BASIC PHOTO TECHNIQUES SPECIAL ARTICLE

ทำความเข้าใจกับไฟล์ภาพ JPEG VS RAW

กล้องถ่ายภาพดิจิตัลรุ่นใหม่ๆ​ต่างแข่งขันกันเรื่องการใช้เซ็นเซอร์ที่มีความละเอียดมากขึ้น ส่งผลให้ช่างภาพต้องจบงานได้ช้าลงกว่าเดิม และยังต้องคิดถึงเรื่องการเก็บไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่จำนวนมากและเรื่องอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามยังมีไฟล์ฟอร์แมทที่มีการ Compression หรือการบีบอัดไฟล์ภาพ หรือที่บางคนเรียกว่า การลดขนาดไฟล์ภาพที่รู้จักกันดีคือ JPEG ซึ่งการบีบอัดไฟล์ภาพเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับการถ่ายภาพมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับช่างภาพด้วยเช่นกันในการที่จะเลือกใช้ และควบคุมปัจจัยต่างๆตั้งแต่ขั้นตอนการถ่ายภาพ ไปจนถึงการนำภาพถ่ายไปใช้งาน

     การบีบอัดไฟล์ภาพ JPEG จะลดรายละเอียดของภาพและทำให้การปรับภาพภายหลังทำได้แบบจำกัด (ต่างจากไฟล์ RAW ที่จะเก็บข้อมูลทุกอย่างของภาพถ่ายแบบละเอียด)​ ซึ่งการบีบอัดไฟล์ภาพ JPEG จะเป็นการลดข้อมูลเกี่ยวกับความลึกของสีในแต่ละพิกเซลเท่านั้น ไม่ใช่การลดความละเอียดภาพ หากบันทึกภาพด้วยความละเอียดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น 24MP, 50MP หรืออื่นๆ ภาพที่ได้ก็จะยังคงมีความละเอียดเท่ากัน ไม่ว่าจะถ่ายภาพด้วย JPEG หรือ RAW ก็ตาม โดยที่ไฟล์ JPEG ยังเก็บข้อมูล Metadata และโปรไฟล์สีที่เลือกไว้เช่นเดียวกับไฟล์ RAW

RAW FILE : คือไฟล์ที่ได้จากเซ็นเซอร์กล้องโดยตรง ไม่มีการ บีบอัดขัอมูล จึงได้ไฟล์ที่มีคุณภาพสูงเต็มประสิทธิภาพของกล้อง ทั้งในเรื่องรายละเอียด, Dynamic Range ที่กว้างสูงสุดตามสเปค และการไล่โทนสีที่ละเอียด (ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะเป็น 14 bit)​ และต้องใช้โปรแกรมเฉพาะเพื่อเปิดดูรูปจากไฟล์ RAW เช่น Adobe Camera Raw, Lightroom 

นามสกุลไฟล์ RAW ของกล้องถ่ายภาพแต่ละแบรนด์ที่ใช้ก็จะมีชื่อเรียกต่างกัน

  • Canon ใช้ CR3
  • Fujifilm ใช้ RAF
  • Nikon ใช้ NEF
  • Olympus ใช้ .ORF
  • Pentax ใช้ PEF 
  • Panasonic ใช้.RW2​
  • Sony ใช้ ARW

JPEG : เป็นไฟล์ที่ผ่านการบีบอัดข้อมูลเกี่ยวกับความลึกของสีในแต่ละพิกเซล ออกมาเป็นรูปทึ่คมชัด มีสีสันสวย สดใส ด้วยชิปประมวลผลในตัวกล้องเรียบร้อยแล้ว เน้นการนำไปใช้งานได้ทันที เช่น อัพขึ้นสื่อโซเชี่ยลต่างๆ ดูบนมือถือ บนจอแท็บเล็ต สามารถแต่งเพิ่มได้ด้วยโปรแกรมแต่งรูปทั่วๆไปที่มีให้เลือกเยอะมาก แต่เนื่องจากเป็นไฟล์ที่ผ่านการบีบอัดข้อมูลแล้ว มีการสูญเสียทั้งรายละเอียด และการไล่โทนสีจะทำได้เพียง 8 bit เท่านั้น

ช่างภาพควรทำความเข้าใจคุณสมบัติของไฟล์ทั้งสองประเภท และเลือกไฟล์บันทึกภาพตามลักษณะความต้องการนำภาพถ่ายไปใช้งาน ก็จะได้ประโยชน์สูงสุดครับ

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video