News Photo contest

ประกวดภาพถ่าย หัวข้อ “EMBRACING CULTURAL DIVERSITY THROUGH YOUR LENS”

ประกวดภาพถ่าย โครงการ“พหุวัฒนธรรมสมดุล”: การสร้างสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรม ในกรณีแรงงานต่างชาติในประเทศไทยที่มีสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาวสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้หัวข้อ “EMBRACING CULTURAL DIVERSITY THROUGH YOUR LENS”

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “พหุวัฒนธรรมสมดุล”: การสร้างสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรม ในกรณีแรงงานต่างชาติในประเทศไทยที่มีสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างคนไทยและแรงงานต่างชาติ ท่ามกลางความความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมด้วยการสะท้อนมุมมองและเรื่องเล่าผ่านภาพถ่าย

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

1. เปิดพื้นที่การเรียนรู้ที่สะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในการอยู่ร่วมกันกับแรงงานต่างชาติในสังคมไทย

2. กระตุ้นให้เกิดความคิดและความตระหนักในการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม การเคารพซึ่งกันและกัน ลดอคติ และการแบ่งแยก

3. ช่วยส่งเสริมแง่มุมด้านบวกระหว่างคนไทยและแรงงานต่างชาติ อันจะนำไปสู่ความสามัคคีทางสังคม และการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด

  • นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (ไม่จํากัดเชื้อชาติ และอาชีพ)

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของภาพที่ส่งเข้าประกวด

1. ผู้สมัคร 1 คน มีสิทธิ์ส่งภาพเข้าประกวดไม่เกิน 3 ภาพ

2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพที่ถ่ายด้วยตนเอง ไม่รับภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึงวันหมดเขตรับภาพ 15 สิงหาคม 2567

3. ภาพถ่ายต้องเป็นไฟล์ภาพดิจิตอลความละเอียดสูง มีคุณสมบัติสามารถนำไปอัดขยายภาพเพิ่มได้ โดยภาพต้องมีขนาดด้านสั้นที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 2,400 pixels และ ขนาดด้านที่ยาวที่สุดต้องไม่เกินกว่า 6,000 pixels ในรูปแบบไฟล์ .jpg หรือ jpeg เท่านั้น

4. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดจะเป็นไฟล์ภาพสีหรือขาวดำ ในแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้

5. สามารถใช้เทคนิคปรับแต่งภาพโดยไม่จำกัดรูปแบบในการสร้างสรรค์ภาพโดยไม่ผิดเพี้ยนจากความ เป็นจริง อนุญาต ให้ปรับแต่ง Color temperature, brightness, contrast, dodge & bum, sharpening, saturation changes, tonal adjustments, Color balance ได้ ลบตะกอนได้ Cropping ได้ไม่เกิน 40% การปรับแต่งภาพมากเกินไปจากที่กล่าวมาข้างต้นให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของคณะกรรมการ ไม่อนุญาต ให้ตัดต่อภาพ แปะภาพบางส่วนจากภาพอื่นมาไล่ในภาพเดียวกัน ห้ามการถ่ายภาพซ้อน Double Exposures และภาพที่สร้างจาก AI

6. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกใดๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใดๆ

7. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใดๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่นใด

8. ผู้ส่งภาพเข้าประกวดต้องรักษาไฟล์ RAW หรือไฟล์ต้นฉบับขนาดใหญ่ไว้แสดงในกรณีที่มีการเรียกตรวจสอบหรือในกรณีที่คณะกรรมการตัดสินภาพมีข้อสงสัย สามารถเรียกให้ผู้ส่งภาพเข้าร่วมประกวด แสดงภาพต้นฉบับได้

9. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องกรรมสิทธิ์ภาพจากหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงต้อง ไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ทั้งนี้คณะผู้จัดงานจะไม่รับผิดชอบเรื่องการละเมิด ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของผลงานมีสัญญาผูกพันต่อบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องเป็น ผู้รับผิดชอบในกรณีนี้เอง

10. หากปรากฏว่าภาพที่ส่งเข้าประกวดไม่เป็นไปตามกติกาข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ส่งภาพเข้า ประกวดไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วน คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการตัดสิน ผู้ส่งภาพเข้าประกวด ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อุธรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

11. ไฟล์ภาพทุกไฟล์ที่ส่งเข้าประกวด จะไม่ส่งคืนให้ผู้เข้าร่วมประกวด และไฟล์ภาพดังกล่าวจะถือเป็น กรรมสิทธิ์ของ โครงการ “พหุวัฒนธรรมสมดุล”: การสร้างสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมในกรณี แรงงานต่างชาติในประเทศไทยที่มีสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ลิขสิทธิ์ภาพยังคงเป็นของเจ้าของภาพอย่างสมบูรณ์

12. โครงการ “พหุวัฒนธรรมสมดุล”: การสร้างสมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมในกรณีแรงงานต่างชาติใน ประเทศไทยที่มีสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดล มีสิทธิ์นำภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดไปเผยแพร่ในช่องทางต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์และแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้า

13. คณะกรรมการตัดสินและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการฯ ไม่มีสิทธิ์ร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในครั้งนี้

14. โครงการ “พหุวัฒนธรรมสมดุล”:ฯ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขรวมถึงของรางวัล โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

15. ผู้ที่ได้รับรางวัล ต้องเข้าร่วมงานเสวนาเพื่อรับเงินรางวัล พร้อมโล่และเกียรติบัตรด้วยตนเอง ตามวัน และเวลาที่โครงการกำหนด

16. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

เอกสารและสิ่งที่ต้องส่งมาในการสมัคร

1. ไฟล์ภาพถ่าย (ให้ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้ส่งภาพเข้าประกวด)

2. สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรนักศึกษา เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง เขียนว่า “ใช้สำหรับส่งผลงานเข้า ประกวดภาพถ่าย โครงการพหุวัฒนธรรมสมดุล ฯ เท่านั้น”

3. ใบสมัครกิจกรรมประกวดภาพถ่าย (เอกสารหมายเลข 1) พร้อมรายละเอียดเล่าเรื่องจากภาพถ่ายที่ ส่งเข้าประกวด โดยมีความเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เขียนบรรยายประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 หรือประมาณ 500 คำ (เอกสารหมายเลข 1.1)

4. หนังสือยินยอมให้เผยแพร่จากบุคคลที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่าย (เอกสารหมายเลข 2) เพื่อรับรองว่า ภาพที่ส่งประกวดไม่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act)

5. หนังสือยินยอมจากผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวด (เอกสารหมายเลข 3) ยินยอมให้นำภาพที่ส่งประกวด ไปเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อการศึกษาและไม่แสวงหากำไรโดยคณะวิจัย

6. ส่งใบสมัครและไฟล์ภาพผลงานพร้อมแบบเอกสารสำคัญ ได้ 2 ช่องทาง (เลือกทางใดทางหนึ่ง): 1) ช่องทางออนไลน์: Link File: Google Drive มาทาง E-mail ที่ [email protected] 2) ช่องทางไปรษณีย์: กลุ่มวิจัย “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสุขภาวะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

ดาวน์โหลดใบสมัคร

  • สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครได้ที่ https://bit.ly/4b5b0oA โดยจะต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วนพร้อมเอกสารแนบ 

กำหนดการ

  • ส่งใบสมัครพร้อมผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ – วันที่ 15 สิงหาคม 2567

ประกาศผลการตัดสิน

  • โครงการ “พหุวัฒนธรรมสมดุลฯ” ประกาศผลการตัดสินประกวดภาพถ่ายภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ทางเว็บไซต์ https://lc.mahidol.ac.th/

Popular Vote

  • เปิดให้โหวตได้ที่ Facebook: RILCA, Mahidol University https://www.facebook.com/Bilica Mahidol ตั้งแต่วันที่ 23 – 29 สิงหาคม 2567

หลักเกณฑ์และการพิจารณาตัดสิน

ภาพถ่ายสามารถสะท้อนมุมมองของผู้ถ่ายในเชิงสร้างสรรค์ ภาพถ่ายต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ภาพถ่ายต้องมีคุณค่าและความงามในเชิงศิลปะ

(1) เรื่องราวของภาพและความสอดคล้องกับเป้าหมายของกิจกรรม  35 คะแนน

(2) ความคิดสร้างสรรค์ มุมมองใหม่ และจินตนาการ  20 คะแนน

(3) การจัดองค์ประกอบของภาพ  15 คะแนน

(4) ความยาก-ง่าย เทคนิค  15 คะแนน

(5) ความสวยงามของภาพ  15 คะแนน

รวม  100 คะแนน

ประเภทรางวัลการประกวดภาพถ่าย

  • รางวัลชนะเลิศ เงินสดจำนวน 30,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร จำนวน 1 รางวัล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินสดจํานวน 15,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร จํานวน 1 รางวัล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินสดจำนวน 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร จำนวน 1 รางวัล
  • รางวัลชมเชย เงินสดจํานวน 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 2 รางวัล
  • รางวัล Popular Vote เงินสดจํานวน 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 1 รางวัล
  • รางวัลรอง Popular Vote เงินสดจํานวน 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร จำนวน 6 รางวัล

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video