NEWS PHOTO CONTEST

โครงการประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2568

โครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2568 ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และถ้วยประทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
และเงินรางวัล 755,000 บาท

ที่มาของโครงการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความมุ่งมั่นใน การปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 31 เพื่อร่วมส่งต่อแรงบันดาลใจ สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสัตว์ ป่าและผืนป่าในเมืองไทย

“ภาพถ่าย” เป็นเครื่องมือสื่อสารข้ามกาลเวลา สังคม ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมที่แตกต่าง หลากหลาย เป็นศิลปะที่เชื่อมโยงมนุษย์กับธรรมชาติ ก่อให้เกิดความตระหนักรู้ เข้าใจถึงบทบาท และคุณค่าที่สำคัญของสัตว์ป่าและผืนป่าในระบบนิเวศธรรมชาติ เป็นภาพที่ปรับเปลี่ยนความเชื่อความคิด และการขับเคลื่อนไปสู่การอนุรักษ์สัตว์ป่าและระบบนิเวศ รวมถึงปลูกจิตสำนึกและความ หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ นำไปสู่ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรสัตว์ป่าและป่าไม้อันเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติของประเทศไทยได้ อย่างยั่งยืน

เจ้าของโครงการ และผู้ดำเนินโครงการ
เจ้าของโครงการ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเครือเจริญโภคภัณฑ์

ผู้สนับสนุนโครงการ :
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

วัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนที่รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีโอกาสเรียนรู้และ ถ่ายทอดเรื่องราว คุณค่าของทรัพยากรสัตว์ป่า ป่าไม้และทรัพยากรทางทะเลผ่าน ภาพถ่ายที่สวยงามเพื่อสื่อเรื่องราวให้สังคมรับรู้ ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สัตว์ป่า ป่าไม้และระบบนิเวศของประเทศไทยผ่านการถ่ายภาพ
  2. เพื่อนำผลงานภาพถ่ายไปเผยแพร่ขยายผลกับประชาชนทุกภาคส่วนให้รับรู้และ ตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรสัตว์ป่า ป่าไม้และทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย ให้เกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยในการช่วยกัน ดูแลรักษาทรัพยากรสัตว์ป่า ป่าไม้ และทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทยและของโลก
  4. นำภาพถ่ายจากการประกวด ฯ ไปจัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ความงดงาม รวมทั้งเป็นสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นเสมือนดัชนีชี้วัดความ อุดมสมบูณ์ของสัตว์ป่าและผืนป่าในประเทศไทย
  5. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่า ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กร

การประกวดภาพถ่าย แบ่งเป็น 2 ระดับ และ 2 ประเภท
-ระดับบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ประเภท ‘สัตว์มีค่า แบ่งเป็น 5 ประเภทย่อย
    1.1 ภาพนก เป็นภาพที่ถ่ายทอดลักษณะของนกในแต่ละสายพันธุ์ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ ของสายพันธุ์นั้นได้อย่างสวยงาม และโดดเด่น หรือเป็นภาพแสดงนกที่กำลังบิน อันเป็นการหยุดการเคลื่อนไหว รวมทั้งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างนกกับถิ่นที่อยู่ เช่น เปิดผีลอยน้ำเล่นที่พื้นที่ชุ่มน้ำ, ภาพนกแขวสวรรค์ บินคาบอาหารมาป้อนลูกที่รัง, นกเงือกกินลูกไทรบนต้นไม้
    1.2 ภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นภาพที่ถ่ายทอดความงดงามของลักษณะหรือท่าทาง ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตามธรรมชาติ เช่น ข้าง, เสือ, กวาง, เลียงผา, วาฬ ฯลฯ ทั้งนี้อาจเป็นภาพที่แสดงให้เห็นทั้งตัวหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ชนิดนั้น ๆ
    1.3 ภาพสัตว์อื่น ๆ เป็นภาพที่ถ่ายทอดความงดงามของลักษณะหรือท่าทางของ เหล่าแมลง, ผีเสื้อ และสัตว์เลื้อยคลาน ฯลฯ ที่น่าสนใจในภาพมุมกว้าง และถ่ายระยะใกล้
    1.4 ภาพพฤติกรรมสัตว์ป่า เป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมของสัตว์ป่าในด้านต่าง ๆ ที่พิเศษ แปลก และน่าสนใจ เช่น การล่าเหยื่อ, การผสมพันธุ์, การต่อสู้, การขับไล่ ศัตรูออกจากอาณาเขตที่อยู่อาศัย หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่โดดเด่น
    1.5 ภาพสัตว์โลกใต้น้ำ เป็นภาพถ่ายสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ ที่แสดงให้เห็นถึง ความงดงาม และความสมบูรณ์ของธรรมชาติในน้ำ และในทะเล
  2. ประเภท “ป่ามีคุณ” แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย
    2.1 ภาพป่ามีคุณ เป็นภาพถ่ายที่แสดงความงดงามของป่าไม้ในธรรมชาติในมุมกว้าง ที่จะสร้างจิตสำนึกในความรักและหวงแหน เช่น ภาพทิวเขาที่มีป่าไม้สลับซับซ้อน สายธารของน้ำตกในป่า, ทุ่งหญ้าที่เขียวขจีในป่าใหญ่, ป่าฝนอันชุ่มฉ่ำ
    2.2 ภาพระยะใกล้ในธรรมชาติ เป็นภาพถ่ายในมุมมองที่เจาะจง เน้นให้เห็นถึง ความงามของพรรณไม้ เช่น เห็ด, มอสส์, เฟิร์น, ดอกไม้, กล้วยไม้, ลวดลายของ ใบไม้ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพรรณไม้ ที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์
    2.3 ภาพพรรณไม้ป่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นภาพถ่ายพรรณไม้ที่สวยงามพบเห็น ได้ยาก มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ หรือมีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น มหาพรหมราชินี, ชมพูภูคา, กล้วยไม้รองเท้านารี, คำหยาด, โมกพะวอ, จันทน์แดง โสกระย้า, สกุลศิลาวารี, เสลาหัวหมด และพรรณไม้ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ

-ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ประเภท “สัตว์มีค่า ไม่แบ่งประเภทยอย
  2. ประเภท “ป่ามีคุณ” ไม่แบ่งประเภทย่อย
    การประกวดคลิปวิดีโอ “สัตว์มีค่า” ไม่แบ่งระดับการประกวด
    เป็นคลิปวิดีโอการประกวดภายใต้หัวข้อ “สัตว์มีค่า” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถ่ายทอดเรื่องราว พฤติกรรมและความงดงามของสัตว์ป่า และสัตว์น้ำ ในเมืองไทยที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์

เกณฑ์การตัดสิน

  1. การถ่ายทอดแนวคิด อารมณ์ และการสื่อความหมายในเชิงอนุรักษ์ภายใต้แนวคิด “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  2. ความสวยงาม และการจัดวางองค์ประกอบตามหลักทัศนศิลป์
  3. ผลงานภาพถ่ายที่ส่งประกวดไม่ควรเกิดจากการทำลายธรรมชาติ และรบกวนระบบ นิเวศ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายนั้นส่งเข้าประกวด
  4. คำบรรยายประกอบภาพ คณะกรรมการจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาตัดสิน

รูปแบบของไฟล์ส่งเข้าประกวด
รูปแบบของไฟล์ภาพถ่าย

  1. ต้องเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล เป็นไฟล์ภาพสีแนวนอนหรือแนวตั้ง ถ่ายโดยการใช้ กล้อง Digital ทุกรูปแบบ ไฟล์ภาพต้องมีขนาดด้านที่สั้นที่สุดไม่ต่ำกว่า 2,400 pixels และ ด่านที่ยาวที่สุดไม่เกินกว่า 4,800 pixels ถ้าเป็นภาพ Panorama ต้องมีขนาดยาวที่สุดเท่ากับ 4,800 pixels ในรูปแบบไฟล์ .jpg เท่านั้น (ต้องเก็บ File ต้นฉบับไม่ว่าจะเป็น RAW Files และ/หรือ .jpg ไว้สำหรับการตรวจสอบ)
  2. ต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกโด ๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้น ขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ
  3. รูปแบบของไฟล์ในแบบมาตรฐาน jpg โดยมีความละเอียดระหว่าง 3-5 Mb ไม่รับภาพที่ เป็น RAW Files และไฟล์ที่เป็นสกุลอื่น (ผู้เข้าประกวดจะต้องส่งไฟล์ภาพต้นฉบับมายืนยัน ทุกภาพ ในกรณีที่ภาพได้รับรางวัล)
  4. การใช้โปรแกรมในการโปรเขสภาพให้ดำเนินการได้เฉพาะการปรับสี และแสงของภาพตาม กรรมการตัดสิน ความเหมาะสม แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติ ทั้งนี้ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน ผู้ส่งภาพต้องเก็บภาพต้นฉบับไว้เพื่อตรวจสอบจนกว่าการจัดการประกวดจะแล้วเสร็จลง (กรณีคณะกรรมการของมีความประสงค์ขอดูภาพต้นฉบับ)

วิธีการส่งภาพเข้าประกวด

  1. อัพโหลดไฟล์ภาพผ่าน คิวอาร์โค้ดรับสมัครภาพถ่ายโครงการ
    ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบบนหน้าเว็บไซต์โดยกรอกชื่อ นามสกุล พร้อมรายละเอียด และโหลดไฟล์ภาพเข้าประกวดที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 3Mb และไม่เกิน 5Mb
  2. ผู้สมัคร ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
  3. ส่งภาพเข้าประกวดได้ทั้งหมดไม่เกิน 15 ภาพ
  4. เปิดรับภาพถ่าย และคลิปวิดีโอ เข้าประกวดตั้งแต่ 15 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม 2568

รูปแบบของคลิปวิดีโอ (Footage)

  1. ความยาวคลิปวิดีโอไม่ต่ำกว่า 15 วินาทีและไม่เกิน 60 วินาที
  2. อนุญาตให้ทำการตัดเฟรม Clip หรือ Crop Clip ให้สั้นลงจาก File ตั้งเดิม
  3. รูปแบบของคลิปวิดีโอต้องเป็นการบันทึกภาพแบบต่อเนื่องที่เกิดจากไฟล์เดียว ไม่อนุญาตให้นำ File ตั้งแต่ 2 ไฟล์ขึ้นไปมารวมกัน
  4. การตกแต่งคุณภาพของคลิปวิดีโอ สามารถปรับสี แสงได้ให้สมจริง เน้นความเป็น ธรรมชาติ
  5. คลิปวิดีโอควรมีเสียงของธรรมชาติในขณะบันทึก โดยไม่ต้องบรรยาย หรือใส่เสียง ดนตรีประกอบ และไม่ปรับแต่งเสียงในคลิปวิดีโอให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ
  6. คลิปวิดีโอที่ส่งประกวดต้องมีความละเอียดระดับ Full HD (1920×1080) เท่านั้น โดยมีนามสกุลไฟล์เป็น MOV หรือ MP4 และมีเฟรมเรทอยู่ระหว่าง 24-30 fps
  7. ส่งคลิปวิดีโอเข้าประกวดได้ไม่เกิน 3 คลิป

วิธีการส่งคลิปวิดีโอเข้าประกวด
การส่งคลิปวิดีโอสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดเปิดรับสมัครภาพถ่ายของโครงการ โดยนำ คลิปวิดีโออัพโหลดลงใน Google Drive เท่านั้น และเปิดสิทธิ์การเข้าถึงเป็น สาธารณะ แนบลิงก์ผลงาน กรอกข้อมูล ชื่อไฟล์ ชื่อคลิปวิดีโอ ความยาวของคลิป ชนิด พันธุ์สัตว์ สถานที่ถ่ายคลิป อุปกรณ์ และคำบรรยาย ให้ครบถ้วน

กติกาการส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวด

  1. ต้องเป็นภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่ถ่ายหรือบันทึกไว้ไม่เกิน 3 ปีก่อนวันสิ้นสุดกำหนดการส่ง ภาพเข้าประกวด
  2. ผู้ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอนั้น ๆ ด้วยตนเอง ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง เลียนแบบภาพหรือคลิปวิดีโอของบุคคลอื่น หรือนำภาพ หรือคลิปวิดีโอของผู้อื่นมาส่ง หรือส่งในนามผู้อื่นโดยเด็ดขาด หากมีบุคคลใดมากล่าวอ้าง เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพและ/หรือคลิปวิดีโอ ผู้ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวด จะต้องรับผิดชอบในการเจรจา ตลอดจนรับผิดชอบต่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว (พร้อมทั้งปกป้องผู้จัดประกวดไม่ให้ได้รับความเสียหายจาก กรณีดังกล่าว) โดยผู้จัดประกวดจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ต่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นข้างต้นทั้งสิ้น
  3. ภาพและคลิปวิดีโอที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิก ใด ๆ บนภาพถ่ายและคลิปวิดีโอนั้น สำหรับภาพถ่ายห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ
  4. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องจัดองค์ประกอบและส่วนประกอบของภาพที่ปรากฏในขณะที่ กดชัตเตอร์ ห้ามเพิ่มเติม หรือตบองค์ประกอบ และ/หรือ ส่วนประกอบของภาพ ภายหลัง จากการกดชัตเตอร์แล้วเป็นอันขาด การตัดส่วนของภาพหลังจากการกดชัตเตอร์ให้ สามารถกระทำได้ โดยสัดส่วนต้องเป็นไปตามจริงของธรรมชาติ กล่าวคือ สามารถปรับแต่ง ภาพถ่ายได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่ทำให้ภาพถ่ายนั้น ดูผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการตัดสินซึ่งถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
  5. สำหรับภาพและ/หรือคลิปวิดีโอที่ถ่ายโดย Drone และ Camera Trap ต้องไม่ละเมิด กฎหมาย หรือระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องสำหรับพื้นที่ที่ถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโอนั้น ๆ โดย จะต้องมีเอกสารที่ได้รับอนุญาตจากราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสืออนุญาตให้ถ่ายภาพ/ถ่ายทำภาพยนตร์ (หากอยู่ในพื้นที่ของกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้) ภาพและ/หรือคลิปวิดีโอจาก Camera Trap จะต้องมีเอกสารที่ได้รับอนุญาตจากราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต้องได้รับอนุญาตให้เข้าไปติดตั้งกล้องในพื้นที่ภายใน ช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
  6. ภาพและคลิปวิดีโอในประเภท “สัตว์มีค่า” จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ที่พบหรือถิ่นกระจายพันธุ์ และอาศัยในประเทศไทย และต้องถ่ายจากสถานที่ที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น และภาพใน ประเภท “ป่ามีคุณ” จะต้องเป็นภาพที่ถ่ายในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่ตกแต่ง เปลี่ยนแปลง ปรับสภาพแวดล้อมธรรมชาติหรืออื่นใดเพื่อการถ่ายภาพอันเป็นการทำให้ ธรรมชาติเสียหาย หรือรบกวนชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ และไม่ปฏิบัติผิดจริยธรรมในการ ถ่ายภาพ กรณีการถ่ายภาพหรือถ่ายคลิปวิดีโอในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า วนอุทยาน และ/หรือป่าสงวนแห่งชาติ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ และกรมป่าไม้โดยเคร่งครัด และหากเป็นโขนพื้นที่เปราะบาง (พื้นที่อนุรักษ์ที่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต) จะต้องมีการขออนุญาตเข้า พื้นที่ในทุกกรณี และจะต้องมีเอกสารที่ได้รับอนุญาตจากราชการ หรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องมาแสดงเมื่อคณะกรรมการตัดสินร้องขอ
  7. ในวันที่ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวด ตลอดระยะเวลาที่การประกวดยังไม่เสร็จสิ้น ผู้ ส่งภาพหรือคลิปวิดีโอเข้าประกวดขอรับรองและยืนยันว่าภาพและคลิปวิดีโอดังกล่าว ข้างต้น เป็นภาพและคลิปวิดีโอที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดโด ๆ มาก่อน (ไม่ว่าจะ เป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม, ชมรม หรือองค์กร อื่นใด) และ/หรือ ไม่เคยถูกตีพิมพ์ และ/หรือ เผยแพร่ หรือโฆษณาในนิตยสาร, หนังสือ, สื่ออินเทอร์เน็ต หรือโพสต์ลงเว็บไชต์ (ไม่ว่าจะกระทำผ่านรูปแบบใด ๆ เช่น PC. Notebook, Smart Phone และ/หรือ Smart Device ใด ๆ ก็ตาม) ยกเว้นการโพสต์ลง โซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือเชิงพาณิชย์หรือเพื่อการโฆษณา และ/หรือ ไม่เป็นภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่ส่งขายอยู่ในคลังภาพ (Stock Photo) ไม่ว่าใน ประเทศไทยหรือต่างประเทศ ทั้งนี้ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ข้างต้น ผู้ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวดตกลงให้การพิจารณาวินิจฉัยของ คณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด และจะดำเนินการให้เป็นไปตามข้อร้องเรียน ข้างต้นจนกว่าการประกวดข้างต้นจะเสร็จสิ้นลง
  8. ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องรักษาไฟล์ภาพต้นฉบับทั้งก่อนและหลังการปรับแต่งไว้ โดย คณะกรรมการตัดสินสามารถเรียกขอไฟล์ภาพดังกล่าวได้ หากเกิดกรณีมีการประท้วงใน การทำผิดกติกา หรือในกรณีที่จะต้องนำภาพถ่ายไปพิมพ์ในขนาดใหญ่ สำหรับไฟล์คลิป วิดีโอ ผู้ชนะการประกวดต้องเก็บไฟล์ RAW และมอบให้หลังจากคณะกรรมการได้ตัดสิน เสร็จสิ้นแล้ว
  9. ภาพที่เข้ารอบทุกภาพ (รวมถึงภาพที่ได้รับรางวัล) และคลิปวิดีโอที่เข้ารอบ (รวมถึงคลิป วิดีโอที่ได้รับรางวัล) ผู้ส่งเข้าประกวดตกลงให้ ผู้จัดประกวด คือ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, บริษัท ทรู คอร์ ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ถือลิขสิทธิ์ในภาพถ่ายร่วมกัน กับผู้ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวด โดยผู้จัดประกวดสามารถนำไปใช้เผยแพร่หรือดัดแปลง และทำซ้ำ ได้เพื่อประโยชน์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท เจริญญ โภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) รวมถึงนำไปจัดแสดงในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ เพื่อสร้าง การรับรู้และตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรสัตว์ป่า ป่าไม้ และระบบนิเวศ หรือดำเนินการ ใด ๆ ในเชิงพาณิชย์กับภาพและคลิปวิดีโอที่เข้ารอบ และชนะการประกวดนั้นได้อย่าง สมบูรณ์ ซึ่งอาจระบุชื่อผู้ถ่ายหรือไม่ก็ได้ตามความเหมาะสม ที่เขารอบ
  10. ภาพและคลิปวิดีโอที่ไม่เข้ารอบทั้งหมดภายหลังการประกวดเสร็จสิ้นลง คณะกรรมการ ตัดสินจะลบไฟล์ภาพทั้งหมดทิ้ง และลิขสิทธิ์ของภาพและคลิปวิดีโอในกรณีนี้ยังคงเป็น ของเจ้าของภาพและเจ้าของคลิปวิดีโอ (แล้วแต่กรณี) โดยเจ้าของภาพและคลิปวิดีโอดังกล่าวข้างต้นตามข้อนี้มีสิทธิ์แสวงหาประโยชน์จากภาพและคลิปวิดีโอได้อย่างสมบูรณ์
  11. หากพบว่าผู้ส่งภาพและ/หรือคลิปวิดีโอเข้าประกวดมีการทำผิดกติกา เช่น ภาพที่ส่งมามี คุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือทำผิดกติกาการประกวดในข้อใดข้อหนึ่ง คณะกรรมการตัดสิน มีอำนาจในการตัดสิทธิ์ผู้ส่งภาพเข้าประกวดรายนั้น โดยมีโทษตั้งแต่การตัดสิทธิ์ในการ ประกวด การเพิกถอนสิทธิ์ในทุกรางวัล จนถึงโทษขั้นสูงสุดคือ ไม่ให้ส่งภาพและ/หรือคลิป วิดีโอเข้าประกวดในทุกกิจกรรมของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตัดสินมีมติตัดสิทธิ์ ภาพและคลิปวิดีโอนั้น ๆ และหากผู้ถูกตัดสิทธิ์ได้ส่งภาพรวมทั้งคลิปวิดีโออื่นเข้าร่วม ประกวดในช่วงระยะเวลาการห้ามส่งภาพและ/หรือคลิปวิดีโอเข้าร่วมประกวด (แม้ภาพและ คลิปวิดีโอเหล่านั้นจะไม่ผิดกติกาก็ตามแต่) ก็จะถูกตัดสิทธิ์ ไม่ให้รับรางวัลใด ๆ ด้วยเช่นกัน และหากได้รับค่าตอบแทน และ/หรือ รางวัลใดรางวัลหนึ่งไปแล้วผู้จัดประกวดก็สามารถ ยกเลิกและเปลี่ยนแปลงการตัดสิน รวมทั้งขอคืนค่าตอบแทน และ/หรือ รางวัลคืนได้ ทั้งหมด
  12. หากปรากฏว่าผู้ที่ส่งภาพหรือคลิปวิดีโอเข้าประกวดมีข้อผิดพลาดอื่น ๆ อันมิได้เกิดจากการ ทำผิดกติกา เช่น การกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน การส่งภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่ผิดขนาด หรืออื่น ๆ คณะกรรมการอาจตัดสินให้ภาพถ่ายนั้นเป็นโมฆะตามแต่กรณี การพิจารณา ตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
  13. ผู้ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกฎกติกาไม่ครบถ้วน หรือไม่เข้าใจกฎ กติกา เป็นอันขาด และการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด

การคัดค้านภาพและคลิปวิดีโอที่ผ่านเข้ารอบ

  1. ภาพที่ผ่านเข้ารอบในทุกประเภทย่อย 7 ภาพสุดท้าย และคลิปวิดีโอที่ผ่านเข้ารอบจะเปิดให้ มีการคัดค้านเกี่ยวกับการทำผิดกติกา ตั้งแต่วันที่ 7 – 19 ตุลาคม 2568 ซึ่งผู้คัดค้านจะต้อง แจ้งข้อมูล และ/หรือ แสดงหลักฐานการคัดค้านให้เรียบร้อยในวันที่แจ้งการคัดค้าน หากไม่ สามารถแจ้ง และ/หรือ แสดงหลักฐานการคัดค้านให้เรียบร้อยในคราวเดียวกันได้หรือหาก พ้นกำหนดระยะเวลาคัดค้านในวันที่ 21 ตุลาคม 2568 ให้ถือว่าการคัดค้านไม่มีผลใด ๆ
  2. หากปรากฏว่าผู้ที่ส่งภาพหรือคลิปวิดีโอเข้าประกวดมีข้อผิดพลาดอื่น ๆ อันมิได้เกิดจากการ ทำผิดกติกา เช่น การกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน การส่งภาพถ่ายที่ผิดขนาด หรือส่งคลิปวิดีโอที่ผิดเงื่อนไขเข้าร่วมประกวด หรืออื่น ๆ คณะกรรมการอาจตัดสินให้ภาพหรือคลิปวิดีโอนั้น เป็นโมฆะตามแต่กรณี การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและ เด็ดขาด
  3. ผู้ส่งภาพและคลิปวิดีโอเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกฎ กติกาไม่ครบถ้วน หรือไม่เข้าใจกฎ กติกา เป็นอันขาด และการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการ ตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
  4. ส่งข้อมูล และหลักฐานการคัดค้าน พร้อมชื่อ สกุลผู้แจ้งคัดค้าน โดยต้องส่งผ่าน อีเมล์ CP [email protected] เท่านั้น

รางวัลการประกวดภาพถ่าย

  1. ระดับบุคคลทั่วไป

1.1 ประเภท “สัตว์มีค่า

รางวัลเกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

  • ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (นำรางวัลยอดเยี่ยมของ “สัตว์มีค่า” ทั้ง 5 ประเภทย่อย มาตัดสินเพื่อคัดเลือกเป็นรางวัลเกียรติยศ)
  • เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 5 รางวัล

  • ถ้วยรางวัล จากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเลิศ จำนวน 5 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล ๆ ละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเด่น จำนวน 5 รางวัล

  • โล่รางวัล จากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล ๆ ละ 15,000 พร้อมเกียรติบัตร

1.2 ประเภท “ป่ามีคุณ

รางวัลเกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล

  • ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (นำรางวัลยอดเยี่ยมของ “สัตว์มีค่า” ทั้ง 5 ประเภทย่อย มาตัดสินเพื่อคัดเลือกเป็นรางวัลเกียรติยศ)
  • เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลยอดเยี่ยมจำนวน 3 รางวัล

  • ถ้วยรางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
    เงินรางวัลๆละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเลิศจำนวน 3 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเด่นจำนวน 3 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัลๆ ละ 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  1. ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา

ประเภท “สัตว์มีค่า

รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล

  • ถ้วยรางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเลิศ จำนวน 1 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเด่นจำนวน 1 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

ประเภท “ป่ามีคุณ
รางวัลยอดเยี่ยมจำนวน 1 รางวัล

  • ถ้วยรางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
    เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเลิศจำนวน 1 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
    เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเด่นจำนวน 1 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  1. รางวัลการประกวดคลิปวิดีโอ สัตว์มีค่า

รางวัลยอดเยี่ยมจำนวน 1 รางวัล

  • ถ้วยรางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเลิศจำนวน 1 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
    เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลดีเด่นจำนวน 1 รางวัล

  • โล่รางวัลจากโครงการประกวดภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • เงินรางวัล15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

หมายเหตุ :
ทุกรางวัลจะได้รับสิทธิ์ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ฯ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมที่พัก จำนวน 3 วัน 2 คืน จำนวนไม่เกิน 6 ท่าน โดยผู้รับรางวัลจะต้อง ประสานงานจองที่พักกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ด้วยตนเอง และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่

กำหนดการจัดโครงการ ฯ

  • เปิดรับสมัครภาพถ่ายและคลิปวิดีโอเข้าประกวด วันที่ 15 กรกฎาคม 2568
  • ปิดรับสมัครภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ วันที่ 31 สิงหาคม 2568
  • ตัดสินภาพถ่ายออนไลน์ รอบที่ 1 วันที่ 11-14 กันยายน 2568
  • ตัดสินภาพถ่ายออนไลน์ รอบที่ 2 วันที่ 19-21 กันยายน 2568
  • ตัดสินภาพถ่ายและคลิปวิดีโอรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 4 ตุลาคม 2568
  • เปิดรับการร้องเรียนภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่เข้าข่ายได้รับรางวัล 7 ตุลาคม 2568
  • ปิดรับการร้องเรียนภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่เข้าข่ายได้รับรางวัล วันที่ 19 ตุลาคม 2568
  • ประกาศผลการตัดสินภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ วันที่ 24 ตุลาคม 2568
  • พิธีมอบรางวัล ประจำปี 2568 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2569
  • จัดนิทรรศการภาพถ่ายฯ ประจำปี 2568 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ -​ 1 มีนาคม 2569

“หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

รายละเอียดเพิ่มเติมที่

  • ฝ่ายบริหารกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคารทรูทาวเวอร์ ชั้น 27 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 0 2858-6837
  • Email: CP [email protected]
  • Facebook: “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ
  • IG: cp_photocontest
  • สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เลขที่ 61 อาคารสืบ นาคะเสถียร ชั้น 6 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • โทรศัพท์ 02-579-6666 ต่อ 1641-2

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video