สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดวีดิทัศน์สั้น (Short Video) ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok “ก้าวพอดี : Thailand’s SDGs Hackathon” ระดมความคิด พิชิตความยั่งยืน ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท พร้อมโล่รางวัล และประกาศนียบัตร
คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
- นักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ทั้งสายสามัญและอาชีพ
- นักกศึกษา และเยาวชน ประชาชนทั่วไป
กติกาการประกวด
- ผู้เข้าประกวดจะต้องทําวีดิทัศน์สั้นเนื้อหาเกี่ยวกับ SDGs ความยาวไม่เกิน 1 นาที จํานวน 1 ชิ้น
- ผู้ประกวดจะต้องส่งเอกสารข้อมูลเบื้องต้นประกอบวีดิทัศน์ SDGs ประกอบไปด้วย ชื่อทีม ชื่อ สมาชิก และ แนวคิดในการทําวีดิทัศน์สั้นเนื้อหาเกี่ยวกับ SDGs ไม่เกิน 300 คํา จํานวน 1 ชิ้น
- ผู้เข้าประกวดจะต้องเลือกความสอดคล้องของผลงานกับสาระสําคัญตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน (SDGs) โดยในแบบฟอร์มการสมัครจะต้องระบุความสอดคล้องของผลงานกับ SDGs ใน 5 มิติทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมาย
- หมายเหตุ 5 มิติ (5Ps) ประกอบด้วย 1) มิติด้านสังคม (People) 2) มิติด้านเศรษฐกิจ (Prosperity) 3) มิติด้าน สิ่งแวดล้อม (Planet) 4) มิติด้านสันติภาพและสถาบัน (Peace) และ 5) มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)
- ผู้เข้าร่วมประกวดสามารถส่งผลงานได้ในประเภทบุคคลหรือกลุ่ม ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น โดยสามารถส่งได้ในนามกลุ่ม จะมีสมาชิกได้ไม่เกิน 5 คน ทั้งนี้ หากได้รับรางวัล โล่และเงินรางวัล จะมอบให้ตามประเภทรางวัล โดยโล่รางวัลจะมอบให้ผู้ได้รับรางวัลผลงานละ 1 ชิ้น และประกาศนียบัตรจะมอบให้ผู้ได้รับรางวัลเป็นรายบุคคล
- 1 บัญชีผู้ใช้งานสามารถส่งผลงานได้ 1 ครั้งเท่านั้น และผู้เข้าประกวด 1 คน สามารถส่งผลงาน ได้เพียง 1 ชิ้นเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถรับรางซ้ําได้มากกว่าคนหรือกลุ่มละ 1 รางวัล
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเข้าร่วมแคมเปญที่สร้างขึ้นในแพลตฟอร์ม TikTok พร้อมลงทะเบียนตาม แบบฟอร์มยื่นส่งผลงานเข้าประกวด และติด #ThailandSDGsHackathon #ระดมความคิดพิชิตความยั่งยืน โดยผู้ส่งผลงานจะต้องเปิดบัญชี TikTok เป็นสาธารณะ
- ผู้เข้าร่วมประกวดจะต้องเป็นผู้จัดทําผลงานด้วยตนเอง และไม่กระทําการใด ๆ อันเป็นการละเมิดผลงานผู้อื่น รวมถึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ถูกถ่ายทําให้สามารถ เผยแพร่ผลงาน โดยไม่ขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) หากพบว่ามีการร้องเรียนหรือพิสูจน์ได้ภายหลังว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดมิใช่ของผู้ส่งผลงาน หรือมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์ ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ในการจะเรียกคืนรางวัลที่ได้รับไปแล้วหรือตัดสิทธิ์ นอกจากนี้ ผู้จัดกิจกรรมจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นหากมีการดําเนินการทางกฎหมายที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบกับการกระทําดังกล่าวด้วยตนเอง
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดอื่นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น การประกวดในเวทีสาธารณะ ภายในสมาคม ชมรม หรือองค์กรใด
- ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องลิขสิทธิ์กับหน่วยงานใด ๆ
- ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องเก็บต้นฉบับไว้ หากคณะกรรมการตัดสินมีข้อสงสัย สามารถให้ผู้เข้าร่วมประกวดแสดงผลงานต้นฉบับได้
- หากพบว่าผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เป็นไปตามกติกาที่กําหนด คณะกรรมการสามารถใช้อํานาจในการตัดสิทธิ์ผลงานนั้น โดยการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- สศช. สามารถนําผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไปทําซ้ํา ดัดแปลง แก้ไข และเผยแพร่เพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของผลงาน และไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของผลงานทราบ
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยินยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขที่ได้แนบไว้ในใบสมัครแล้ว
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่ สศช. หรือผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมครั้งนี้
- การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
กําหนดส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2567
ขั้นตอนการคัดเลือกและตัดสิน โดยการแข่งขันจะมีทั้งหมด 3 รอบ
- การคัดเลือกรอบที่ 1 คัดเลือกผลงานที่เข้ารอบจํานวน 10 ชิ้น (รวมทั้งประเภทบุคคลและกลุ่ม)
- การฝึกอบรม จํานวน 2 วัน
- การนําเสนอผลงานและประกาศรางวัล จํานวน 1 วัน
กําหนดการ
- เปิดรับสมัคร 22 ธันวาคม 2566 – 22 มกราคม 2567
- ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านการคัดเลือก 26 มกราคม 2567
- การฝึกอบรม จํานวน 2 วัน 3 – 4 กุมภาพันธ์ 2567
- นําเสนอวีดิทัศน์สั้นความยาว 1-3 นาที ผ่านช่องทางออนไลน์ 9 กุมภาพันธ์ 2567
- กิจกรรมเสนอผลงานและประกาศรางวัล 17 กุมภาพันธ์ 2567
- หมายเหตุ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงวันเวลาในการคัดเลือก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
การให้คะแนน รวมทั้งสิ้น 100 คะแนน มีรายละเอียด ดังนี้
- ความสอดคล้องของสาระสําคัญเกี่ยวกับ SDGs 40 คะแนน
- รูปแบบการนําเสนอ 40 คะแนน
- รูปแบบการสื่อสารและการนําเสนอ 10 คะแนน
- การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 10 คะแนน
- การสื่อสารชัดเจน เข้าใจง่าย 10 คะแนน
- ความน่าสนใจและสนุกสนานของผลงาน 10 คะแนน
- ความคิดสร้างสรรค์ 20 คะแนน
รางวัลการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ Top of the Top จํานวน 1 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศมิติด้านสังคม (People) จํานวน 1 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศมิติด้านเศรษฐกิจ (Prosperity) จํานวน 1 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศมิติด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) จํานวน 1 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศมิติด้านสันติภาพและสถาบัน (Peace) จํานวน 1 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศมิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) จํานวน 1 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
- รางวัลชนะเลิศ Popular Vote จํานวน 1 รางวัล จะได้รับประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 Popular Vote จํานวน 1 รางวัล จะได้รับประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 9,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 Popular Vote จํานวน 1 รางวัล จะได้รับประกาศนียบัตรและเงินรางวัลมูลค่า 6,000 บาท
- รางวัลชมเชยจํานวน 5 รางวัล จะได้รับประกาศนียบัตร พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 6,000 บาท
ติดต่อสอบถาม
- คุณอริสา หมายเลขโทรศัพท์ 082-556-2383
Leave feedback about this