Basic Photography

ตั้งกล้องยังไง ให้ได้ภาพคมชัด

ตั้งกล้องยังไง ให้ได้ภาพคมชัด 

ช่างภาพมือใหม่หลายๆ คน มักจะมีปัญหากับการถ่ายภาพ แล้วได้ภาพที่ไม่คมชัด ซึ่งอาจจะเกิดได้ทั้งจากความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของการถ่ายภาพที่ไม่ดีพอ หรือเกิดจากการปรับตั้งค่ากล้องผิดพลาด ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ภาพคมชัดนั้น มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน มาดูว่ามีอะไรกันบ้าง

ถือเป็นด่านแรกเลย ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าภาพที่ได้นั้นจะคมชัดหรือไม่ ระบบโฟกัสของกล้องในปัจจุบัน มีให้เลือกกันหลายรูปแบบมาก นอกเหนือไปจากการโฟกัสครั้งเดียว และการโฟกัสต่อเนื่อง เช่น ระบบ Eye AF ที่จะกลายเป็นฟีเจอร์หลัก ที่มีอยู่ในกล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆ และเลือกได้ทั้ง People Eye AF และ Animal Eye AF ช่วยให้ช่างภาพสะดวกกับการถ่ายภาพมากขึ้นนั่นเอง

กล้อง Mirrorless รุ่นใหม่ๆ มีฟีเจอร์ Eye AF ช่วยให้ถ่ายภาพบุคคลได้ง่ายมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีฉากหน้ารบกวนอยู่ก็ตาม

เมื่อต้องถ่ายภาพกีฬา จะต้องใช้ระบบโฟกัสแบบต่อเนื่อง หรือ Continuous รวมทั้ง Focus Tracking เพื่อให้โฟกัสติดตามซับเจคต์ได้ตลอดนั่นเอง

ระบบโฟกัสสำหรับถ่ายภาพทั่วๆ ไป เลือกใช้แบบโฟกัสครั้งเดียว หรือ AF-S และเลือกจุดโฟกัสเองก็ได้

อีกหนึ่งปัญหาที่ช่างภาพมือใหม่มักจะเจอบ่อยๆ โดยอาจจะตั้งพื้นที่โฟกัสแบบกว้างๆ ตามการตั้งค่า default จากบริษัทผู้ผลิต และกล้องก็จะเลือกโฟกัสสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับกล้องมากกว่า รวมทั้งในกรณีที่มีฉากหน้า กล้องก็จะเลือกโฟกัสที่ฉากหน้าก่อน เป็นต้น หรือเลือกใช้กรอบโฟกัสใหญ่เกินไป ซึ่งทำให้กล้องปรับโฟกัสไม่ถูกจุดที่ต้องการด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ช่างภาพก็ควรจะต้องเลือกพื้นที่โฟกัสแบบจุดเดียว และเลื่อนจุดโฟกัสไปยังจุดเด่นกลักที่ต้องการด้วยตนเอง หรือเลือกจุดโฟกัสที่กลางภาพ แล้วใช้วิธีล็อคโฟกัส ก่อนที่จะจัดองค์ประกอบภาพใหม่

เป็นการวางองค์ประกอบที่มือใหม่มักจพะลาดกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อใช้จุดโฟกัสจุดเดียวตรงกลาง และกล้องจะโฟกัสไปที่กลางภาพ หรือฉากหลัง ซึ่งไม่ใช่ซับเจคต์ที่ต้องการนั่นเเอง

ภาพวิวที่ต้องการความชัดลึกสูงสุดแต่ถ้าหากว่าวางจุดโฟกัสไว้ที่ระยะไกลๆ อาจจะต้องปรับรูรับแสงแคบกว่าปกติ เพื่อให้ด้านหน้าชัดขึ้น ดังนั้นการเลือกจุดโฟกัสที่ระยะ 1/3 ของเฟรมภาพ จะคุมระยะชัดได้มากกว่า

อีกหนึ่งปัญหาของภาพเบลอๆ ภาพสั่น หรือภาพที่ไม่คมชัด คือใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำจนเกินไป เมื่อต้องถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือ โดยค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับการถือกล้องด้วยมือ คำนวณคร่าวๆ ได้จาก 1/ทางยาวโฟกัสของเลนส์ ตัวอย่างคือ เมื่อใช้เลนส์ 50 มม. ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมก็คือ ไม่ต่ำกว่า 1/50 วินาที นั่นเอง

กล้องและเลนส์ในปัจจุบัน จะมีระบบป้องกันการสั่นไหวมาให้ใช้งาน ซึ่งช่วยให้ถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าปกติได้ 2-4 สตอป หรือรุ่นใหม่ๆ บางรุ่นอาจจะเคลมได้มากกว่า ตามตัวอย่าง ใช้เลนส์ 50 มม. ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำกว่า 1/50 วินาที แต่กล้องมีระบบป้องกันการสั่นไหวในตัว เคลมได้ 3 สตอป ดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่จะใช้ได้ในการถือกล้องด้วยมือคือ 1/6 วินาที

แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น จะต้องคำนึงถึงซับเจคต์ในภาพด้วยว่ามีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่หรือไม่ ถ้ามีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว ก็ต้องใช้วิธีปรับความเร็วชัตเตอร์ให้สูงพอที่จะหยุดการเคลื่อนไหวนั้นให้ได้ แต่ถ้าเป็นการถ่ายภาพทั่วๆ ไป ที่ไม่มีสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ในเฟรมภาพ เช่นถ่ายภาพวิว หรือตึกอาคาร ก็สามารถใช้ประโยชน์ของระบบป้องกันการสั่นไหวได้อย่างเต็มที่

ภาพกีฬา เป็นรูปแบบภาพที่ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดจังหวะการเคลื่อนไหว

ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ สามารถหยุดทั้งเจ๊ตสกีและน้ำที่แตกกระจายขึ้นมาได้

ถือเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้การถ่ายภาพสะดวกมากขึ้น ซึ่งในการใช้งานกล้องด้วยการถือกล้องถ่ายภาพ ก็ควรที่จะเป้นใช้ระบบป้องกันการสั่นไหว หรือเมื่อใช้งานกับเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงๆ อย่าง Supertelephoto ก็ควรเปิดใช้งานระบบป้องกันการสั่นไหว แต่ถ้าหากว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้สูงเพียงพอที่จะถือกล้องถ่ายภาพได้นิ่งอยู่แล้ว จะปิดระบบป้องกันการสั่นไหวก็ได้ครับ เพราะจะเป็นการช่วยประหยัดแบตเตอรี่ได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากในการใช้งาน กล้องจะคำนวณการสั่นไหว และคอยปรับระบบให้สัมพันธ์กับการใช้งานไปอยู่ตลอดเวลาที่แตะปุ่มชัตเตอร์ ซึ่งก็ต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไปด้วยเช่นกัน

ในสภาพแสงน้อยๆ และไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ระบบป้องกันการสั่นไหวจะช่วยให้ถือกล้องถ่ายภาพได้สะดวกอย่างสะดวก

ระบบป้องกันการสั่นไหวจะช่วยให้ถือกล้องถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่าปกติได้สะดวกขึ้น แต่ถ้ามีสิ่งที่เคลื่อนไหวในภาพ จะต้องคำนึงด้วยว่าอาจจะเกิดการสั่นไหวได้ ถ้าความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้ต่ำจนเกินไป

เป็นอุปกรณ์เสริมที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อต้องถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ หรือถ่ายภาพแบบ Long Exposure เช่น ไฟรถวิ่งตามถนน, ถ่ายภาพดวงดาวเป็นเส้นยาวๆ หรือถ่ายภาพน้ำตกให้ดูพลิ้วไหว ซึ่งต้องใช้การเปิดรับแสงนานๆ ไม่สามารถถือกล้องด้วยมือได้แน่ๆ เพราะภาพจะไหวเบลอทั้งหมด

ขาตั้งกล้อง เป็นอุปกรณ์เสริมที่จะต้องมี ถัดไปจากการซื้อกล้องและเลนส์ ซึ่งมีภาพถ่ายหลายรูปแบบที่จะต้องอาศัยการตั้งกล้องถ่ายรูปบนขาตั้งกล้อง เพื่อให้ได้ภาพที่มีความคมชัดสูงสุด

ภาพพลุ เป็นภาพที่ต้องเปิดรับแสงนาน จำเป็นที่จะต้องตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง

ภาพน้ำตกที่พลิ้วไหว ก็ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เช่นกัน จำเป็นที่จะต้องตั้งกล้องบนขาตั้ง เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด และจัดองค์ประกอบได้อย่างสะดวก

เป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานร่วมกับขาตั้งกล้อง เมื่อตั้งกล้องให้นิ่งแล้ว แต่การกดชัตเตอร์ตรงๆ ที่ตัวกล้อง ก็อาจจะทำให้ภาพสั่นไหวได้เช่นกัน ดังนั้น สายลั่นชัตเตอร์ หรือรีโมทคอนโทรล จะลดการสัมผัสกับตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่คมชัด จากกล้องที่อยู่นิ่งที่ๆ ด้วยเช่นกัน

แต่ถ้าหากว่าไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ หรือรีโมทคอนโทรล สามารถตั้งแบบหน่วงเวลาแทนก็ได้ โดยลดระยะเวลาจากปกติ ซึ่งผู้ผลิตจะตั้งค่า default ไว้ที่ 10 วินาที มาเป็น 2 หรือ 5 วินาที เพื่อไม่ให้เสียเวลามากเกินไปอีกด้วย แต่การตั้งหน่วงเวลาถ่ายภาพ อาจจะทำให้เสียจังหวะในการถ่ายภาพไปได้ ดังนั้น สายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทคอนโทรลจะสะดวกกับการใช้งานมากที่สุด

กล้องรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน สามารถใช้งานแอพลิเคชั่นผ่าน Wi-fi หรือ Blutooth ซึ่งสามารถใช้แอพลิเคชั่นของกล้องนั้นๆ เป็นรีโมทคอนโทรลการถ่ายภาพก็ได้เช่นกัน

ภาพดาวหมุนเป็นวงกลม ถือเป็นการถ่ายภาพแบบ Long Exposure ซึ่งจะต้องใช้ขาตั้งกล้อง และสายลั่นชัตเตอร์หรือรีโมทคอนโทรล เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดสูงสุด

สภาพแสงน้อยๆ ก่อนพระอาทิตย์ตก ก็ต้องตั้งกล้องบนขาตั้ง และลั่นชัตเตอร์ด้วยสายลั่น หรือรีโมทคอนโทรล เพื่อลดการสัมผัสที่ตัวกล้อง ที่อาจจะเกิดการสั่นไหวได้

ความไวแสง หรือ ISO ต่ำๆ จะให้ภาพที่มีความคมชัด และยังคงรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน ส่วนความไวแสงสูงๆ จะเกิดสัญญาณรบกวร หรือ Noise มากขึ้น ตามค่าความไวแสงที่สูงขึ้น ซึ่ง Noise นี้ จะไปลดทอนความคมชัดและรายละเอียดต่างๆ ของภาพลงไป ทำให้ดูไม่คมชัดเท่าที่ควรนั่นเอง

การลือกใช้ความไวแสงต่ำ จะทำให้ได้ภาพที่คมชัด และถ่ายทอดรายละเอียดของภาพได้เป็นอย่างดี

ถ้าเลือกใช้ความไวแสงสูงๆ อาจจะได้ภาพผิวของหญิงสาว ที่ดูหยาบๆ ไม่น่าชมเท่าไหร่นัก

แสงจะเดินทางเข้าสู่เซ็นเซอร์ภาพผ่านเลนส์และควบคุมปริมาณแสงด้วยขนาดรูรับแสง การใช้รูรับแสงแคบๆ จะได้ภาพที่มีระยะชัดลึกมากขึ้นตามขนาดรูรับแสง แต่การใช้รูรับแสงแคบมที่สุดของเลนส์นั้นๆ ถึงแม้ว่าจะควบคุมระยะชัดลึกได้มากขึ้นก็จริง แต่ที่รูรับแสงแคบที่สุด จะเกิดอาการผิดเพี้ยนที่เรียกกว่า Diffraction หรือการเลี้ยวเบนของแสง

จากแสงที่พุ่งตรงๆ เข้ามาที่เลนส์ ผ่านรูรับแสงขนาดเล็กที่สุด เมื่อผ่านไปแล้ว แสงจะกระจายออกด้านข้าง เพื่อลงไปตกกระทบกับเซ็นเซอร์ภาพ อาการเลี้ยวเบนนั่นล่ะครับ ที่ลดทอนความคมชัดลงไป ทำให้ภาพที่ขนาดรูรับแสงแคบที่สุดของเลนส์มักจะไม่คมชัดมากนัก ดังนั้หากเป็นไปได้ ก็หลีกเลี่ยงการใช้งานที่ขนาดรูรับแสงแคบที่สุดของเลนส์นั้นๆ และหากต้องการความระยะชัดลึกให้ครอบคลุมทั้งเฟรมภาพให้ได้มากที่สุด ให้เลือกใช้การเปลี่ยนจุดโฟกัส เพื่อควบคุมระยะชัดลึกแทน

ภาพที่ต้องการระยะชัดลึกสูงสุด อาจจะเป็นเหตุผลที่เลือกใช้รูรับแสงแคบสุด ซึ่งทำให้ความคมชัดลดลง จากอาการ Diffraction หรือการเลี้ยวเบนของแสงนั่นเอง

การหลีกเลี่ยงการใช้รูรับแสงแคบสุด แต่ยังต้องการระยะชัดสูงสุด จะต้องเปลี่ยนจุดโฟกัสใหม่ ซึ่งมือใหม่จะเลือกโฟกัสไปพุ่มไม้ด้านหน้า และใช้รูรับแสงแคบสุด วิธีแก้ไขคือ ปรับรูรับแสงให้กว้างขึ้นมา 1 สตอป และขยับจุดโฟกัสถัดไปที่สะพานไม้แทน

แฟลชจะมีช่วงการฉายแสงสั้นมากๆ ซึ่งแสงแฟลชนั้น จะหยุดการเคลื่อนไหวในจังหวะที่แสงแฟลชปล่อยออกมา ซึ่งช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นการใช้งานกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะมีส่วนที่ซับเจคต์ไหวๆ รวมอยุ่ในเฟรมภาพด้วย ดังนั้น การใช้แฟลช อาจจะหวังผลกับรูปแบบภาพบางแบบเท่านั้น และการใช้แฟลช ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจกับเรื่องของแฟลชอยุ่พอสมควร จึงจะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาพกีฬาประเภท Action จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เช่น 1/500 หรือ 1/1000 วินาที เพื่อหยุดจังหวะการเคลื่อนไหว แต่เมื่อใช้แฟลชช่วย ความเร็วชัตเตอร์เพียง 1/125 วินาที ก็สามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้

มักจะเห็นกันบ่อยๆ ว่าภาพชกมวย เป็นกีฬาที่ให้ใช้แฟลช ซึ่งช่างภาพไม่ต้องปรับความเร็วชัตเตอร์สูงๆ รวมทั้งไม่ต้องปรับความไวแสงสูงๆ ซึ่งจะได้ภาพหยาบๆ จาก Noise ตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งการใช้แฟลชเสริม ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์และความไวแสงสูงเกินไป