การพูดคุยหาข้อมูลเกี่ยวกับกล้อง เพื่อหาข้อสรุปว่ากล้องรุ่นไหน แบรนด์ใดเป็นกล้องที่ดีที่สุด ดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นและหาคำตอบได้จากการสอบถามจากช่างภาพ หรือการหาข้อมูลทางออนไลน์ แต่กล้องรุ่นที่ดีที่สุดที่ได้คำตอบนั้น ให้ภาพที่ดีที่สุดจริงหรือไม่เมื่อนำภาพไปพิมพ์ลงกระดาษจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เป็นทั้งช่างภาพและ fine art printmaker บอกได้เลยว่าแบรนด์ไม่ใช่ทั้งหมดของคำว่าคุณภาพที่แท้จริง นั่นไม่ได้หมายความว่าแต่ละแบรนด์ไม่มีความแตกต่างกัน การเลือกเลนส์, ความยากง่ายของการใช้งาน และทุกๆองค์ประกอบล้วนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแบรนด์ แต่คำตอบอยู่ที่เมื่อได้นำใช้งานแบบจริงจัง เช่น การถ่ายภาพแบบ high ISO หรือใช้งานตามความถนัดของแต่ละคน นั่นจึงจะเป็นคำตอบของการพิสูจน์ได้ว่าแบรนด์ไหนสามารถตอบสนองการใช้งานตามความต้องการได้ดีที่สุด
แต่เมื่อนำภาพจากกล้องความละเอียด 24 ล้านพิกเซล ที่ช่างภาพใช้งานอยู่เป็นประจำไปพิมพ์ลงบนกระดาษ กลับไม่ได้ตอบโจทย์คำว่าคุณภาพดีออกมาได้เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเพราะช่างภาพแต่ละคนต่างก็ค้นหาคำตอบเพื่อให้ได้กล้องที่ดีที่สุด จากนั้นจึงตัดสินใจซื้อมาใช้งาน
ปัญหานี้ไม่เกิดกับกล้องฟิล์ม เพราะฟิล์มแต่ละแบรนด์ เมื่อนำมาพิมพ์จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป สามารถแยกได้ชัดเจน แต่กับ “เซ็นเซอร์” ของกล้องดิจิตอลหากถ่ายภาพในมุมเดียวกัน ที่ iso เดียวกัน เมื่อพิมพ์เป็นภาพจะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ชัดเจน ซึ่งการได้มาของภาพที่มีคุณภาพดีและสามารถแยกความแตกต่างของแต่ละแบรนด์ออกจากกันได้เกิดจากปัจจัยหลัก 5 ประการ
คุณภาพของเลนส์มีผลต่อคุณภาพของภาพมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ในการดูภาพพิมพ์ที่ถ่ายด้วยเลนส์คุณภาพสูง กับเลนส์เกรดทั่วๆไปหรือเลนส์ซูม ในเรื่อง ความคมชัด และ การถ่ายทอดสีสันสมจริงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งเลนส์ซูมไม่สามารถทำได้ดีเท่าเลนส์ prime เกรดสูง
เลนส์ prime เกรดทั่วๆไปส่วนใหญ่ และเลนส์ซูมจะให้ความคมชัดที่ดีในส่วนกลางภาพ และจะลดลงในบริเวณขอบภาพ แต่เลนส์คุณภาพสูงจะถูกออกแบบมาให้ถ่ายทอดความคมชัดทั่วทั้งภาพตั้งแต่กลางภาพถึงขอบภาพ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนจากการดู MTF ของเลนส์แต่ละรุ่น ซึ่งเลนส์ประเภทนี้แม้จะมีราคาแพง แต่ก็สามารถดึงประสิทธิภาพแต่ละพิกเซลของเซ็นเซอร์กล้องออกมาได้เต็มที่ หากต้องการคุณภาพที่”สุด”จริงๆแนะนำให้หา prime เลนส์คุณภาพสูงติดกระเป๋าไว้
กับกล้องฟิล์มไม่มีปัญหาในเรื่องบอดี้กล้องต่างระดับ ต่างราคา เพราะต่างคนต่างเลือกใช้ฟิล์ม (ที่เปรียบได้กับเซ็นเซอร์ในกล้องดิจิตอล) แต่กับกล้องดิจิตอลยิ่งเลือกใช้กล้องรุ่นที่มีราคาสูง หรือรุ่นใหม่กว่า หมายถึงการได้มาซึ่งเซ็นเซอร์ที่คุณภาพสูงขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น และให้คุณภาพของไฟล์ภาพที่ดีกว่ากล้องราคาถูกๆหรือตกรุ่นไปนานแล้ว
แม้แต่กับกล้องดิจิตอลระดับโปรก็เช่นเดียวกัน ถึงจะเป็นกบ้องโปรรุ่นเมื่อสิบปีก่อนก็ตาม คุณภาพของเซ็นเซอร์ก็ยังด้อยกว่ารุ่นใหม่ๆ การเลือกใช้กล้องโปรรุ่นใหม่ หรือรุ่นที่ออกมาไม่เกิน 4-5 ปี ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีของการได้มาซึ่งคุณภาพของภาพ แม้จะต้องจ่ายแพงขึ้นกว่าก็ตาม
การแต่งภาพสามารถทำให้ภาพมีคุณภาพที่ดีขึ้นหรือดูด้อยลงกว่าเดิมได้ แม้แต่ภาพที่ถ่ายด้วยกล้องระดับโปร และเลนส์เกรดสูงราคาแพงก็ตาม โดยปรกติการแต่งภาพจะให้ความสำคัญกับ highlights, shadows และ contrast ของภาพ ในขณะที่การปรับแต่งค่า HDR ที่มากเกินไป ใน Lightroom หรือโปรแกรมอื่นๆจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่า highlights และ shadows ของภาพถ่าย การแต่งภาพที่ถูกต้องและดีจะทำให้คุณภาพของภาพดีขึ้นกว่าภาพทั่วๆไปอย่างชัดเจน
โดยรวมภาพที่ดีหมายถึงภาพที่ได้รับการเปิดรับแสงที่พอดี โฟกัสวัตถุได้ชัด ไม่มีการเบลอจากการสั่นของกล้อง หรือใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำเกินไป มีระยะชัดลึกที่พอดี ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพของภาพได้ทั้งสิ้น
ความสำคัญของเครื่องมือหรือกล้องถ่ายภาพ ไม่ได้อยู่ที่ใช้กล้อง(แบรนด์)อะไร แต่อยู่ที่ คุณใช้มัน “อย่างไร” กล้องถ่ายภาพระดับโปรไม่ได้มีความสำคัญมากไปกว่า vision ของช่างภาพที่ใช้กล้องเป็นเพียงเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้ออกมาเป็นภาพ เลนส์ราคาแพงไม่ได้ช่วยทำให้ภาพที่น่าเบื่อดูดีขึ้นมาได้ การเรียนรู้ที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการสื่อความหมายด้วยภาพถ่ายยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการถ่ายภาพ ช่างภาพที่ประสบความสำเร็จจึงมาจากการเรียนรู้ที่จะนำเอา vision มาทำงานร่วมกับเครื่องมือ และถ่ายทอดออกมาเป็นภาพถ่ายที่สามารถสะกดทุกสายตาที่พบเห็นได้นั่นเอง
การถ่ายภาพคือการรวมเอาปัจจัยที่กล่าวมาเข้าด้วยกัน หากคุณมีกล้องถ่ายภาพอยู่แล้ว ลองหาเลนส์คุณภาพสูงซัก 1-2 ตัวมาไว้ใช้งาน ฝึกแต่งภาพให้ชำนาญเพราะการแต่งภาพที่ถูกต้องจะช่วยให้ภาพดูดีได้มากขึ้น เพื่อขยับผลงานของตัวเองขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้นพร้อมๆกับการเพิ่ม vision ให้กับตนเองไปด้วย
ผู้เขียน : Rich Seiling เป็นทั้ง master printmaker, ช่างภาพ และอาจารย์ ที่มีผลงานพิมพ์ภาพถ่ายหลายพันภาพให้กับพิพิธภัณฑ์และแกลอรี่ หลายแห่ง
อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^
หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์และแชร์ด้วยนะครับ
FOTOINFO มี LINE@ OFFICIAL แล้ว !!! อย่าลืมแอดไลน์ @FOTOINFO (หรือสแกน QR Code ในภาพนี้)
ขอบคุณครับ
ติดตาม FOTOINFO ได้ทั้งรูปแบบนิตยสาร Free Copy, e-magazine ฟรีดาวน์โหลด และช่องทางอื่นๆออนไลน์ได้ที่
Line@ : @fotoinfo
YouTube : Fotoinfo Channel
Website : fotoinfomag.com
e-magazine : issuu.com/fotoinfomagazine
ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus
หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่
https://test2.fotoinfo.online/all-about-photo/basic