Basic Knowledge Photography

ชัดลึก ชัดตื้น คือแบบไหน??

ชัดลึก ชัดตื้น คือแบบไหน??

ชัดลึก ชัดตื้น เป็นคำที่ใช้กันบ่อยๆ ในวงการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นการระบุถึงลักษณะของภาพนั้นๆ อย่างชัดเจน ซึ่งชัดตื้น จะใช้ควบคู่ไปกับคำว่าหน้าชัดหลังเบลอ ทำให้ช่างภาพมือใหม่ๆ อาจจะยังเข้าใจผิดไป ว่าชัดตื้นคือหน้าชัดหลังเบลอ ส่วนชัดลึกคือ หลังชัด หน้าเบลอ หรือแบ็คกราวน์ด้านหลังชัด ด้านหน้าเบลอ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดครับ

ภาพบุคคล เป็นอีกรูปแบบชัดตื้นอย่างหนึ่ง ที่เน้นความโดดเด่นของตัวแบบ โดยไม่ต้องการฉากหลังมารบกวน จึงต้องใช้รูรับแสงกว้างๆ

แสงสว่างด้านหลัง ซึ่งเกิดได้จากทั้งหลอดไฟ หรือแสงที่ส่องทะลุใบไม้ลงมา แล้วเบลอจากการอยู่นอกระยะชัด หรือ out focus จะเกิดเป็นดวงๆ เบลอๆ เรียกว่า Bokeh ใช้เสริมความน่าสนใจให้กับภาพ

ภาพแมลงที่ต้องการเน้นตัวแมลงเป็นพิเศษ จึงมักจะใช้รูรับแสงกว้าง และเลือกฉากหลังที่มีรายละเอียดน้อยๆ เมื่อเบลอจากระยะโฟกัส จะเรียกเบลอเป็นวุ้น หรือเบลอแบบไม่สามารถระบุรายละเอียดของฉากหลังเลย

ชัดลึก ชัดตื้น เป็นผลที่เกิดจากการใช้รูรับแสงแตกต่างกัน เป็นความรู้พื้นฐานที่คนชอบถ่ายภาพจะต้องเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ชัดตื้น เกิดจากการใช้รูรับแสงกว้างๆ เช่น f/1.2, f/1.4 หรือ f/2 จะชัดเฉพาะจุดที่โฟกัส ด้านหน้าและด้านหลังของจุดโฟกัสจะเบลอ ถ้าหากโฟกัสที่ซับเจคต์ด้านหน้า จะได้ภาพหน้าชัด หลังเบลอ ถ้าโฟกัสที่ซับเจคต์ด้านหลัง จะได้ภาพหลังชัด หน้าเบลอ เอาไว้สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการเน้นจุดที่โฟกัสให้โดดเด่นเพียงอย่างเดียว ส่วนอื่นๆ จะเบลอทั้งหมด หรือพอจะมีรายละเอียดบ้าง ตามขนาดรูรับแสงที่ใช้ เช่น ภาพ Portrait, ภาพนก หรือภาพแมลง เป็นต้น

การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ มักจะใช้รูรับแสงแคบๆ เพื่อเน้นความชัดเจนของสิ่งที่อยู่ในเฟรมภาพทั้งหมดนั่นเอง

ชัดลึก คือการใช้รูรับแสงแคบๆ เช่น f/11, f/16 หรือ f/22 เพื่อต้องการให้สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในเฟรมภาพชัดทั้งหมด เหมาะสำหรับถ่ายภาพวิวทิวทัศน์, ถ่ายภาพสินค้า หรือถ่ายภาพน้ำตก  เป็นต้น แต่มีข้อควรระวังสำหรับการใช้รูรับแสงแคบสุดของเลนส์ตัวนั้นๆ ซึ่งจะเกิดอาการ Diffraction หรือการเลี้ยวเบนของแสง ทำให้ภาพลดความคมชัดลงไปพอสมควร

การใช้รูรับแสงแคบสุดของเลนส์นั้นๆ จะทำให้เกิดอาการ Diffraction ซึ่งจะทำให้ความคมชัดของภาพลด ถึงแม้จะได้ระยะชัดมากๆ ก็ตาม ดังนั้นภาพที่ต้องการชัดลึกสูงสุด หรือมีฉากหน้าที่อยู่ใกล้ๆ หน้าเลนส์ และหลีกเลี่ยงการใช้รูรับแสงแคบสุด จะใช้วิธีการเปลี่ยนจุดโฟกัส ไปที่ระยะประมาณ 1/3 ของเฟรมภาพ แต่ถ้าหากว่ายังได้ระยะชัดที่ไม่พอ จะใช้วิธีเปลี่ยนจุดโฟกัสหลายๆ จุด แล้วถ่ายไว้หลายๆ ภาพ จากนั้นค่อยเอามา Stack รวมเป็นภาพเดียวในโปรแกรมตกแต่งภาพก็ได้

ภาพมาโคร เป็นภาพที่ต้องถ่ายในระยะใกล้มากๆ ซึ่งถึงแม้ว่าจะใช้รูรับแสงแคบๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะคุมระยะชัดลึกได้ทั้งหมด เป็นภาพอีกแบบหนึ่งที่มักจะใช้วิธี Stack Focus แล้วเอามารวมกันภายหลัง เพื่อให้ได้ความคมชัดสูงสุด

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video