BASIC

SHUTTER SPEED CHEAT การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพแต่ละประเภท

SHUTTER SPEED CHEAT การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพแต่ละประเภท  สิ่งสำคัญพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพ คือการทำความรู้จักและเข้าใจความสัมพันธ์ของทั้ง ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และค่าความไวแสง

ดังภาพตารางสรุปความสัมพันธ์และหลักการใช้ความเร็วชัตเตอร์ ที่ดูเข้าใจง่ายเหมาะสำหรับการนำไปใช้งานกับการถ่ายภาพได้ทุกประเภทสามารถจำและนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง

 

 

 

       ความสัมพันธ์ของความเร็วชัตเตอร์กับรูรับแสง เมื่อเปลี่ยนค่าความเร็วชัตเตอร์จะมีผลให้ค่ารูรับแสงเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ยิ่งใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงถ่ายภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ได้จะหยุดนิ่ง แต่แสงก็จะผ่านเข้าไปที่เซ็นเซอร์ได้น้อย หากเปลี่ยนมาใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แสงก็จะผ่านเข้าไปได้มากกว่า การเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์จึงควรเลือกให้เหมาะกับการถ่ายภาพแต่ละประเภท ตัวอย่าง เช่น

 

ถ่ายภาพนกบิน
     เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อจับภาพนกให้หยุดนิ่ง และมีความคมชัด เลือกใช้ที่ 1/2000 วินาที อย่างไรก็ตาม สามารถลดความเร็วชัตเตอร์ลงมาที่ 1/400 วินาที เพื่อให้มีระยะชัดลึกที่ตัวนก และปล่อยให้ส่วนปีกหรือส่วนอื่นๆเบลอ ก็ได้เช่นกัน
ถ่ายภาพกีฬา แอคชั่น
     เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/500, 1/1000 วินาที สำหรับถ่ายกีฬาฟุตบอล เพื่อจับภาพนักกีฬาที่กำลังวิ่งให้หยุดนิ่งและได้ภาพที่คมชัดทั่วทั้งภาพ

 

ถ่ายภาพ Street Photography
     การถ่ายภาพ Street จะมีวัตถุหลายอย่างรวมทั้งพาหนะต่างๆที่เคลื่อนไหวรอบๆตัว เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/250 – 1/500 วินาที เพื่อหลีกเลี่ยงการได้ภาพที่ไม่คมชัด
ถ่ายภาพ Landscapes
     เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้หลากหลายค่าตั้งแต่ 1/125 วินาที – ¼ วินาที ขึ้นอยู่กับเทคนิควิธี และความต้องการ อย่าลืมว่าถ้าใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วย

 

 

ถ่ายภาพแบบ Panning
     หรือการแพนกล้อง หากถ่ายแพนตามรถยนต์ ให้เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/15 – 1/60 วินาที แล้วแพนกล้องตาม จะทำให้ภาพรถยนต์ชัดแต่พื้นหลังเบลอให้ความรู้สึกเหมือนภาพเคลื่อนไหว
ถ่ายภาพน้ำตก
      การจับภาพสายน้ำที่ตกลงมาอย่างรุนแรงและเร็วให้ดูนุ่ม พริ้วไหว เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/8 – 2 วินาที อย่าลืมใช้งานร่วมกับขาตั้งกล้อง
ถ่ายภาพสายน้ำเบลอ Blurring Water 
     ถ่ายภาพคลื่น หรือน้ำไหล ให้ดูเบลอ นุ่ม เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ 0.5-5 วินาที

 

ถ่ายภาพพลุ ดอกไม้ไฟ
     การถ่ายภาพประเภทนี้เป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยความชำนาญ อาจเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ 2-8 วินาที หรือใช้เทคนิคได้หลากหลายตามความชำนาญของแต่ละคน

 

ถ่ายภาพดาว
     หากใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเกินไปจะทำให้ภาพดาวดูเป็นจุดเล็กๆ ไม่สว่าง หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำไป (ต่ำกว่า 30 วินาที) ดาวก็จะเคลื่อนที่เป็นเส้น แนะนำให้ใช้ที่ระหว่าง 15–25 วินาที บนขาตั้งกล้อง
ถ่ายภาพ Star Trails
     หรือถ่ายภาพการเคลื่อนที่ของดวงดาวให้ออกมาเป็นเส้นแสง สามารถทำได้โดยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำหรือเปิดหน้ากล้องนาน 15 นาที (หรือนานกว่า) หรืออาจใช้วิธีที่นิยมกันคือถ่ายภาพ 100 ภาพขึ้นไป ที่ความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที แล้วนำมารวมกันเป็นภาพเดียวที่สมบูรณ์ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ในภายหลัง

 

ที่มา  :  digital-photography-school.com