ADVANCE

12 เทคนิคการถ่ายภาพ indoor ด้วยแสงธรรมชาติ

แปลจาก 12 Tips For Indoor Natural Light Photography

ผู้เขียน : Dena Haines

ช่างภาพหลายคนอาจจะเคยมีประสบการณ์แย่ๆกับการถ่ายภาพ indoor อันอาจเกิดจากแสงไม่เป็นใจ ไม่สามารถควบคุมเงาของภาพ หรือสกินโทนที่ไม่ถูกต้องตามจริง โดยเฉพาะช่างภาพมือใหม่หลายคนอาจจะไม่อยากกลับไปถ่ายภาพแแบบนี้อีก

อย่างไรก็ตาม ในการถ่ายภาพ in door ด้วยแสงธรรมชาติ มีข้อควรระวังและเทคนิคง่ายๆที่นำไปปรับปรุงแก้ไขได้   เรียนรู้เทคนิคทั้ง 12 ข้อนี้และลองนำไปปรับปรุงข้อผิดพลาดต่างๆดู  ไม่แน่คราวต่อไปอาจจะได้ภาพดีๆเอามาแชร์กันก็เป็นได้

 

1. It’s all about the windows and doors ทำความเข้าใจเรื่องแสงจากแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติ
     ด้วยการเรียนรู้สภาพแสงสว่างในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งแสงอ่อนที่ให้ความนุ่มนวลหรือแสงแรงที่ส่องเข้ามาตรงๆ แสงสะท้อน หรือสีของแสงที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลาในระหว่างวัน แสงที่ดูอบอุ่นโทนร้อนในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตก แสงที่ออกโทนเย็นกว่าในช่วงระหว่างวัน สามารถใช้แสงต่างๆเหล่านี้สร้างความแตด​กต่างให้กับภาพถ่ายได้

2. Turn off the lights การปิดไฟหรือแสงสว่างจากหลอดไฟ 
     แสงสว่างจากแหล่งกำเนิดแสงอื่น เช่น หลอดไฟชนิดต่างๆภายในบ้านล้วนส่งผลรบกวนต่อภาพถ่าย แสงจากแหล่งกำเนิดแสงที่หลากหลายมีผลโดยตรงต่อค่า white balance ของภาพ ซึ่งจะมีผลกับในเรื่องของสกินโทน วิธีที่ดีและง่ายที่สุดในการแก้ไขคือการปิดไฟเพื่อลดการรบกวนแสงธรรมชาติ

3. Shoot in Aperture Priority mode เลือกใช้โหมด A/AV (Aperture Priority)​ 
     ในการถ่ายภาพ indoor ที่มีปริมาณแสงสว่างน้อย จำเป็นต้องเลือกใช้รูรับแสงกว้าง (ตัวเลข f/stop ที่เลขน้อย)​ เพื่อเก็บปริมาณแสงให้ได้มากที่สุด เมื่อใช้รูรับแสงกว้าง ภาพที่ได้จะมีระยะชัดลึกน้อย วัตถุหลักที่อยู่ในระยะโฟกัสจะมีความคมชัด ส่วนอื่นๆนอกระยะโฟกัสจะดูซอฟท์และฉากหลังจะเบลอ ซึ่งการใช้เทคนิคนี้เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคลและภาพสินค้า
     สำหรับการถ่ายภาพพอร์ทเทรต การใช้รูรับแสงที่ f/5 or f/6 และเลือกจุดโฟกัสที่ดวงตา จะให้ความชัดได้หมดทั้งใบหน้า และแนะนำให้ถ่ายภาพเป็นไฟล์ RAW ซึ่งนำไปแต่งเพิ่มเติมกับซอฟท์แวร์ภายหลังได้ดีกว่าไฟล์ JPEG
โหมด Aperture Priority จะใช้ชื่อต่างกันในแต่ละแบรนด์ ส่วนใหญ่ใช้ชื่อโหมด A ยกเว้นแคนนอน ที่ใช้ชื่อโหมด AV เมื่อใช้งานโหมดนี้เราสามารถเลือกปรับค่ารูรับแสงได้ตามต้องการโดยกล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติ

 

4. Choose your White Balance การเลือกใช้ค่าไวท์ บาลานซ์
     หลีกเลี่ยงการเลือกใช้ค่าออโต้ไวท์บาลานซ์ Auto White Balance (AWB) ให้เลือกปรับค่าไวท์บาลานซ์เป็น Daylight ที่มีสัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์ จะให้ผลของสกินโทนที่ดี ไม่ออกโทนสีฟ้าหรือเหลืองโทนใดโทนหนึ่งมากเกินไป หรือหากต้องการให้โทนภาพออกมาดูอบอุ่นขึ้นเล็กน้อยให้เลือก Cloudy ที่จะเพิ่มโทนเหลืองเข้ามาในภาพ ลองปรับใช้ค่าไวบาลานซ์ทั้งสองนี้ดูและเลือกใช้ค่าที่เหมาะสมที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถแก้ไขค่าไวบาลานซ์ได้ในขั้นตอนการแต่งภาพ หากถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW แต่หากเลือกใช้ค่าที่ถูกต้องตั้งแต่การถ่ายภาพ หากต้องแก้ไขก็จะทำได้ง่ายกว่ามาก

5. Use a light catching backdrop การใช้แบ็คดรอปหรือฉากหลังช่วยสะท้อนแสง

DCIM105GOPROGOPR5776.

ฉากหลังสีขาวในภาพ นอกจากจะทำหน้าที่เหมือนจุดรวมแสงแล้ว ยังช่วยสะท้อนแสงเข้าด้านหลังรอบๆวัตถุ ช่วยเปิดเงาและทำให้มองเห็นราย ละเอียดได้ชัดเจน  ฉากหลังที่ทำด้วยผ้าขาวกับโครงสร้างง่ายๆจากของใช้ในบ้าน บวกกับแสงจากหน้าต่างบานใหญ่ ช่วยเนรมิตภาพถ่ายสวยๆได้ไม่ยาก

 

6. Use a light box การใช้ light box ช่วยถ่ายภาพ

ไม่ว่าจะเป็นการใช้ light box หรือจัดฉากผ้าขาวให้มีลักษณะเดียวกัน การใช้วิธีการนี้จะให้ผลภาพเช่นเดียวกันกับการใช้แบ็คดรอป แต่ light box จะสามารถควบคุมสภาพแสงและทิศทางของแสงได้ละเอียดมากกว่า

 

7. Use a reflector ใช้แผ่นสะท้อนแสง

 

แผ่นสะท้อนแสงใช้ช่วยสะท้อนแสงเข้าไปที่วัตถุหลักของภาพ ใช้ประโยชน์ในการช่วยลบเงาที่เกิดขึ้นกับวัตถุ เช่นภาพตัวอย่างนี้ตัวแบบถือแผ่นสะท้อนแสงหันเข้าใบหน้าของตัวเอง เพื่อช่วยเปิดเงาหรือลบเงาที่เกิดขึ้นบนใบหน้าให้ลดลง ภาพดูสว่างขึ้น และสวยงามมากกว่าเดิม

 

8. Use a mirror การถ่ายภาพสะท้อนในกระจก

 

กระจกเป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่สามารถสะท้อนแสงและนำมาใช้กับการถ่ายภาพ indoor ได้ ภาพตัวอย่างนี้ถ่ายโดยการให้นางแบบมองเงาของตัวเองในกระจก และถ่ายภาพโดยเล็งกล้องหันเข้าไปถ่ายภาพในกระจก มีข้อควรระวังคืออย่าให้เงาสะท้อนของช่างภาพหรือวัคถุอื่นๆที่ไม่ต้องการหลุดเข้าไปอยู่ในเฟรมภาพ และแนะนำให้ใช้กระจกขนาดใหญ่จะช่วยให้การครอปภาพหรือตัดส่วนอื่นๆออกทำได้ง่ายกว่าการใช้กระจกชิ้นเล็กเพราะมีพื้นที่ในการวางองค์ประกอบที่มากกว่า

 

9. Tidy up บางครั้งอาจจะต้องจัดฉากบ้าง
   แทบทุกบ้านจะต้องมีข้าวของที่วางอย่างไม่เป็นระเบียบ กระจัดกระจาย โดยเฉพาะหากบ้านที่มีเด็กก็จะยิ่งดูรกตามากเป็นพิเศษ สิ่งของที่กระจัดกระจายตามพื้น ผนัง หรือส่วนต่างๆของบ้าน จะกลายเป็นฉากหลังที่รบกวนสายตา และลดความโดดเด่นของแบบลงไปได้มาก จึงจำเป็นต้องอาศัยการจัดฉากเพื่อช่วยให้ภาพถ่ายออกมาดูสวยงาม
     พื้นที่ขนาดเล็กของห้องภายในบ้าน เราสามารถจัดการให้ดูเรียบร้อยได้ไม่ยาก นอกจากจะทำให้ฉากหลังไม่รบกวนสายตาแล้วยังสามารถเลือกตำแหน่งการถ่ายภาพที่มีแสงสวยๆได้อีกด้วย ภาพตัวอย่างนี้ผู้เขียนจัดการกับโซฟาและโต๊ะให้ออกห่างจากหน้าต่างที่เป็นแหล่งกำเนิดแสง และจัดการใช้แบ็คดรอปตามวิธีที่ 5 เข้ามาช่วยครับ

 

10. Place your subject close to the window จัดวางวัตถุหลักใกล้กับหน้าต่าง/แหล่งกำเนิดแสง
วางวัตถุหลักที่ต้องการถ่ายหรือตัวแบบให้ห่างจากแสงหลักหรือหน้าต่างประมาณหนึ่งถึงสองฟุต จะเป็นระยะที่ดีที่สุดสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเงาแข็งบนวัตถุ และลองจัดตัวแบบให้ได้รับแสงในลักษณะต่างๆเช่น แสงหลัง, แสงจากด้านข้าง หรือหันหน้าเข้าหน้าต่างโดยตรง

11. Use the curtains ใช้ผ้าม่านช่วย
ผ้าม่านสามารถใช้เป็นเสมือนแผ่นกระจายแสงหรือ diffuser โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่แสงส่องผ่านเข้ามาตรงๆ การปิดผ้าม่านจะช่วยลดแสงและยังช่วยกระจายแสงให้นุ่มขึ้น ลดการเกิดเงาแข็งในภาพได้

12. Shoot reflective objects ถ่ายภาพการสะท้อนของแสง
ถ่ายภาพของการสะท้อนแสงในวัตถุต่างๆ ทำได้หลายวิธี เช่น แสงที่สะท้อนกับแก้ว แสงสะท้อนกับหยดน้ำ หรือหากใช้เลนส์มาโครก็จะได้ภาพที่น่าสนใจในมุมที่แตกต่างได้ไม่ยาก

ยังมีเวลากับการหยุดอยู่บ้านอีกนาน มีเวลาว่างลองได้เลยครับ

ที่มา  :  digital-photography-school.com