กรุงเทพฯ 25 มีนาคม 2567 เมื่อไม่นานมานี้ บริษัทโกโกลุก ประเทศไทย ผู้ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น ชั้นนำ (TrustTech) และผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Whoscall ได้ส่งมอบรายงานประจำปี 2567 วิเคราะห์สถานการณ์ กลโกงของมิจฉาชีพในประเทศไทย ให้แก่หน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), สำนักงานคณะกรรมการการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.), กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และกองบัญชาการการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อสานต่อความร่วมมือในการป้องกันภัยไซเบอร์ ให้กับประชาชนไทย


ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2567 พบว่าคนไทยได้รับการหลอกลวงผ่านสายโทรศัพท์และข้อความ SMS รวมกว่า 168 ล้านครั้ง โดยจำนวนนี้เป็นการหลอกลวงผ่านข้อความ SMS มากถึง 130 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่า กลุ่มมิจฉาชีพยังคงใช้การส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการหลอกลวง โดยกลลวงที่ตรวจพบมากที่สุดในปี ที่ผ่านมาได้แก่ การหลอกขายบริการและสินค้าปลอม การแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลอกว่า มีเงินกู้อนุมัติง่าย การหลอกทวงเงิน และการหลอกว่าเป็นหนี้สอดคล้องกับสถิติการแจ้งความออนไลน์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติระหว่างเดือนมกราคม 65 ถึง เดือนธันวาคม 2567 ที่พบว่าคดีที่เกี่ยวข้อง การหลอกลวงให้ซื้อขายสินค้าหรือบริการแบบไม่เป็นขบวนการ การหลอกให้โอนเงิน และหลอกให้กู้เงิน เป็นคดีที่ถูกรายงานเข้ามา ในระบบมากที่สุด กว่า 534,000 คดี เป็นมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 27,000 ล้านบาท
นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย กล่าวว่า “บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็น ส่วนหนึ่งในการมอบความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการป้องกันตนเองจากมิจฉาชีพให้แก่ประชาชนและองค์กรต่างๆ การพบปะกับหน่วยงานภาครัฐในครั้งนี้ เราได้ถือโอกาสเชิญชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ แคมเปญรณรงค์ที่กำลังจะเปิดตัวในไตรมาสที่ 2 นี้ เพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อน สังคมไทยให้ปลอดภัยจากภัยไซเบอร์ ผ่านการสร้างความตระหนักรู้และเทคโนโลยี ที่ทางแอปพลิเคชัน Whoscall ตั้งใจคิดขึ้นมาเพื่อให้บริการผู้ใช้ในไทยโดยเฉพาะ”
พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า“สกมช.มุ่งเน้นการป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการผ่านการทำงาน ร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างกลไกเฝ้าระวังภัยไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริม ให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพออนไลน์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงจากภัยคุกคาม ทางไซเบอร์ โดย สกมช. พร้อมเดินหน้าสานต่อความร่วมมือกับ Whoscall เพื่อขยายเครือข่ายการเฝ้าระวังภัย และยกระดับการแจ้งเตือนภัยให้แก่ประชาชนผ่านกลไกของภาครัฐและแอปพลิเคชัน Whoscall ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียง การแจ้งเตือนเบอร์โทรศัพท์หรือข้อความ SMS เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงลิงก์อันตรายและภัยคุกคามทางดิจิทัล ในทุกรูปแบบ ซึ่งเรามุ่งมั่นที่จะพัฒนากลไกการป้องกันภัยไซเบอร์ให้รัดกุมและครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน ทั้งในด้านข้อมูลส่วนบุคคล ทรัพย์สิน และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งนี้ สกมช. พร้อมเป็นกำลังสนับสนุนในการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างทันท่วงที เราเชื่อว่าความร่วมมือ อย่างเข้มแข็งจากทุกฝ่ายจะช่วยสร้างเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ที่แข็งแกร่ง และนำไปสู่สังคมดิจิทัลที่ปลอดภัย ให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยยิ่งขึ้น”


พลตำรวจโท ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) กล่าวว่า “ภัยอาชญกรรมทางไซเบอร์ถือเป็นวาระแห่งชาติของประเทศ ที่ทั้งรัฐและ เอกชน ต้องผนึกความร่วมมือในการลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ และสร้างภูมิคุ้มกันภัยให้แก่ประชาชน ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าสถิติการแจ้งความออนไลน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีแนวโน้มลดลงเหลือเฉลี่ยที่วันละ 900 คดี โดยเราพร้อมให้ความร่วมมือกับ Whoscall ในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ผ่านแคมเปญรณรงค์ของทั้งสององค์กร รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อนำมาช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้ ทาง บช.สอท. จะรับเรื่องและข้อมูลลิงก์อันตรายที่ Whoscall ตรวจพบ เพื่อนำไปสู่การเร่งปราบปราม ปัญหาการหลอกลวงผ่านลิงก์ออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาเร่งด่วน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดการโจรกรรมข้อมูล หลอก ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่อง หรือสร้างความเสียหายต่อผู้ใช้ เพื่อยกระดับการป้องกันและปราบปรามมิจฉาชีพ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เราจึงมุ่งมั่นร่วมกันในการปกป้องประชาชนชาวไทยจากภัยไซเบอร์”
Whoscall ได้ทำการสำรวจและจัดทำรายงานประจำปีเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์กลโกงของมิจฉาชีพเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2563 ผ่านการรายงานจากสายโทรศัพท์ ข้อความ SMS ลิงก์ต่างๆ รวมถึง ข้อมูลใหม่ที่เพิ่มมาจากฟีเจอร์ ตรวจสอบข้อมูลรั่วไหลที่เปิดให้ผู้ใช้งาน Whoscall ได้ใช้งานเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา สามารถดูรายงานเพิ่มเติม ได้ที่ https://whoscall.com/th/blog
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Whoscall ได้ฟรีจาก App Store และ Google Play Store ที่ลิงก์ https://app.adjust.com/1fh6zchh
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Whoscall และฟีเจอร์ที่มีให้บริการ ได้ที่ https://whoscall.com/th หรือ https://www.facebook.com/whoscall.thailand
เกี่ยวกับ Whoscall
แอปพลิเคชัน Whoscall เครื่องมือป้องกันการหลอกลวงทางดิจิทัลส่วนบุคคล ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้ใช้ จากการหลอกลวงในสถานการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ การสื่อสารที่เป็นอันตรายและน่าสงสัย รวมถึงสายโทรเข้า ข้อความ และลิงก์ ด้วยยอดการดาวน์โหลดมากกว่า 100 ล้านครั้งทั่วโลก Whoscall มีฐานข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมหมายเลขโทรศัพท์ มากกว่า 2.6 พันล้านเลขหมาย และรวมข้อมูลจากพันธมิตรอย่าง ScamAdviser เพื่อสร้างฐานข้อมูลต่อต้านการหลอกลวงทางดิจิทัลชั้นนำ ทีมงาน Whoscall ทุ่มเทพัฒนาเทคโนโลยี ต่อต้านการหลอกลวงมานานกว่าทศวรรษ โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์ และจำลองรูปแบบการหลอกลวง เพื่อป้องกันเชิงรุกต่อการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว Whoscall เดินหน้าอย่างแข็งขัน ในการสร้างกลไกการทำงานร่วมกัน ในชุมชนของผู้ใช้ร่วมมีบทบาทในการสร้างผลลัพธ์ ทางสังคมด้วยบริการ ต่อต้านการฉ้อโกงทางดิจิทัล ตั้งแต่ การให้ความรู้ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ไปจนถึงสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ Whoscall ได้รับการยอมรับ และความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไต้หวัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แห่งชาติ (สกมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย ศูนย์สืบสวนและประสานงานอาชญากรรมทางไซเบอร์ ของฟิลิปปินส์และรัฐบาลท้องถิ่นในญี่ปุ่น สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://whoscall.com/th
Leave feedback about this