ผลสำรวจจากเลอโนโว พบว่าธุรกิจในกลุ่มอาเซียนพลัสกว่า 68% ใช้งานโครงสร้างไอทีพื้นฐานแบบไฮบริดเพื่อรองรับการใช้งาน AI รวมถึงไทยที่วางแผนการเป็นศูนย์กลาง AI ระดับภูมิภาค

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 28 พฤษภาคม 2568 –จากข้อมูลของ Lenovo’s CIO Playbook 2025 ซึ่งจัดทำขึ้นโดย Lenovo และข้อมูลจาก IDC เป็นครั้งที่ 3 โดยสำรวจผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วโลกกว่า 2,900 คน รวมถึงเหล่าผู้บริหารและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีกว่า 900 คน ใน 12 ตลาดทั่วในเอเชีย แปซิฟิค อันได้แก่อินเดีย, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอาเซียนพลัส(ไทย, สิงคโปร์, ฮ่องกง,ไต้หวัน ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) โดยจากรายงานชี้ให้เห็นว่า เหล่าผู้นำทางธุรกิจและผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที ต่างเห็นพ้องกันถึงทิศทางของการลงทุนด้าน AI ที่จะต้องมี ROI หรือผลตอบแทนของการลงทุนเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยกลุ่มธุรกิจในเอเชีย แปซิฟิค มีแผนลงทุนด้าน AI ที่เพิ่มขึ้นถึง 3.3 เท่า ส่วนธุรกิจในอาเซียนพลัส มีแผนการลงทุนด้าน AI ที่เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า
การลงทุนในเทคโนโลยี AI ที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วสื่อให้เห็นถึงความพร้อมของภูมิภาคอาเซียนพลัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไทยที่ได้มีการวางแผนสร้างประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยจาก แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) ที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้งาน AI, การพัฒนาความรู้และความสามารถของแรงงานเพื่อรองรับการใช้งาน AI รวมถึงการสนับสนุนการใช้งาน AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เลอโนโวในฐานะบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ภายใต้วิสัยทัศน์การสร้างเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อทุก ๆ คน – Smarter Technology for All – มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของไทย โดยเรามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่มาพร้อมความปลอดภัย และมีจริยธรรม และเข้าถึงได้ง่ายทั้งเพื่อการใช้งานส่วนบุคคล การใช้งานเพื่อธุรกิจ และการใช้งานบนระบบสาธารณะ ผ่านผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการ ที่เลอโนโวนำเสนออย่างครบครัน ตั้งแต่ อุปกรณ์ที่มาพร้อมบระสิทธิภาพการใช้งาน AI บริการและโซลูชันที่ผสานความสามารถของ AI เข้าไป เหล่านี้เองทำให้เลอโนโวเป็นบริษัทที่จะสามารถช่วยธุรกิจ และคนไทย ให้บรรลุถึงเป้าหมายในการปลดล็อคเทคโนโลยีเพื่อดึงประสิทธิภาพของ AI ออกมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์เพื่อสร้างประสิทธิผล พัฒนานวัตกรรม และสร้างผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน

การประยุกต์ใช้ AI ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และ ROI คืออุปสรรคสำคัญ
ในขณะที่การลงทุนด้าน AI มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การประยุกต์ใช้ AI ของธุรกิจในกลุ่มอาเซียนพลัสยังถือว่าอยู่ในสถานะเริ่มต้น โดยจากผลสำรวจพบว่า 47% ของธุรกิจในอาเซียนพลัสอยู่ในขั้นตอนการประเมิน หรือวางแผนการนำ AI มาใช้งานทางธุรกิจในอีก 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งต่ำกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจในเอเชีย แปซิฟิค (56%) และทั่วโลก (49%) โดยอุปสรรคสำคัญของการนำ AI มาใช้คือ ROI โดยจากผลสำรวจพบว่า สิงคโปร์เป็นผู้นำในกลุ่มอาเซียนพลัส โดยเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคด้วยความพร้อมด้าน AI ที่ล้ำหน้า และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนพลัสยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำ AI มาใช้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร และความเชี่ยวชาญ
การทำให้ AI นำมาซึ่ง ROI นั้น ต้องอาศัยความสมดุลระหว่างการทดลองใช้งาน AI กับการมีโครงการที่สามารถขยายผลได้ โดยประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ธุรกิจและองค์กรในเอเชีย แปซิฟิค คาดหวังที่จะได้รับ ROI ถึง 3.6 เท่าโดยเฉลี่ยจากการลงทุนในโปรเจ็ค AI ต่าง ๆ ซึ่งการที่จะทำให้เกิดขึ้นจริงได้นั้น ต้องอาศัยความรอบคอบในการขยายการใช้งาน AI และการพัฒนาศักยภาพภายในองค์กรไปพร้อม ๆ กัน ส่วนธุรกิจในกลุ่มอาเซียนพลัสที่เพิ่งเริ่มใช้งาน AI นั้น การเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบซัพพลายเชน, การพัฒนาข้อปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎระเบียบส่วนกลาง และการเสริมประสิทธิภาพให้การทำงานของพนักงาน เพื่อตัวช่วยเพื่อรับมือกับความท้าทายทางธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการข้อมูล การสร้างความเชี่ยวชาญด้าน AI และการสร้างความปลอดภัยของข้อมูล เป็นหัวข้อที่ธุรกิจในกลุ่มอาเซียนพลัสให้ความสำคัญ
ก้าวข้ามความท้าทายด้านความพร้อมของธุรกิจ
ลำดับความสำคัญของธุรกิจที่เปลี่ยนไปในแต่ละปีสะท้อนถึงความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นในการผลักดันการเติบโตของ AI รวมถึงการเข้าใจถึงความเสี่ยงจากการใช้งาน โดยประเด็นด้านจริยธรรมและอคติหรือ bias ยังคงเป็นความความเสี่ยงอันดับแรกของการใช้งาน AI อย่างไรก็ตามมีเพียง 24% ของธุรกิจและองค์กรระดับโลก และ 25% ของธุรกิจและองค์กรในเอเชีย แปซิฟิค ที่การบังคับใช้นโยบาย GRC หรือการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ โดยสมบูรณ์ สำหรับธุรกิจในอาเซียนพลัสนั้นพบว่า มีเพียง 24%ที่มีการดำเนินการนโยบาย AI GRCในระดับองค์กรอย่างครบถ้วน ซึ่งสถานการณ์นี้เป็นสิ่งยืนยันถึงสาเหตุที่เหล่าธุรกิจและองค์กรในเอเชียแปซิฟิคลงความเห็นให้การวางแนวทางอย่างเป็นระบบเป็นเรื่องที่ธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
การใช้งาน AI อย่างมีธรรมาภิบาลนั้นต้องประกอบด้วย การใช้งานที่ต้องสามารถอธิบายได้ มีกรอบการทำงานด้านจริยธรรมที่ชัดเจน มีภาระรับผิดชอบ มีโมเดลการกำกับดูแล เสริมความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และมีมนุษย์เป็นผู้กำกับดูแลควบคุม
การใช้งาน GenAI มีความแพร่หลายมากขึ้น
GenAI ถูกคาดหวังให้เป็นตัวช่วยเสริมประสิทธิภาพแก่เวิร์คโฟลว์การทำงานขององค์กร ส่งผลให้กว่า 42% ของเงินลงทุนของธุรกิจในกลุ่มอาเซียนพลัสถูกใช้จ่ายไปกับการนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้
- ในเอเชีย แปซิฟิค การลงทุนด้าน AI เพื่อการปฎิบัติการณ์ด้าน IT นั้นเป็นหัวข้ออันดับหนึ่งในขณะที่ธุรกิจในอาเซียนพลัสใช้การลงทุนด้าน AI เพื่อสนับสนุนด้านการให้บริการลูกค้า
- การใช้งาน AI เพื่อหัวข้อด้านความปลอดภัย (#2) และการพัฒนาซอฟ์ตแวร์ (#3) สำหรับธุรกิจใน เอเชีย แปซิฟิค
- กลุ่มธุรกิจในอาเซียนพลัสลงความเห็นให้ การปฎิบัติการณ์ด้าน IT(#2) วิศวกรรมและ R&D(#3) เป็นลำดับความสำคัญของธุรกิจในการนำ Gen AI มาประยุกต์ใช้

การจัดเก็บข้อมูลไว้กับระบบที่ติดตั้งอยู่ในองค์กร และระบบแบบไฮบริด เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจ
จากรายงานยังพบว่า65% ของธุรกิจในเอเชีย แปซิฟิค มีการวางโครงสร้างพื้นฐานในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลของบริษัทไว้ในองค์กร (on-premise) และแบบ ไฮบริด (hybrid) เพื่อรองรับการใช้งาน AI โดยสาเหตุที่ทำให้การวางระบบทั้งสองรูปแบบเป็นที่นิยมเนื่องจาก ความปลอดภัย, มีความหน่วงในการส่งและรับข้อมูลต่ำ และให้ความคล่องตัวในการใช้งาน ในขณะที่ 19% ของธุรกิจยังคงใช้งานระบบคลาวด์สาธารณะในการเก็บข้อมูล
สำหรับธุรกิจในอาเซียนพลัสนั้นก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ 68% ของธุรกิจใช้การวางระบบและรากฐานการเก็บข้อมูลในแบบไฮบริดและ on-premise ในขณะที่ธุรกิจที่เหลือใช้คลาวด์สาธารณะ
Sinisa Nikolic, Director, HPC, AI & CSP, Asia Pacific, Lenovo กล่าวว่า การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบไฮบริดนั้นตอบโจทย์ในการใช้งานในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการขยายและลดขนาดตามความต้องการ และการควบคุมที่ทำได้อย่างสะดวก โดย 63% ของธุรกิจทั่วโลกเลือกใช้ การวางโครงสร้างพื้นฐานในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลของบริษัทแบบ on-premise และแบบไฮบริด เพื่อรองรับการใช้งาน AI ซึ่งธุรกิจในอาเซียนพลัสนั้นนำเทรนด์การใช้งานนี้สูงกว่าระดับเอเชีย แปซิฟค และระดับโลก อันทำให้เห็นถึงแผนการที่ชัดเจนในการ ใช้งานนวัตกรรมเพื่อสร้างความปลอดภัย และตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งาน AI ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเลอโนโวในฐานะผู้นำทางเทคโนโลยีที่นำเสนอโซลูชั่น AI ที่ครบครันรอบด้านสำหรับธุรกิจ, ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่อัจฉริยะ และเป็นพาร์ทเนอร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจในทุกประเภทภายใต้วิสัยทัศน์ Smarter AI for All ก็พร้อมเป็นตัวช่วยให้แก่ธุรกิจ
ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ AI PC เป็นสัญญาณบวกของประสิทธิภาพที่จะเพิ่มตาม
ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมความสามารถในการใช้งาน AI หรือ AI PC กำลังได้รับความสนใจ โดยผลสำรวจธุรกิจในเอเชีย แปซิฟิค พบว่า กว่า 43% เริ่มเห็นประสิทธิภาพการใช้งาน AI PC อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามแม้ประสิทธิภาพที่ได้รับนั้นเป็นสิ่งที่ชัดเจน แต่การนำ AI PC มาใช้งานยังคงมีเกณฑ์ที่ต่ำ
สำหรับในอาเซียนพลัส ธุรกิจกว่า 65% กำลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนนำ AI PC มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเชื่อว่าหากเทคโนโลยี AI PC มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถสร้าง ROI ได้อย่างชัดเจน การนำ AI PC มาใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนเพื่อก้าวสู่การทำงานแบบดิจิทัลอย่างแท้จริง

ไอทีพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญคือสิ่งที่ธุรกิจต้องการ
เพื่อรองรับการใช้งาน AI CIO กว่า 34% ในเอเชีย แปซิฟิค และ 44% ในอาเซียนพลัส ต่างมองหาพาร์ทเนอร์ทางไอทีที่มีความเชี่ยวชาญในโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับ AI เพื่อบริหารจัดการความซับซ้อนของการจัดการข้อมูล, ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และปัญหาเรื่องงบประมาณ โดยที่น่าสนใจคือ CIO ของธุรกิจในอาเซียนพลัส กว่า 56% กำลังมองหาและวางแผนที่จะใช้งานไอทีพาร์ทเนอร์เหล่านี้ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งการมีพาร์ทเนอร์ทางไอทีจะช่วยปิดช่องว่างดังกล่าว ทั้งยังเพิ่มโอกาสและเวลาขององค์กรเพื่อสร้างทักษะให้บุคลากร และสร้างการเติมโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนแก่ธุรกิจ
Matt Codrington, Vice President and Regional General Manager, Greater Asia Pacific, Lenovo กล่าวว่า “การนำ AI มาเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจนั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแสในระยะเวลาสั้น ๆ ธุรกิจและองค์กรจำเป็นต้องลงทุนในการสร้างระบบ การติดตั้ง และการใช้งาน AIโซลูชันต่าง ๆ ที่สามารถวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้เองผู้ให้บริการ AI โซลูชันจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยธุรกิจเพื่อนำ AI ที่สามารถวัดผลได้มาใช้งาน อาธิ ตัวโซลูชัน Lenovo’s AI Fast Start ที่สามารถเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น ผ่านการเริ่มต้น ทดลอง ปรับแต่ง และเพิ่มขอบเขตของงานที่ขับเคลื่อนด้วย AIได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และเฟรมเวิร์คการทำงานที่ได้รับการทดสอบมาแล้วว่ามีประสิทธิภาพ”
คุณวรพจน์ ถาวรวรรณ, ผู้จัดการทั่วไป เลอโนโว ประจำไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวปิดท้ายว่า “อย่างที่ทราบกันดีว่า ไทยได้มีการวางเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์กลาง AI ของภูมิภาคอาเซียน และธุรกิจในไทยก็กำลังเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลโดยมีโฟกัสหลักคือการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่สามารถวัดค่าได้และมีจริยธรรมให้แก่ธุรกิจ เลอโนโวอยู่คู่กับคนไทยและธุรกิจในไทยมากว่า 20 ปี ด้วยเป้าหมายในการเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจและองค์กรในไทย รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีส่วนบุคคลสามารถก้าวข้ามอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ AI และใช้ AI เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจได้อย่างแท้จริงผ่านพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ของเลอโนโวที่มาพร้อมประสิทธิภาพการใช้งาน AIทั้งในอุปกรณ์, ระบบโครงสร้างเพื่อรองรับการใช้งาน AI, โซลูชั่นและบริการ เพื่อเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการสร้างการเติบโตระยะยาว เสริมประสิทธิภาพความได้เปรียบในการแข็งขันทางธุรกิจ และเพื่อเป็นผู้นำการใช้งาน AIระดับภูมิภาคและสร้างเศรษฐกิจที่ผลักดันด้วย AI”
Leave feedback about this