Basic

Getting the best of “JPEG”

เมื่อจำนวนพิกเซลในกล้อง DSLR ถูกเพิ่มมากขึ้นในกล้องรุ่นใหม่แต่ละรุ่นที่ออกมา นักถ่ายภาพจึงกลายเป็นผู้สร้างไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้นักถ่ายภาพทำงานช้าลงรวมทั้งยังต้องคิดถึงเรื่องการเก็บภาพที่มีขนาดใหญ่จำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลภาพดิจิตอลจะสามารถลดลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ในไฟล์ฟอร์แมตที่มีการ Compression หรือบีบอัดไฟล์อย่าง JPEG การบีบอัดไฟล์ไม่ใช่สิ่งที่นักถ่ายภาพต้องกลัว และจริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ตราบเท่าที่นักถ่ายภาพสามารถควบคุมสิ่งนี้อย่างระมัดระวังทั้งในขณะที่กำลังบันทึกภาพ ปรับแต่งภาพ และควบคุมภาพที่ออกมาสุดท้ายได้

 

 

การบีบอัดไฟล์คืออะไร

แม้การบีบอัดไฟล์ JPEG ลดรายละเอียดของภาพและทำให้การปรับภาพภายหลังแทบเป็นไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็การบีบอัดไฟล์ JPEG ปกติจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพิกเซลในไฟล์ภาพ เนื่องจากมีเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสีในแต่ละพิกเซลเท่านั้นที่ถูกลด ไม่ใช่ขนาดพิกเซล ขนาดของพิกเซลในภาพจึงยังคงเหมือนเดิมและสามารถปรับตั้งในกล้องเพื่อให้ภาพมีความละเอียด 300 พิกเซล/นิ้ว (ppi) หรือปรับความละเอียดของภาพภายหลังด้วยซอฟต์แวร์ให้มีความละเอียด 240 ppi หรือ 72 ppi ก็ได้ ดังนั้นหากนักถ่ายภาพใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงอย่าง Nikon D810 เพื่อถ่ายภาพขนาด 7,360 x 4,912 พิกเซล ภาพก็จะยังคงมีขนาดนี้ไม่ว่าจะถ่ายภาพแบบ JPEG หรือ RAW และยังคงสามารถปรินต์ภาพขนาดใหญ่สุดได้เท่ากัน

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-jpeg-%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%95%e0%b9%88

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-jpeg-%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%95%e0%b9%88

ภาพ JPEG บีบอัดไฟล์คุณภาพต่ำ

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-jpeg-%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%aa%e0%b8%b9

%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e-jpeg-%e0%b8%9a%e0%b8%b5%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b8%a5%e0%b9%8c%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%aa%e0%b8%b9

ภาพ JPEG บีบอัดไฟล์คุณภาพสูง

การบีบอัดไฟล์ JPEG ถูกพัฒนาขึ้นโดย Joint Photographic Expert Group ซึ่งใช้การทำงานที่ฉลาดกว่าเพื่อลดความจำเป็นในการใช้โค๊ดจำนวนมากเพื่อสร้างพิกเซลสี โดยการใช้พื้นที่ในภาพเป็นบล็อก 8×8 ซึ่งจะมีการกำหนดโค๊ตใหม่ซึ่งใช้ข้อมูลที่น้อยกว่า การบีบไฟล์ JPEG สามารถทำให้ขนาดของไฟล์ลดลงมากอย่างน่าอัศจรรย์ได้หรืออาจลดขนาดลงแทบไม่ถึงครึ่งหนึ่งของไฟล์แบบอื่น ซึ่งกุญแจสำคัญของสิ่งนี้คือนักถ่ายภาพจะสามารถบีบไฟล์ได้ขนาดไหนก่อนที่จะเริ่มสูญเสียคุณภาพของภาพ


กับการถ่ายภาพ

pexels-photo-121557

การลดลงของข้อมูลดิจิตอลในไฟล์ JPEG ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง ซึ่งไม่เพียงสามารถอัพโหลดข้อมูลได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่การถ่ายภาพแบบ JPEG ยังทำให้นักถ่ายภาพสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นชุดได้นานขึ้นเนื่องจากบัฟเฟอร์ในกล้องจะไม่เต็มเร็วเหมือนกับที่ถ่ายภาพแบบ RAW ซึ่งในการถ่ายภาพจริงๆ แล้วนี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วด้วยกล้อง DSLR  ตัวอย่างเช่น Nikon D750 บัฟเฟอร์ของกล้องจะรองรับภาพ JPEG Fine Quality ได้ 85 ภาพขณะที่รองรับได้จำนวน 15 ภาพแบบ RAW 14-bit

ไฟล์ JPEG แตกต่างจากไฟล์ฟอร์แมตอื่นตรงที่มีขนาดของข้อมูลแตกต่างกันไปตามรูปแบบของภาพที่ถ่าย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววัตถุที่มีสีสันมาก ถูกโฟกัสอย่างคมชัดทั้งที่ขอบและรายละเอียดจะต้องการข้อมูลมากกว่าภาพที่ซอฟต์กว่าและมีสีสันน้อยกว่า โดยภาพแรกอาจมีขนาดไฟล์ 5 MB ขณะที่ภาพหลังขนาดไฟล์อาจเหลือเพียงแค่ 1 MB และถึงแม้จะลดขนาดข้อมูลลงได้อย่างมาก แต่การเลือกตั้ง JPEG แบบคุณภาพสูงก็ยังเป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ เนื่องจากจะสามารถแก้ไขจุดด้อยต่างๆ ได้มากกว่า

หากถ่ายภาพแบบ RAW ขนาด 100 MB ด้วยกล้อง DSLR ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะถ่ายภาพเดียวกันนั้นแบบ JPEG ที่มีขนาดไฟล์ 20 MB โดยที่ไฟล์ JPEG ยังบรรจุข้อมูล Metadata และโปรไฟล์สีที่เลือกไว้เช่นเดียวกับไฟล์ RAW ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกังวลกับสิ่งนี้


Create JPEG by Editing software

นักถ่ายภาพสามารถเปลี่ยนภาพฟอร์แมตต่างๆ เป็นไฟล์ JPEG ได้ด้วยซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ ซึ่งแตกต่างจากการตั้งค่าในกล้องขณะถ่ายภาพตรงที่นักถ่ายภาพสามารถดูผลจากการบีบอัดไฟล์ได้ก่อนที่จะเซฟภาพ

ผู้ใช้ Lightroom สามารถสร้างไฟล์ JPEG ได้ด้วยการเลือก File แล้วใช้คำสั่ง Export และเลือกระดับคุณภาพของภาพที่มีให้เลือกตั้งแต่ 0-100%

export-from-lightroom

สำหรับ Photoshop CC มี 3 วิธีให้เลือกใช้คือ เริ่มจากเข้าไปที่ File ใช้คำสั่ง Save As หรือ File ใช้การทำงาน Export As ซึ่งจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกเพื่อเปลี่ยนขนาดภาพและลบข้อมูล Metadata จากภาพ ส่วนวิธีสุดท้ายคือเข้าไปที่ File เลือก Export และ Save forWeb (legacy) ซึ่งจะมีชุดเครื่องมือเพื่อปรับตั้งสำหรับการเปลี่ยนไฟล์เป็น JPEG โดยสามารถพรีวิวดูภาพได้ 2 หรือ 4 หน้าต่างซึ่งทำให้สามารถเปรียบเทียบคุณภาพของภาพจากการปรับตั้งที่ต่างกันได้ ซึ่งขนาดของภาพจะแสดงโดยยึดจากแต่ละภาพกับเวลาโดยประมาณของภาพที่ถูกดาวน์โหลดบนช่วงแบรนด์วิดท์ที่แตกต่างกัน

การใช้วิธี Save for Web จะช่วยให้นักถ่ายภาพสามารถควบคุมให้ยังคงข้อมูล Metadata ไว้ได้ไม่เหมือน Export As ที่ลบข้อมูลการถ่ายภาพออกเกือบหมดยกเว้นรายละเอียดด้านลิขสิทธิ์และคอนแท็กของผู้ถ่ายภาพ

ทั้ง 2 วิธีสร้างไฟล์ JPEG นี้นักถ่ายภาพสามารถเปลี่ยนโหมดสีของไฟล์เป็น sRGB ได้หากเป็นภาพที่จะนำไปใช้สำหรับเวบไซต์ แต่หากต้องการเปลี่ยนโหมดสีของไฟล์สำหรับการปรินต์จะต้องเข้าไปที่ขั้นตอน Edit > Convert to Profile ก่อนที่จะทำการ Export As หรือ Save As

export-preferent

save-for-web


สิ่งที่ไม่ต้องการ

ไฟล์ JPEG คุณภาพตํ่ามักจะเป็นผลมาจากขั้นตอนหลังถ่ายภาพที่ไม่ระมัดระวัง โดยความเสียหายมากที่สุดในไฟล์มาจากการเซฟภาพตํ่าเป็น JPEG คุณภาพตํ่า ซึ่งทำให้ปรากฏเป็นเหมือนตารางสี่เหลี่ยมหรือบล็อกในภาพเมื่อขยายภาพขึ้นมาซึ่งกำจัดออกไปภายหลังได้ยาก โดยความเสียหายนี้จะทำให้สิ่งที่เคยเป็นรายละเอียดของภาพปรากฏเป็นรูปแบบบล็อกสี่เหลี่ยมอย่างชัดเจน นอกจากนี้ไฟล์ JPEG คุณภาพ Low และ Medium ยังทำให้ภาพขาดรายละเอียดและสีสันขาดความน่าสนใจ


การปรับตั้งที่กล้อง

7142522996

ในกล้อง DSLR โดยปกติมักจะมี 3 ระดับคุณภาพของภาพให้ปรับเช่น Low, Medium และ High (หรือ Basic, Normal และ Fine) หรืออาจมากกว่านี้ ซึ่งเป็นทางเลือกมาให้สำหรับนักถ่ายภาพที่ต้องการบันทึกภาพจำนวนมากลงในการ์ดบันทึกภาพที่มีอย่างจำกัด โดยการปรับตั้งเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับการบีบอัดไฟล์ JPEG มากกว่าขนาดภาพที่อาจใช้คำว่า Large, Medium และ Small ซึ่งอาจจสร้างความสับสนให้แก่นักถ่ายภาพได้ โดยการเลือกบันทึกภาพ JPEG ด้วยการปรับตั้งคุณภาพแบบ Low หรือ Basic จะช่วยลดการบันทึกข้อมูลของภาพได้อย่างมาก แต่จะเป็นระดับคุณภาพของภาพตํ่าที่สุด

นอกจากการบีบอัดไฟล์เพื่อลดการบันทึกข้อมูลแล้ว กล้อง DSLR หลายรุ่นยังมีอีก 2 ทางเลือกหรือมากกว่านี้ในการบีบอัดไฟล์ อย่าง Size Priority JPEG ของ Nikon ซึ่งจะสร้างไฟล์ขนาดข้อมูลรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุ หรือ Optimal Qulity JPEG ซึ่งจะตอบสนองต่อลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละภาพโดยที่ยังคงคุณภาพสูงสุดของภาพไว้ แต่จะมีการบันทึกข้อมูลน้อยลง


คำแนะนำเมื่อถ่ายภาพ

เมื่อเทียบกับไฟล์ภาพแบบ RAW  ไฟล์ JPEG จะบันทึกภาพแบบ 8 bit ต่อ Channel สีแทนแบบ 12 หรือ 14 bit ที่ใช้ในไฟล์ RAW ดังนั้นไฟล์ JPEG จึงไม่มีพื้นที่ให้สำหรับความผิดพลาดเล็กๆ น้อยในการถ่ายภาพไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดในเรื่องค่าแสงหรือไวต์บาลานช์ ทำให้นักถ่ายภาพจึงควรให้ความสำคัญเมื่อวัดแสงเพื่อถ่ายภาพ และมีความระมัดระวังพื้นที่ของเงาที่เข้มในภาพ เนื่องจากจะสามารถปรับแก้ไขส่วนของเงาที่ดำในไฟล์ JPEG ได้ยาก ซึ่งคำแนะนำในปัญหานี้ก็คือ หากนักถ่ายภาพต้องพบกับวัตถุที่มีคอนทราสต์สูง หรือภาพที่มีความแตกต่างในเรื่องแสงมาก ควรจะถ่ายค่อมไว้อีก 2 ค่าบันทึกภาพคือ +0.3 และ +0.6 ไม่ว่าจะด้วยการปรับตั้งค่าบันทึกภาพ ชดเชยแสง หรือใช้การทำงานถ่ายคร่อมอัตโนมัติในภาพ


ปรับตั้ง DRO

_mg_3011

DRO เป็นอีกทางเลือกในการปรับตั้งที่กล้องเพื่อขยายไดนามิกเรนจ์ให้มากขึ้น ซึ่งการทำงานนี้จะทำให้นักถ่ายภาพดึงเอารายละเอียดในส่วนเงาที่เข้มออกมาได้โดยไม่สูญเสียรายละเอียดไปกับไฮไลต์ที่สว่างในภาพนั้น

อย่างไรก็ตามนักถ่ายภาพอาจสับสนกับการทำงานนี้ซึ่งมีความแตกต่างกันในชื่อเรียกของผู้ผลิตกล้องแต่ละรายได้ เช่น Nikon เรียก Active D-Lighting, Canon ใช้ Auto Light Optimiser ขณะที่ Sony เรียก Dynamic Rang Optimization แต่โดยทั่วไปแล้วการทำงานเหล่านี้ซึ่งอาจเรียกรวมๆ ได้ว่าคือ DRO หรือ Dynamic Range Optimisation ทำงานโดยการปรับแต่งคอนทราสต์ทันทีขณะถ่ายภาพ เพื่อลดความเข้มของส่วนเงาและไฮไลต์ที่สว่าง ป้องกันไม่ให้มีส่วนที่สว่างมากจนขาดรายละเอียดในภาพ


ปิดการใช้ค่า Preset

ไฟล์ JPEG แตกต่างจาก RAW ตรงที่ค่าปรับตั้งต่างๆ ในกล้องจะถูกผสมรวมไว้ในภาพ ซึ่งไม่สามารถที่จะนำการปรับตั้งเหล่านั้นออกจากภาพภายหลังได้ ดังนั้นนักถ่ายภาพจึงควรปิดการปรับตั้งค่า Preset ต่างๆ ที่ไม่จำเป็นในกล้อง ปรับค่าความคมชัดหรือ Sharpening ในระดับที่ไม่สูงด้วย รวมไปถึงควรเปลี่ยนโหมดสีจาก sRGB เป็น Adobe RGB ที่ใหญ่กว่าเพื่อที่จะบันทึกสีได้มากขึ้นด้วย

ค่าไวต์บาลานช์ยังเป็นอีกสิ่งที่ถูกใส่เข้ามาในภาพ JPEG ด้วยซึ่งจะมีเครื่องมือรวมทั้งวิธีการไม่มากนักให้ปรับแต่งได้เล็กน้อยในขั้นตอนหลังถ่ายภาพเมื่อเทียบกับไฟล์ RAW เมื่อถ่ายภาพในสถานการณ์ทั่วไปด้วยแสงอาทิตย์ตอนกลางวัน นักถ่ายภาพอาจเลือกใช้การปรับตั้งไวต์บาลานช์อัตโนมัติซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีได้ แต่เมื่อถ่ายภาพภายใต้แสงไฟต่างๆ นักถ่ายภาพอาจต้องมีการลองถ่ายภาพโดยใช้ค่า Preset ที่กล้องมีให้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาดีกว่าการการปรับไวต์บาลานช์อัตโนมัติหรือไม่


5 แอพพ์ สำหรับไฟล์ JPEG

JPEGmini : เป็นแอพพลิเคชั่นบีบอัดไฟล์ที่อ้างว่าสามารถลดขนาดไฟล์ลงจนเหลือน้อยที่สุดขณะที่ยังคงคุณภาพของภาพสูงสุด ซึ่งนักถ่ายภาพสามารถหาเวอร์ชั่นแบบที่ใช้ฟรีผ่านเบราเซอร์ได้ที่ www.jpegmini.com

01
FILEminimizer Picture : แอพพลิเคชั่นบีบอัดไฟล์ที่ฉลาดซึ่งช่วยให้นักถ่ายภาพลดขนาดไฟล์ JPEG รวมทั้งไฟล์ฟอร์แมตอื่นที่มีการลดการเก็บข้อมูลเหมือน JPEG โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ www.balesio.com/fileminimizerpicture/eng/index.php

02
SuperDenoising : เป็แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้ภาพ JPEG ที่ถูกบีบอัดมากหรือมีสัญญาณรบกวนที่ชัดเจนดูราบเรียบขึ้น โดยสามารถดาวน์โหลดมาใช้ฟรีได้ที่ www.effectmatrix.com/mac-appstore/super-denoise-noiseware-mac.html

03
CaesiumPH (beta) : เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการทำให้การสูญเสียของภาพเกิดขึ้นน้อยที่สุดโดยการคัดกรองเอาข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากภาพ สามารถดาวน์โหลดฟรีทั้งสำหรับ Windows และ Mac ที่ saersoft.com/caerium/#main

04
ON 1 Resize 10.5 : เป็นแอพพลิเคนชั่นขยายภาพที่ใช้การ Algorithm เพื่อขยายภาพขึ้นให้ใหญ่ขึ้นได้ถึง 1,000 เปอร์เซ็นต์โดยไม่เห็นเนื้อภาพที่เสีย ลองใช้ได้ที่ www.on1.com/product/resize10/

05


RAW VS JPEG

เมื่อใดที่ควรถ่ายภาพ RAW

  • เมื่อต้องการใช้ในการพิมพ์ขนาดใหญ่สุดและคุณภาพสูงสุด
  • ต้องการลดสัญญาณรบกวนลงเหลือน้อยที่สุดเมื่อใช้ความไวแสงสูงในสภาพแสงที่น้อย
  • เมื่อถ่ายภาพที่ต้องการให้มีไดนามิกเรนจ์มาก
  • เมื่อต้องการนำไปแปลงเป็นภาพขาว-ดำคุณภาพสูง
  • เมื่อไม่มั่นใจว่าควรเลือกใช้ไวต์บาลานช์แบบใด

เมื่อใดที่ควรถ่ายภาพ JPEG

  • ต้องการปรินต์ภาพขนาดเล็ก
  • ต้องการความรวดเร็วในการนําภาพไปใช้ภายหลัง
  • นำไฟล์ไปใช้ในเวบไซต์หรือออนไลน์
  • ต้องการถ่ายภาพต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว
  • ต้องการภาพที่ออกมาโดยมีการโปรเซสไฟล์น้อยที่สุด

 

แปล/เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ