ไปดูกันว่า 10 ข้อที่ว่านี้มีอะไรบ้าง

การใช้เเฟลชถ่ายภาพ เพื่อช่วยเพิ่มเเสงให้วัตถุ หรือใช้ลบเงาในภาพถ่าย เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ดีในการถ่ายภาพ ทำให้วัตถุดูโดดเด่น ช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ ช่างภาพมือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ใช้เเฟลชโดยไม่ได้คำนึงถึงระยะห่างของแฟลชกับวัตถุหรือตัวเเบบ หากระยะที่ถ่ายภาพไกลเกินไป เเสงเเฟลชส่องไม่ถึงตัวเเบบ ก็ไม่ช่วยให้ภาพถ่ายนั้นดูดีขึ้นมาได้

 

การถ่ายภาพในสภาพเเสงน้อย การเพิ่ม ISO หรือใช้ค่าความไวแสงที่สูงขึ้น เป็นทางเลือกหนึ่งของการตั้งค่ากล้องที่ช่วยให้ภาพสว่างขึ้น ในทางกลับกันหากถ่ายภาพในสภาพเเสงจ้า การปรับค่า ISO ให้ต่ำลงช่วยให้ได้ทั้งค่าแสงที่เหมาะสมและคุณภาพของภาพสูง ไม่มีสัญญาณรบกวน (noise)​ และยังเก็บรายละเอียดของภาพได้ดีมากขึ้นอีกด้วย ช่างภาพมือใหม่หลายคนอาจจะยังเลือกปรับตั้งค่า ISO ไม่ถูกต้อง เลือกฟังก์ชั่นปรับตั้งค่า ISO อัตโนมัติ (Auto ISO)​ เป็นตัวช่วยแล้วค่อยๆเรียนรู้ควบคู่ไปกับการถ่ายภาพก็ได้

 

สำหรับช่างภาพมือใหม่ การทำความเข้าใจกับโหมดถ่ายภา​พต่างๆทั้ง P A(AV)​ S(TV)​ M รวมทั้งสัญลักษณ์อื่นๆบนแป้นปรับต่างๆเป็นสิ่งจำเป็นมาก ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจโหมดและการใช้งานพื้นฐานของกล้องที่ซื้อมา คำอธิบายและรายละเอียดต่างๆเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้จากคู่มือการใช้กล้องที่มีมากับกล้องทุกตัว

 

เลนส์ฮูดที่ติดมากับเลนส์ทุกตัวจะถูกจัดเก็บกล​ับด้านโดยหันหน้าเข้าด้านในกล้องเพื่อประหยัดพื้นที่และปกป้องความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่างภาพมือใหม่หลายคนไม่ทราบว่าฮูดของเลนส์แต่ละรุ่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน และถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดแสงแฟลร์ หลายคนไม่เคยถอดออกจากหน้าเลนส์ หลายคนถอดเก็บไม่เคยนำมาใช้ เป็นการลดโอกาสการถ่ายภาพสวยลงอย่างน่าเสียดาย

 

ค่าไวท์บาลานซ์ หรือ สมดุลแสงสีขาว เป็นค่าที่จะทำให้ภาพถ่ายมีสีสันที่ถูกต้องตรงความเป็นจริง หากตั้งค่าที่ถูกต้องในทุกสภาพแสง พื้นที่หรือวัตถุในภาพที่เป็นสีขาวจะต้องเห็นเป็นสีขาว แต่หากเลือกค่าไวท์บาลานซ์ที่ผิดสีขาวในภาพอาจจะเปลี่ยนเป็นสีอื่นซึ่งส่งผลให้สีสันโดยรวมของภาพ ผิดเพี้ยนไปด้วย สำหรับมือใหม่อาจจะเริ่มต้นที่ตั้งค่า AWB หรือไวท์บาลานซ์อัตโนมัติ และเรียนรู้เรื่องอุณหภูมิสี และแสงในแต่ละช่วงเวลาของวันควบคู่ไปด้วย

 

เป็นข้อผิดพลาดที่อ​ิดขึ้นบ่อย แม้แต่ช่างภาพที่มีประสบการณ์ถ่ายภาพ​มานานก็ลืมได้ ระบบกันสั่น Optical Image Stabilization (OIS) จะทำงานโดยคำนวนการสั่นไหวหรือทิศทางที่เกิดขึ้นในระหว่างการถือกล้องด้วยมือ และใช้กลไกที่มีอยู่มาช่วยในการลดความสั่นไหวนั้นเพื่อช่วยให้ภาพคมชัดมากที่สุด และระบบนี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในขณะตั้งกล้องบนขาตั้งซึ่งจะทำให้เกิดความสั่นไหวขึ้น วิธีที่ดีที่สุดคือควรปิดการทำงานของระบบกันสั่นของกล้องและเลนส์เมื่อใช้งานกับขาตั้งกล้อง และอย่าลืมเปิดเมื่อใช้งานในสถานการณ์ปกติ

 

เลนส์ถ่ายภาพทุกตัวจะมีสวิทช์ให้​ลือก MF (Manual Focus) หรือปรับความชัดเอง และ AF (Auto Focus) ปรับความชัดอัตโนมัติ ในบางครั้งช่างภาพอาจเลือกปรับไปที่ MF เพื่อโฟกัสภาพระยะใกล้หรือถ่ายภาพมาโคร ซึ่งจะให้ความแม่นยำและโฟกัสได้สะดวกกว่าแต่เมื่อใช้งานเสร็จกลับลืมเปลี่ยนมาที่ AF ตามเดิม แน่นอนว่าภาพถ่ายที่ได้หลังจากนั้นเบลอร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ

 

อีกหนึ่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้แม้กับช่างภาพมืออาชีพที่มีประสบการณ์ถ่ายภาพมานาน คือการลืมใส่เมมโมรี่การ์ด อาจจะเกิดขึ้นจากการถอดเมมโมรี่การ์ดออกจากกล้องเพื่อไป back up ไว้กับคอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเกิดขึ้นเพราะถอดออกด้วยเหตุผลอื่นแล้วลืมใส่กลับไปในกล้อง กว่าจะรู้ก็ตอนที่เอากล้องออกไปใช้งานแล้วกล้องเตือนว่าไม่มีการ์ด หลายคนใช้วิธีซื้อการ์ดสำรองไว้หลายใบ เก็บไว้ในกระเป๋ากล้อง แต่วิธีที่ดีที่สุดคือเตือนตัวเองให้เช็คอุปกรณ์ทุกครั้งก่อนออกไปถ่ายภาพ

 

ช่างภาพมือใหม่อาจจะยังไม่มีความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของเลนส์แต่ละประเภทว่าให้ผลของภาพอย่างไร และอาจจะยังเลือกใช้เลนส์ไม่เหมาะกับลักษณะภาพที่ถ่าย ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะยังมีอุปกรณ์ให้ใช้น้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเลนส์คิทที่มีระยะประมาณ 28-70 มม. ซึ่งเพียงพอต่อการถ่ายภาพทั่วๆไป แต่หากจะนำไปถ่ายภาพบางประเภทอาจจะไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ หากต้องการขยับขยายเรื่องอุปกรณ์ควรศึกษาความรู้เรื่องเลนส์เพิ่มเติมเพื่อเลือกซื้อเลนส์ได้ตรงตามความต้องการ

 

มือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นความสำคัญของขาตั้งกล้อง แต่อุปกรณ์นี้ยังเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากโดยเฉพาะกับการถ่ายภาพที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เพื่อให้สามารถเลือกค่าความไวแสงต่ำและคงคุณภาพของภาพถ่ายที่สูงๆได้

แปลจาก AVOID THESE 10 NEWBIE PHOTOGRAPHER FAILS

ผู้เขียน GRAHAM WADDEN

ที่มา :  picturecorrect.com