ADVANCE PHOTO TECHNIQUES

ถ่ายภาพสวยด้วย 4 องค์ประกอบ

ในการถ่ายภาพ หลายครั้งที่ช่างภาพได้แสงสวย ซับเจคเด่น ใช้อุปกรณ์ดี​ แต่ภาพถ่ายกลับไม่โดดเด่น ไม่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ เพราะอะไร?

สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจให้ความสำคัญคือ “การจัดองค์ประกอบภาพ” ไม่ว่าแสงจะดี ซับเจคจะเด่น อุปกรณ์ระดับเทพแค่ไหนก็ตาม หากขาดการจัดองค์ประกอบที่ดี ก็ไม่สามารถสร้างภาพถ่ายที่สมบูรณ์ออกมาได้

4 วิธีจัดองค์ประกอบนี้เป็นวิธีพื้นฐาน นำไปใช้งานง่าย ประยุกต์ใช้ได้กับการถ่ายภาพทุกประเภท แต่ให้ภาพที่สวยงาม โดดเด่น ดึงดูดสายตาผู้ชมได้มากกว่า ตามไปชมกันเลยครับ

1. การใช้กรอบซ้อนกรอบ

การใช้กรอบภาพตามธรรมชาติซ้อนกรอบภาพ จะช่วยเสริมความโดดเด่นให้ซับเจคในภาพได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นให้สายตาผู้ชมภาพมุ่งไปยังจุดเด่น หรือซับเจคหลักในภาพได้รวดเร็ว และชัดเจนมากขึ้น​
.
     ภาพตัวอย่างนี้ ผนังถ้ำน้ำแข็งสีโทนมืดเป็นกรอบภาพกรอบที่หนึ่งช่วยดึงดูดความสนใจของสายตาผู้ชมไปยังซับเจคหลัก คือนักสกีที่ยืนอยู่ตรงปากถ้ำ กรอบภาพกรอบที่สองคือปลายทางที่เป็นโทนสว่าง ทั้งสองกรอบนี้ช่วยส่งให้สายตาผู้ชมมุ่งไปที่ซับเจคหลัก และเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพไดัเป็นอย่างดี

2. วางซับเจคไว้ด้านล่าง เพิ่มพื้นที่ว่างให้ภาพถ่าย

ป็นอีกหนึ่งการจัดองค์ประกอบที่นำเรื่องของพื้นที่ หรือสัดส่วนของภาพถ่ายมาช่วยเพิ่มจุดเด่นให้ภาพ ในข้อแรกจะเป็นการใช้ระยะความลึกของภาพ แต่ในข้อนี้จะเน้นไปที่การเว้นพื้นที่ว่างในภาพและวางซับเจคหลักไว้ในพื้นที่ประมาณ 1 ส่วน 3 ของภาพถ่าย ส่วนที่เหลือทิ้งไว้เป็นพื้นที่โล่ง
.
     จากภาพประกอบนี้ ซับเจคคือคนปั่นจักรยานที่ถูกวางไว้มุมซ้ายล่างของภาพ ส่วนที่เหลือปล่อยเป็นพื้นที่ว่าง ช่วยสื่อความหมายถึงความกว้างใหญ่ของท้องฟ้า เพิ่มเรื่องราวให้ภาพถ่าย แนะนำให้ใช้เลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์ซูมมุมกว้างในการจัดองค์ประกอบแบบนี้

3. มิติของภาพ

ภาพถ่ายที่ดี คือภาพถ่ายที่สามารถถ่ายทอดภาพออกมาได้ครบทุกมิติ แม้ว่าในความเป็นจริงภาพถ่ายสามารถแสดงภาพเพียงสองมิติ
.
     มิติของภาพสามารถสร้างได้ด้วยการจัดองค์ประกอบให้ภาพดูมีความลึก หรือมีมิติแต่ละชั้นด้วยการใช้องค์ประกอบหลายๆส่วนมารวมอยู่ในภาพเดียว จากภาพตัวอย่างนี้มีฉากหน้าเป็นทุ่งหญ้า ถัดไปเป็นแนวรั้วที่ทอดยาว อีกชั้นเป็นเนินเขาสูง จบด้วย layer สุดท้ายคือท้องฟ้าด้านบนสุดของภาพ ภาพลักษณะนี้สื่อความหมายให้ภาพดูมีมิติ ไม่แบน เพิ่มความน่าสนใจให้ภาพได้

4. จังหวะความเคลื่อนไหวในภาพถ่าย

การจับจังหวะความเคลื่อนไหวของซับเจคในภาพ ช่วยส่งให้ซับเจคมีความน่าสนใจมากขึ้น ช่วยเพิ่มเรื่องราวในภาพ ทำได้สองวิธีคือ ใช้ความเร็วช้ตเตอร์ต่ำ เพื่อเบลอซับเจค หรือ ให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหว เช่น การถ่ายไฟรถลากเป็นเส้นแสงยาวๆ หรือการแพนกล้อง และอีกวิธีคือใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดความเคลื่อนไหวของซับเจค
.
     ภาพตัวอย่างนี้ ช่างภาพเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อจับจังหวะการกระโดดของผู้ชายในภาพให้นิ่งสนิทในตำแหน่งที่กำลังกระโดดข้ามรั้วพอดี โดยเว้นช่องว่างทางขวามือไว้เพื่อเพิ่มเรื่องราวให้ผู้ชมได้คิดต่อได้ เป็นการช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพได้เป็นอย่างดี

Bonus : เพิ่มเงาลงในภาพ

การเพิ่มเงาลงไปในภาพถ่าย ก็เป็นอีกการจัดองค์ประกอบภาพที่น่านำมาใช้ เพราะช่วยเพิ่มความลึก เพิ่มมิติและความน่าสนให้ภาพถ่ายได้
.
     ภาพตัวอย่างที่ถ่ายในมุมมองนี้ ภาพจะดูแบน แต่เงาของซับเจคหลักที่ทอดยาวออกมา ช่วยให้ภาพดูมีมิติ และพื้นหลังที่เป็นเส้นแนวทแยงตัดกับทิศทางของเงา ยังช่วยให้ซับเจคมีความโดดเด่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย