ปัจจุบันในโลกยุคดิจิตอล ช่างภาพมีทางเลือกที่จะกดชั ตเตอร์เพื่อถ่ายภาพกี่ครั้งก็ ได้ ภาพไม่สวยหรือไม่พอใจก็ลบ ถ่ายใหม่ได้ไม่จำกัด แต่ทุกสิ่งล้วนมีสองมุมมองเสมอ
ในมุมของข้อดีคือ ถ่ายภาพได้บ่อยและมากตามใจต้ องการ เรียนรู้ได้จากภาพถ่ายได้เร็ว ง่าย และไม่ต้องลงทุนมาก แต่ในอีกมุมตรงข้าม เพราะเราสามารถกดชัตเตอร์ได้ไม่ จำกัด ช่างภาพหลายคนจึงไม่ใส่ใจเรื่ องความคิด เรื่องการจัดองค์ประกอบ เพียงแค่กดชัตเตอร์ถ่ายภาพให้ มากที่สุด แล้วมาเลือกภาพที่ถูกใจทีหลัง
ผู้เขียนบทความนี้อยากเรียกร้ องให้ช่างภาพหลายๆคนหยุดพฤติ กรรมนี้ และหันมาจริงจังกับการถ่ ายภาพให้มากขึ้น ใช้ความคิด การสื่อความหมาย การจัดองค์ประกอบ ก่อนกดชัตเตอร์ เพื่อให้ภาพถ่ายนั้นถูกถ่ ายทอดออกมาจากมุมมองของความเป็ นช่างภาพ
1. หัดมองแสง สิ่งสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพ
หัดสังเกตุ แสงและเงา แสงที่ส่องสว่างอยู่รอบๆตัว แสงแข็งหรือแสงนุ่ม ส่งผลต่อวัตถุต่างกันอย่างไร ยิ่งเรียนรู้และทำความเข้ าใจเรื่องแสงมากเท่าใดจะช่วยให้ ช่างภาพใช้ประโยชน์จากแสงลั กษณะต่างๆได้ดีมากขึ้นตามไปด้วย
หัดสังเกตุแสงที่ตกกระทบต่อสิ่งต่างๆรอบตัว (ถ่ายภาพ : Valérie Jardin)
ยิ่งสังเกตุและทำความเข้าใจกับแสง ภาพธรรมดาก็กลายเป็นภาพที่น่ าสนใจได้ (ถ่ายภาพ : aiamkay)
2. มองด้วยหลักการจัดองค์ประกอบภาพ
พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพมี อยู่หลายวิธี ให้ฝึกมองโดยอิงหลักการจัดองค์ ประกอบภาพที่นิยมใช้ เช่น
(ถ่ายภาพ : melkhagelslag)
- เลือกจุดโฟกัส และระยะชัดลึก
การใช้วิธีโฟกัสภาพวัตถุให้ชั ดและปล่อยให้ส่วนอื่นเบลอ หรือควบคุมระยะความชัดไว้ที่จุ ดเด่นของภาพจะดึงดูดสายตาคนดู ได้มากกว่
- ใช้เส้นนำสายตา
เป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้ นำสายตาคนดูไปสู่สิ่งสนใจหรือวั ตถุหลักในภาพได้ง่ายๆแต่ให้ผลลั พธ์สูง
(ถ่ายภาพ : Valérie Jardin)
- ใช้กฎสามส่วน
หรืออาจจะได้ยินในชื่อจุดตัดเก้ าช่อง เป็นหลักการที่นิยมนำมาใช้มากที่ สุดอีกวิธีหนึ่ง และให้ลองแหวกกฎบ้างในบางครั้ งเพื่อภาพที่มีมุมมองต่างจากเดิ มๆ
การจัดวางภาพแบบกฎสามส่วน (ถ่ายภาพ : Suriyo Tataisong)
การวางจุดสนใจไว้กลางภาพ ฉีกกฎสามส่วน แต่ก็ให้ภาพที่ดีได้เช่นกัน (ถ่ายภาพ : adrianlang)
- ใช้สี
หลักการเดียวกับการเลือกโฟกั สในข้อแรก เป็นวิธีที่ดีอีกหนึ่งวิธี เพราะการใช้สีที่ดีสามารถช่ วยนำสายตาคนดูได้ หรือแม้แต่การเปลี่ยนภาพสีเป็ นภาพขาวดำช่วยเปลี่ยนสีที่ รบกวนสายตา ทำให้ได้ภาพถ่ายที่ดีขึ้นได้เช่ นกัน
(ถ่ายภาพ : dariqpry)
- การเว้นพื้นที่ว่าง
การใช้พื้นที่ว่างในภาพให้เป็ นประโยชน์ในหลายๆสถานการณ์ช่ วยให้ภาพถ่ายมีความน่าสนใจขึ้ นได้
(ถ่ายภาพ : Valérie Jardin)
- การใช้รูปแบบซ้ำๆกัน
การใช้รูปแบบที่ซ้ำๆกัน ช่วยขับความเด่นหรือเน้นจุดเด่ นของภาพให้เกิดขึ้นได้ และหัดลองแหวกกฎนี้เพื่อมุ มมองภาพที่แตกต่าง
(ถ่ายภาพ : Valérie Jardin)
3. มองส่วนประกอบน้อยแต่ให้ผลมาก
หรือการตัดส่วนที่ไม่จำเป็ นออกไปจากเฟรมภาพ หรืออาจจะรวมถึงใช้ความเรียบง่ ายในภาพถ่าย หัดครอปภาพจากกล้องเพื่อตัดสิ่ งไม่จำเป็นออกไป จะทำให้การสื่ อความหมายของภาพทำได้ชัดเจนขึ้ นและภาพมีความน่าสนใจมากขึ้นด้ วย
ครอปภาพ ตัดสิ่งไม่จำเป็นออกจากเฟรมภาพ (ถ่ายภาพ : Valérie Jardin)
4. มองแบบขยับเข้าใกล้มากขึ้น
ภาพธรรมดาๆ หากขยับเข้าใกล้มากขึ้นอาจจะดู เป็นภาพที่น่าสนใจขึ้นมาได้ ลองขยับเข้าใกล้วัตถุมากขึ้นกว่ าเดิม ให้ระยะของเลนส์กับวัตถุขยั บใกล้กันมากกว่าที่คุ้นเคย หากใกล้แล้ว ลองขยับใกล้อีกและขยับเพื่อเปลี่ ยนมุมอื่นบ้าง
ขยับเข้าใกล้ให้ฉากหลังเบลอมากขึ้น ลดการรบกวนสายตาของฉากหลังที่รกลงได้ (ถ่ายภาพ : somsak tassanaset)
5. มองมุมอื่นที่แตกต่างกัน
ลองถ่ายภาพจากมุมมองที่แตกต่ างกันในภาพเดียวกัน เช่น มุมสูงมุมต่ำ หรือเอียงกล้อง อาจจะได้มุมอื่นๆที่น่ าสนใจมากกว่าการมองในระดั บสายตาปรกติ
(ถ่ายภาพ : somsak tassanaset)
6. มองฉากหลังของภาพ
ให้เวลากับการสังเกตุฉากหลั งของภาพให้มากขึ้น หลายๆครั้งการขยับไปทางซ้ายหรื อขวาของภาพ ช่วยให้ฉากหลังเปลี่ ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรืออาจจะขยับเข้าใกล้หรือเดิ นถอยห่างจากวัตถุ เพื่อเลี่ยงฉากหลังที่ รบกวนสายตา
(ถ่ายภาพ : Suriyo Tataisong)
หวังว่าในครั้งต่อไปที่คุณหยิ บกล้องออกไปถ่ายภาพ คุณจะให้ความสำคัญกับความคิด สิ่งที่ต้องการจะสื่อหรือเรื่ องราวของภาพ ผ่านการจัดองค์ประกอบและวิธี มองแบบช่างภาพ และทำแบบเดียวกันนี้ให้ชิน สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่ งของการถ่ายภาพในทุกๆครั้ง ช่วยให้คุณมีมุมมองแบบช่างภาพติ ดตัว และจะช่วยพัฒนาฝีมือการถ่ ายภาพของคุณให้ดีขึ้นได้
แปลจาก : Start To See Photographically In Six Easy Steps
ผู้เขียน : Valerie Jardin
ที่มา : dps