10 Things To Do When Stuck at Home as a Photographer
โดย : Albert Dros
ช่วงนี้เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ จำเป็นต้องอยู่บ้าน ไม่สามารถออกไปใช้ชีวิ ตภายนอกได้อิสระเหมือนที่ผ่านมา มีการสั่งห้ามผู้คนออกจากบ้าน หรือประกาศปิดประเทศ ปิดเมือง กระจายไปทั่วโลก สำหรับช่างภาพ ีช่วงเวลาที่ยาวนานและน่าเบื่ อเช่นนี้ มากพอที่จะทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ชดเชยกับการมีเวลาไม่พอในช่วงที่ ผ่านมาได้
1. Work on Your Website ทํางานบนเว็บไซต์ของคุณ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่างภาพส่วนใหญ่ มักจะไม่มีเวลาที่จะปรับปรุงเว็ บไซต์ ตอนนี้มีเวลาในการจัดการเว็ บไซต์เหลือเฟือทั้งการกลับมาปรั บปรุงดูแลเว็บไซต์อีกครั้ง หรืออาจจะเริ่มต้นที่ Blog ซึ่งเรามักจะได้ยินคำว่ากำลั งวางแผนจะเริ่มทำ… แต่ก็ไม่ได้เริ่มซักที? อ้างว่าไม่มีเวลา หรืออาจจะจัดการภาพรวมของเว็ บไซต์ ให้มีระเบียบ น่าเข้าชมสำหรับนำเสนอลูกค้ าในอนาคต หรือหันกลับมาตรวจดูรายละเอี ยดการทำ SEO เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงได้มากขึ้ นโดยเครื่องมือค้นหา
2. Work on Your Social Media ทำงานบนโซเชียลมีเดีย
ปัจจุบัน โลกของโซเชียลมีเดีย กลายเป็นสิ่งสําคัญในชีวิ ตประจำวัน ด้วยความที่เข้าถึงง่ายและทั่ วถึงทุกพื้นที่ แม้จะไม่มีความจําเป็นต้องให้มี ความเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่ทุกความเคลื่อนไหวที่สม่ำ เสมอมีความสําคัญต่อการมองเห็ นและเข้าถึงได้ง่าย
ตัวอย่างของช่องทางสื่อสั งคมออนไลน์ : Instagram, Facebook , ทวิตเตอร์, Flickr, 500px, แอปพลิเคชั่น VERO และอื่นๆ การเคลื่อนไหวหรือเพิ่มคอนเท้ นท์ใหม่ๆบนสื่อต่างๆเหล่านี้ ทำให้การเข้าถึงสื่อของคุณเป็ นไปได้ง่ายและมีโอกาสมากขึ้น
3. Spend Some Time Checking Others’ Work มีเวลาในการดูผลงานของคนอื่ นๆมากขึ้น
การเข้าชมผลงานของช่างภาพคนอื่ นๆหรือจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพสู งทั้งในด้านการถ่ายภาพ ด้านศิลปะดิจิตอล(digital arts) เช่น Behance เพื่ออัพเดทไอเดียและสร้างแรงบั นดาลใจใหม่ๆในการทำงาน
4. Process Unprocessed or (Reprocess) Old Images ตกแต่งภาพที่ยังไม่ได้ทำ หรือ นำมามาตกแต่งเพิ่มเติมใหม่
สำหรับช่างภาพทุกสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างภาพสาย landscape (ผู้เขียน) ที่ต้องเดินทางตลอดเวลา และมีภาพค้างในสต็อครอการ process เป็นจำนวนมาก ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ เหมาะสมในการรื้อสต็อคภาพเหล่ านั้นขึ้นมาดูและทำการ process แล้วครับ
5. Clean Up and Structure Your Hard Drive ได้เวลาเคลียร์และจัดระเบี ยบฮาร์ดไดร์ฟแล้ว
ช่างภาพจำนวนมากนิยมเก็บไฟล์ ภาพหลายพันหลายหมื่นภาพไว้ ในฮาร์ดไดร์ฟ และมากกว่า 80% ของไฟล์เหล่านี้ไม่เคยถูกจั ดระเบียบเลย ตอนนี้เป็นเวลาที่ดีที่จะหันกลั บมาเลือกไฟล์ภาพ เริ่มจัดวางโครงสร้าง แบ่งแยกหมวดหมู่, จัดทำ directory, จัดเรียงตาม timeline, ทำความสะอาดไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือใช้ซอฟต์แวร์ช่วยจั ดระบบระเบียบของฮาร์ดไดร์ฟ
6. Increase Your Skills เพิ่มพูนทักษะการทำงาน
ช่วงนี้เวลาว่างมีมากพอที่จะท่ องโลกอินเทอร์เน็ต แหล่งข้อมูลใหญ่มาก ที่คุณนำมาใช้พัฒนาทักษะการถ่ ายภาพได้ โดยเฉพาะ YouTube คือแหล่งข้อมูลฟรีที่ใหญ่ที่สุ ดชนิดที่เรียกได้ว่าไม่มีที่สิ้ นสุด หรืออาจจะลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆด้วยการซื้อคอร์สเรียนการถ่ ายภาพต่างๆทางออนไลน์ดูบ้างก็ ได้
7. Prepare (Photography) Projects From Home วางแผนโปรเจ็คถ่ายภาพใหม่ๆเก็ บไว้ ในมุมมองของผู้เขียนซึ่งเป็นช่ างภาพสาย landscape ซึ่งต้องออกเดินทางถ่ ายภาพตามสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ ในช่วงสถานการณ์แบบนี้ จะวางแผนล่วงหน้าถึงสถานที่ใหม่ ๆที่อยากไป หรือคิดโปรเจ็คใหม่เพื่อเตรี ยมไว้นำเสนอผู้สนับสนุนต่างๆ นอกจากจะมีเวลาเลือกสถานที่ วางแผนการถ่ายภาพแล้ว ยังมีเวลาคิดคำนวนค่าใช้จ่ายต่ างๆเอาไว้ได้อีกด้วย
เมื่อผ่านช่วงเวลานี้ไป และทุกอย่างพร้อมก็เป็นโอกาสที่ จะเริ่มต้นออกไปถ่ายภาพตามแผนที่ วางไว้ได้โดยไม่เสียเวลา
8. Sort Out Your Gear and See What You Can Get Rid Of
ช่างภาพส่วนใหญ่มักจะมีกล้อง เลนส์ และอุปกรณ์การถ่ายภาพอื่ นๆคนละหลายๆอย่าง บางคนมีบอดี้มากกว่าหนึ่งตัว มีเลนส์มากมายหลายระยะ ขาตั้งกล้อง และ ฯลฯ ได้เวลามาจัดการอุปกรณ์ต่ างๆพวกนี้ ชิ้นไหนใช้ ชิ้นไหนไม่เคยใช้ ไม่ค่อยได้ใช้ หรือชิ้นไหนเสีย ก็จัดการขายหรือทิ้งให้เรียบร้ อย
9. Work on (Properly) Printing Your Work ลองพิมพ์ภาพถ่าย การพิมพ์ภาพถ่ ายและมองภาพขนาดใหญ่ขึ้นแขวนที่ ผนังในระยะห่าง1-2 เมตร คุณจะพบความแตกต่างจากการดู ภาพถ่ายจากหน้าจอมือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์เล็กๆที่ใช้ อยู่ การพิมพ์ภาพจะทำให้คุณมองภาพถ่ ายในอีกมุมมองหนึ่งและเห็นคุณค่ าของภาพถ่ายมากกว่าไฟล์หนึ่ งไฟล์ที่อยู่บนหน้าจอ คุณสามารถเรียนรู้การพิมพ์ การเลือกกระดาษ, การเลือกโปรไฟล์, การปรับสีภาพจากหน้าจอคอมพ์ให้ สีตรงจริง หรือปรับตามใจชอบ สิ่งต่างๆเหล่านี้หาได้ง่ายๆใน YouTube
10. Write Something Yourself ลองเป็นนักเขียน การลองเขียนเกี่ยวกับการถ่ายภาพ หรือนำเสนอความคิด เทคนิคต่างๆในรูปแบบตัวหนังสื อเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้ าทายไม่แพ้การถ่ายภาพ อย่าลังเล มีผู้อ่านที่สนใจรออ่ านบทความของคุณอยู่เสมอ
ที่มา : petapixel.com