Basic

Guide to New High Resolution Camera Owner

ก่อนหน้าอาจนี้ดูเหมือนว่าความละเอียดในระดับสูงกว่า 30 ล้านพิกเซลของกล้องฟูลเฟรมจะเป็นสิ่งที่ไกลเกินฝันสำหรับนักถ่ายภาพทั่วไป เพราะจะพบความละเอียดของเซ็นเซอร์ระดับนี้ได้ในกล้องมีเดียมฟอร์แมต แต่ไม่กี่ปีมานี้มีกล้องฟูลเฟรมที่มาพร้อมกับความละเอียดระดับ 30, 40 หรือ 50 ล้านพิกเซลมากมายหลายรุ่นให้เลือกใช้ อย่างไรก็ตามแม้การมีความละเอียดมากขึ้น จะหมายถึงรายละเอียดของภาพที่มากขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับความรับผืดชอบที่มากขึ้นจากนักถ่ายภาพ เพราะมีสิ่งที่ควรระมัดระวังมากขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วย โดยต่อไปนี้เป็นคำแนะนำสำหรับผู้ที่เพิ่งกระโดดเข้าไปสู่การใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงจนแตกต่างจากกล้องเดิมมาก

ให้ความสำคัญกับเลนส์

สิ่งหนึ่งที่นักถ่ายภาพควรรู้เกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงคือ พิกเซลจำนวนมากที่อยู่ในกล้องที่ใช้จะลดประโยชน์ลงหากเลนส์มีการแยกขยายตํ่าเกินกว่าที่จะสร้างรายละเอียดได้เพียงพอเพื่อให้มีข้อมูลสำหรับแต่ละพิกเซลของเซ็นเซอร์ได้ เมื่อเทียบกล้องที่มีเซ็นเซอร์ภาพขนาดเดียวกันซึ่งมีความละเอียดต่างกัน สิ่งที่นักถ่ายภาพควรคิดไว้เสมอคือกล้องที่มีความละเอียดสูงกว่ามักจะต้องการเลนส์ที่มีกำลังแยกขยายสูงกว่า โดยเลนส์บางรุ่นอาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกับกล้องความละเอียด 18 ล้านพิกเซล แต่มีกำลังแยกขยายไม่เพียงพอสำหรับกล้องถ่ายภาพที่มีความละเอียด 36 หรือ 50 ล้านพิกเซล ซึ่งจะเป็นการทิ้งประโยชน์จากความละเอียดที่สูงของกล้องไป นี่คือเหตุผลที่ผู้ผลิตกล้องต่างๆ ล้วนแต่มีการทำเลนส์ถ่ายภาพในช่วงซูมหรือทางยาวโฟกัสเดิมออกมาใหม่เพื่อรองรับกับเซ็นเซอร์ที่มีความละเอียดมากขึ้นของกล้อง ดังนั้นหากมีความคิดที่จะอัพเกรดกล้องเป็นกล้องที่มีความละเอียดสูงมาก หนึ่งในสิ่งที่ควรคิดถึงคือเลนส์ที่ใช้อยู่มีกำลังแยกขยายที่เหมาะสำหรับกล้องใหม่หรือไม่หากต้องการได้รับประโยชน์จากเซ็นเซอร์ความละเอียดสูงเต็มประสิทธิภาพ และโดยทั่วไปแล้วเลนส์รุ่นเก่าส่วนใหญ่มักมีปัญหาในเรื่องคุณภาพในด้านพื้นที่รอบๆ กลางภาพจนถึงของภาพซึ่งทำให้ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบางประเภทที่ต้องการความคมชัดสูงจนถึงขอบภาพอย่างภาพทิวทัศน์

ระยะชัดเปลี่ยนไป

เมื่อถ่ายภาพโดยที่รูรับแสงรวมทั้งระยะห่างจากวัตถุเท่ากันสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงตามความละเอียดที่เพิ่มขึ้นคือระยะชัด เพราะกล้องที่มีความละเอียดสูงขึ้นจะสามารถแยกรายละเอียดได้มากขึ้นทำให้สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ เกิดขึ้นของระยะชัดในภาพได้ง่ายขึ้น หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ เมื่อความละเอียดเพิ่มขึ้น ความชัดเจนของระยะชัดจะลดลง การเปลี่ยนจากส่วนที่พ้นระยะชัดเป็นพื้นที่อยู่ในระยะโฟกัสจะเห็นชัดเจนขึ้นในกล้องความละเอียดสูง ทำให้ผู้ที่เพิ่งเปลี่ยนมาจากกล้องที่มีความละเอียดสูงน้อยกว่าซึ่งเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วอาจยังเป็นกล้องความละเอียดสูงอยู่ ความสามารถในการแยกขยายรายละเอียดของพื้นที่พ้นระยะชัดมากกว่าก่อนอาจทำให้รู้สึกแปลก โดยที่ความละเอียดตํ่ากว่าการเปลี่ยนผ่านในด้านระยะชัดอาจไม่ชัดเจนเท่า ดังนั้นจึงปรากฏว่าว่าอยู่ในระยะโฟกัสมากหรือน้อยกว่า หรืออาจสรุปง่ายๆ คือ กล้องที่มีความละเอียดสูงกว่าจะมีความรู้สึกไม่แน่ใจน้อยกว่าระหว่างส่วนที่อยู่ในระยะชัดหรือพ้นระยะชัด หรืออาจพูดได้ว่าหากต้องการระยะชัดที่เคยได้จาก F5.6 จากกล้องที่มีความละเอียดน้อยกว่าจะต้องใช้รูรับแสงแคบลงกับกล้องที่มีความละเอียดสูงกว่า

ภาพ : โบว์ชัวว์ SONY A7lll

การสั่นไหวเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งสำคัญที่นักถ่ายภาพควรคิดไว้เสมอเมื่อใช้กล้องความละเอียดสูงคือ การให้ความระมัดระวังต่อเรื่องการสั่นไหวเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ส่งผลที่ไม่ต้องการในคุณภาพของภาพ เพราะกล้องความละเอียดสูงมีการแยกขยายรายละเอียดสูงทำให้มีพื้นที่สำหรับความผิดพลาดในเรื่องการสั่นของกล้องน้อยลง การสั่นเล็กๆ ที่อาจไม่สังเกตเห็นกับภาพจากกล้อง 24 ล้านพิกเซลที่ขยายขึ้นมา 100 เปอร์เซ็นต์อาจเป็นสิ่งที่สร้างความผิดหวังให้นักถ่ายภาพที่ใช้กล้องความละเอียด 50 ล้านพิกเซลได้ ซึ่งนี่คือเหตุผลที่นักถ่ายภาพซึ่งใช้กล้องมีเดียมฟอร์แมตใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ตามนักถ่ายภาพอาจไม่ถึงกับต้องใช้ขาตั้งกล้องทุกครั้งที่ถ่ายภาพด้วยกล้องความละเอียดสูงเมื่อมีการฝึกฝนที่ดีเพื่อให้ความมั่นใจว่าภาพที่ถ่ายจะมีความคมชัด นอกจากนี้อีกสิ่งที่นักถ่ายภาพควรคิดถึงก็คือ การกระโดดไปสู่ความละเอียดสูงของกล้องอาจต้องการขาตั้งกล้องและหัวขาตั้งกล้องที่มีนํ้าหนักมากขึ้นกว่าที่เคยใช้เพื่อช่วยลดการสั่นจากลมให้น้อยลง นอกจากนี้การทำงานลดการสั่นไหวก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้เมื่อไม่ใช้ขาตั้งกล้อง

จุดด้อยของออฟติคัลชัดเจนขึ้น

หากเลนส์ที่ใช้มาพร้อมกับความคลาดสีหรือปัญหาใดๆ ก็ตามทางออฟติก นักถ่ายภาพจะมองเห็นได้มากขึ้นเมื่อใช้กับกล้องความละเอียดสูงรุ่นใหม่ๆ ดังนั้นทำให้หากเลนส์ที่ใช้ร่วมด้วยไม่สามารถให้คุณภาพที่น่าพอใจเมื่อใช้ร่วมกับกล้องความละเอียด 24 ล้านพิกเซล กับกล้องที่มีความละเอียดสูงขึ้นก็จะยิ่งปรากฏให้เห็นจุดด้อยนี้มากขึ้น โดยหากให้ขอบภาพที่ซอฟต์อยู่แล้ว ก็จะให้ขอบภาพที่ซอฟต์ขึ้นกับกล้องความละเอียดสูงขึ้น หรืออาจพูดในอีกแง่ก็คือ จำนวนพิกเซลยิ่งมากขึ้นในเซ็นเซอร์ก็จะเรียกร้องคุณภาพเลนส์ที่ใช้ร่วมด้วยมากขึ้น

เพิ่มทักษะทางการถ่ายภาพ

นักถ่ายภาพอาจใช้กล้องถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูงรุ่นใหม่พร้อมกับเลนส์ที่สามารถช่วยให้ใช้ประโยชน์จากความละเอียดที่สูงของเซ็นเซอร์ภาพได้อย่างเต็มที่ แต่ยังอาจพบปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพซึ่งขาดรายละเอียดสำหรับการนำไปปรินต์เป็นภาพคุณภาพสูง เพราะนอกจากกล้องและเลนส์คุณภาพสูง แสงที่ดี และการจัดองค์ประกอบภาพอย่างระมัดระวังแล้ว นักถ่ายภาพยังต้องมีทักษะในการถ่ายภาพให้มีความคมชัดด้วย เพราะจากลักษณะของกล้องความละเอียดสูงที่จะมีการขยายทุกสิ่งขึ้นมามากขึ้นด้วยไม่ว่าจะเป็น การสั่นของกล้องที่เกิดจากเทคนิคการจับถือกล้องที่ไม่ดี การสั่นของกล้องจากการทำงานของชัตเตอร์ เทคนิคการโฟกัสที่ไม่ดี ขาตั้งกล้องที่ไม่มั่นคง รวมทั้งลมหรือสิ่งต่างๆ ที่สามารถทำให้ภาพเบลอได้

ดังนั้นเมื่อตัดสินใจที่จะเปลี่ยนกล้องถ่ายภาพที่ใช้เป็นกล้องที่มีความละเอียดสูงกว่าเดิมมากๆ ที่มีให้เลือกมากมายในปัจจุบัน ก็อาจจะต้องการเวลาในการฝึกฝนเทคนิคในการถ่ายภาพอย่างถูกต้องหรือมีความระมัดระวังมากขึ้นในเรื่องเทคนิคเกี่ยวกับความคมชัดของภาพ อย่างการที่อาจต้องประเมินความเร็วชัตเตอร์ตํ่าสุดที่สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายภาพให้มีความคมชัดใหม่ พิจารณาถึงการใช้ขาตั้งกล้องถ่ายภาพมากขึ้น ใช้ LiveView เพื่อช่วยในการโฟกัสที่ต้องการความละเอียดมากขึ้น รวมไปถึงการใช้เลนส์และรูรับแสงที่เหมาะสมที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นก็อาจทำให้ประโยชน์จากกล้องความละเอียดสูงสูญเปล่า

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ


อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^


หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์และแชร์ด้วยนะครับ
FOTOINFO มี LINE@ OFFICIAL แล้ว !!! อย่าลืมแอดไลน์ @FOTOINFO (หรือสแกน QR Code ในภาพนี้)

ขอบคุณครับ

ติดตาม FOTOINFO ได้ทั้งรูปแบบนิตยสาร Free Copy, e-magazine ฟรีดาวน์โหลด และช่องทางอื่นๆออนไลน์ได้ที่
Line@ : @fotoinfo
YouTube : Fotoinfo Channel
Website : fotoinfomag.com
e-magazine : issuu.com/fotoinfomagazine


ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus

หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่

https://test2.fotoinfo.online/all-about-photo/basic