NEWS PHOTO CONTEST

ประกวดคลิปวีดิทัศน์ “Meditation Clip Contest” หัวข้อ “ชีวิตที่ว้าวุ่น..ใช้สติ สมาธิ ค้ำจุน..ช่วยหาทางออกได้”

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอเชิญนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดคลิปวีดิทัศน์ “Meditation Clip Contest” หัวข้อ “ชีวิตที่ว้าวุ่น..ใช้สติ สมาธิ ค้ำจุน..ช่วยหาทางออกได้” ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาและส่งเสริมครูและผู้เรียนให้มีความสุข มีสมาธิในการเรียน มีสุขภาพจิตที่แข็งแรง มีสติพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มีความจําและความเข้าใจที่ดีขึ้น ภาวการณ์ซึมเศร้า ลดลง มีความสุขมากขึ้น มีวินัยในตนเอง มีความเชื่อมั่นและการตัดสินในที่ดีขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีความร่วมมือในการกระทํากิจกรรมใด ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน รวมทั้งมีจิตใจที่เข้มแข็ง ต่ออบายมุขและยาเสพติด
  • เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการ Meditation CFH (Calm, Focus & Happiness) ของสถานศึกษา ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีความชัดเจน มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ “เรียนดี มีความสุข”

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • เป็นนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.๑ – ๖) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ๓) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ๖)
  • เป็นผู้ที่สามารถนําเสนอ ถ่ายทอดผลการปฏิบัติสมาธิจากคลิปวีดิทัศน์ โครงการ Meditation CFH
  • คลิปที่ ๑ คลิปโน้มน้าวใจ
  • คลิปที่ ๒ คลิปการฝึกปฏิบัติ

เกณฑ์การส่งผลงาน

โรงเรียนมีสิทธิ์ส่งได้ ๑ ระดับ ดังนี้

  • ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.๑ – ๖)
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ๓)
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ๖)

โรงเรียนมีสิทธิ์ส่งได้ ๑ ทีม ๑ เรื่อง

  • ในทีมต้องเป็นนักเรียนในระดับและโรงเรียนเดียวกัน ประกอบด้วยนักเรียน จํานวน ๕ คน และครูผู้ควบคุมจํานวนไม่เกิน ๒ คน

ลักษณะผลงานคลิปวีดิทัศน์

  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับหัวข้อ “ชีวิตที่ว้าวุ่น..ใช้สติ สมาธิ ค้ำจุน..ช่วยหาทางออกได้” ปัจจุบันเด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงสื่อสังคมในโลกออนไลน์ได้ง่าย ทุกที่ (Anywhere) ทุกเวลา (Anytime) ดังนั้น การมีสติและสมาธิในการพิจารณาสื่อต่าง ๆ จะช่วยให้เด็กและ เยาวชนสามารถพิจารณาผลดีและผลเสียของสื่อในโซเซียลมีเดียเพื่อรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มีสมาธิในการเรียน มีความสุข มีสุขภาพจิตที่แข็งแรง ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ผ่านกิจกรรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ โดยคลิปวีดิทัศน์มีความยาวไม่เกิน ๕ นาที (รวม Title และ End Credit)
  • การผลิตงาน ไม่จํากัดรูปแบบการนําเสนอ สไตล์ เทคนิคการถ่ายทํา เทคนิคการผลิต และ การติดต่อ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ
  • ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นผู้รับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูลได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ  ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สิน ทางปัญญา หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือมีการกระทําที่ละเมิดกฎหมาย ถ้ามีการฟ้องร้อง ผู้ที่ส่งเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบในทุกกรณี
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เคยส่งประกวดที่อื่นมาก่อน

วิธีการส่งผลงาน

ระดับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ทีมที่เป็นตัวแทนจากโรงเรียน) ให้ดําเนินการ ดังนี้

  • โรงเรียนลงทะเบียนและส่งผลงาน ในวัน เวลา และสถานที่/ ช่องทางที่สํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษากําหนด
  • โรงเรียนบันทึกข้อมูลลง ใน Google Drive โดยข้อมูลประกอบด้วย
  • รายชื่อนักเรียน รายชื่อครูผู้ฝึกสอน หมายเลขโทรศัพท์ จํานวน ๑ ชุด (ไฟล์ PDF)
  • บทพูด (script) จํานวน ๑ ชุด (ไฟล์ PDF)
  • ผลงานคลิปวีดิทัศน์ ความยาวไม่เกิน ๕ นาที จํานวน ๑ เรื่อง (ไฟล์ MP4)

ระดับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ทีมที่เป็นตัวแทนจากระดับเขตพื้นที่ การศึกษา) ให้ดําเนินการดังนี้

  • สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาลงทะเบียนและส่งผลงาน ในวัน เวลา และสถานที่/ ช่องทาง ที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด
  • สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบันทึกข้อมูลลงใน Google Drive โดยข้อมูลทั้งหมด ประกอบด้วย
  • รายชื่อนักเรียน รายชื่อครูผู้ฝึกสอน หมายเลขโทรศัพท์ จํานวน ๑ ชุด (ไฟล์ PDF)
  • บทพูด (Script) จํานวน ๑ ชุด (ไฟล์ PDF)
  • ผลงานคลิปวีดิทัศน์ ความยาวไม่เกิน ๕ นาที จํานวน ๑ เรื่อง (ไฟล์ MP4)

วิธีการประกวด

ระดับสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

  • แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสิน จํานวนไม่ต่ํากว่า ๕ คน คัดเลือกผลงานจากโรงเรียนที่ส่งเข้าประกวด
  • คัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละระดับชั้นเท่านั้น
  • ระดับชั้นประถมศึกษา (ป.๑ – ๖) จํานวน ๑ รางวัล
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ – ๓) จํานวน ๑ รางวัล
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔ – ๖) จํานวน ๑ รางวัล
  • ส่งแบบรายงานผลการประกวดตามแบบฟอร์มมายังสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗

ระดับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  • แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสิน จํานวนไม่ต่ํากว่า ๕ คน เพื่อคัดเลือกผลงานจากสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งเข้ามาประกวด
  • คณะกรรมการคัดเลือกผลงานเพื่อรับรางวัล จํานวน ๕ รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ ๑ – ๒ และรางวัลชมเชย ๓ รางวัล ของแต่ละระดับชั้น โดยโรงเรียนจะต้องมานําเสนอผลงาน ในรอบตัดสิน ตามวัน เวลา และสถานที่ที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกําหนด
  • เกณฑ์การให้คะแนน (๑๐๐ คะแนน)
  • แก่นเรื่อง (Theme) สมบูรณ์สอดคล้องของเนื้อหาตามกรอบเรื่อง ๒๐ คะแนน
  • เทคนิคการถ่ายทํา เช่น การจัดภาพ มุมกล้อง การเก็บภาพ การตัดต่อ ๒๐ คะแนน
  • ความสมบูรณ์ในภาพรวมของคลิปทั้งหมด ๒๐ คะแนน
  • เสียง ระบบภาพ มีความสัมพันธ์ ชัดเจน ๒๐ คะแนน
  • บทพูด (Script) ๒๐ คะแนน

รางวัลการประกวด

  • รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล ๔๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ เงินรางวัล ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ เงินรางวัล ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
  • รางวัลชมเชย ระดับละ ๓ รางวัล เงินรางวัล ๕,๐๐๐ บาท พร้อมโล่เกียรติยศ
  • หมายเหตุ ทุกทีมที่เข้าแข่งขันในระดับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วม

ติดต่อสอบถาม

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video