สกมช. พบเว็บต้องสงสัย 1,800 เหตุการณ์ เกินครึ่งเป็นเว็บที่ถูกแฮกและเว็บปลอม
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ บริษัท Gogolook (โกโกลุค) จำกัดผู้ให้บริการทางด้าน เทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) และผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ลงนามบันทึกความร่วมมือ ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์เร่งต้านมิจฉาชีพออนไลน์ ให้คนไทยมีภูมิคุ้มกัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ ณ ห้องประชุม Confidential ชั้น 7 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า “สกมช. โดย ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ThaiCERT) ได้เฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุการณ์ทางไซเบอร์ ให้กับหน่วยงาน ต่างๆ โดยจากปี 2566 ที่ผ่านมา ตรวจพบกว่า
1,800 เหตุการณ์ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) แฮกเว็บไซต์มากถึง 1,056 เหตุการณ์ 2) พบเว็บไซด์ปลอม 310 เหตุการณ์ และ 3) การหลองลวงทางการเงิน 111 เหตุการณ์
ล้วนเกิดความเสียหายต่อหน่วยงานและประชาชนเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นภารกิจสำคัญของ สกมช. ที่ต้องเร่งหาแนวทางแก้ไข ตามแนวทางการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เชิงรุก Proactive Protection
ทั้งนี้ สกมช. พร้อมผลักดันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนทุกระดับ หนึ่งในนั้นคือ จะสนับสนุน ส่งเสริม การใช้งาน แอปพลิเคชัน Whoscall ที่พัฒนาขึ้นโดยโกโกลุค ซึ่งได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายในหลายๆประเทศ โดยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งาน (Permission) ให้เหมาะสม ลดข้อห่วงใย การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล และ โกโกลุค ประเทศไทย พร้อม ปฏิบัติติตามกฎหมาย PDPA ของไทยเป็นอย่างดี ซึ่งการลงนามบันทึกความเข้าใจ ฯ ฉบับนี้ ถือเป็นความร่วมมือ อันดี ที่จะช่วยทำให้ภารกิจของเราสำเร็จได้เร็วขึ้น โดย สกมช. และ โกโกลุค จะร่วมมือกันเสริมสร้างขีด ความสามารถ
ในการยกระดับทักษะและความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยี รวมถึงโครงการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชน อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ในการต่อต้านอาชญากรรมออนไลน์ และส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้กับสังคมไทย
นายเจฟฟ์ กัว (Jeff Kuo) ซีอีโอ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท Gogolook จำกัด กล่าวว่า “Gogolook รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมือกับสำนักงานความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) บันทึกความเข้าใจ (MOU) แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการปกป้องประเทศไทยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น
ในปี 2566 อาชญากรรมไซเบอร์ทำให้คนไทยสูญเสียเงินหลายพันล้านบาทและสร้างความหวาดกลัวให้แก่สังคมในวงกว้าง Gogolook ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) เราใช้ข้อมูลและ AI พัฒนาโซลูชันเพื่อป้องกันการหลอกลวง ความร่วมมือกับ สกมช. ที่จะเกิดขึ้น Gogolook จะเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับ URL ของ Whoscall โดยมีบริการที่ครอบคลุมจากการโทรและ SMS ไปสู่การคัดกรอง URL เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำงานร่วมกันระหว่างความสามารถของ Gogolook และความเชี่ยวชาญของ NCSA จะช่วยให้เราจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเชิงรุกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยวิสัยทัศน์ ร่วมกันในการสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัยและน่าไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ประชาชนไทยสามารถ ใช้ดิจิทัลด้วยความมั่นใจ เราจะผสานความร่วมมือระหว่างเทคโนโลยีและความปลอดภัย เพื่อปกป้องภัยทางดิจัทัลให้กับผู้ใช้ในประเทศไทย”
เกี่ยวกับ Gogolook
Gogolook เป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 โดยมีพันธกิจหลักคือสร้างความเชื่อมั่น “Build for Trust”
เพื่อสร้างเครือข่ายต่อต้านโกงระดับโลกที่ขับเคลื่อนโดย AI และข้อมูล รวมถึงบริการการจัดการความเสี่ยง (Risk Management as a Service) ตั้งแต่การสื่อสารหลายช่องทางไปจนถึง fintech, SaaS Gogolook สร้างอำนาจที่น่าเชื่อถือด้วยการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง Global Anti-Scam Alliance (GASA) Gogolook ได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ มากมาย เช่น สำนักงานสืบสวนคดีอาญาของสำนักงานตำรวจไต้หวัน สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินเกาหลีใต้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประเทศไทย รัฐบาลเมืองฟุกุโอกะ สำนักงานตำรวจสืบสวน และประสานงานอาชญากรรมไซเบอร์ฟิลิปปินส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวง และท้ายที่สุดคือการสร้างเครือข่าย การสื่อสารที่น่าเชื่อถือซึ่งมีฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ จำนวนมากที่สุดในเอเชียตะวันออก และเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม Gogolook ที่: https://gogolook.com/en
เกี่ยวกับ สกมช.
สกมช. ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ระเบียบ มาตรการ มาตรฐานขั้นต่ำ แนวทางปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ มิให้เกิดผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน ตลอดจนความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยประสานงาน เฝ้าระวัง รับมือและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ เมื่อมีเหตุภัยคุกคามเกิดขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศดำเนินการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : NCSA Thailand
Leave feedback about this