ถ่ายภาพคร่อม ฟังก์ชั่นที่ถูกลืม
ถ่ายภาพคร่อม หรือ Bracketing หรือตัวย่อ BKT เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นในกล้องถ่ายรูปที่หลายๆ คนอาจจะไม่เคยใช้ หรือไม่รู้เลยว่ากล้องตัวเองก็มีฟังก์ชั่นนี้ให้ใช้ ยิ่งเมื่อใช้กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ แบบ Mirrorless ที่ปรับแล้วเห็นภาพจริงก่อนที่จะกดชัตเตอร์ได้เลย ทำให้ความจำเป็นในการใช้งานลดลงไปด้วย
ค่าที่ตั้งกล้องปกติ
ค่าที่กล้องปรับให้ส่วน Shadow มืดลงกว่าปกติ
ค่าที่กล้องปรับให้ส่วน Shadow สว่างกว่าปกติ
สำหรับกล้องถ่ายรูปยุคก่อน หรือในยุคกล้องฟิล์ม การถ่ายภาพคร่อม จะเป็นการถ่ายคร่อมแสง เผื่อเหลือ เผื่อขาด สำหรับมือใหม่ที่อาจจะยังไม่แม่นในเรื่องของการวัดแสง แต่สำหรับกล้องยุคใหม่ อย่างกล้อง Mirrorless สามารถเลือกการคร่อมได้หลากหลายมากขึ้น โดยการถ่ายภาพคร่อม จะช่วยเพิ่มตัวเลือกที่เหมาะสม กับการใช้งานในแต่ละแบบ โดยไม่ต้องคอยปรับแก้ไปมา ซึ่งบางครั้ง รูปแบบหรือซับเจคต์ที่ต้องการถ่าย อาจจะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว หรืออาจจะเกิดขึ้นมาเพียงแค่แป๊บเดียวก็ได้ แต่การถ่ายภาพคร่อม จะช่วยให้ได้จังหวะเดียวตอนกดชัตเตอร์ตามจังหวะที่เราต้องการ แต่ได้ภาพที่แตกต่างกัน 3 ภาพ หรือ 5 ภาพ ขึ้นอยู่กับรุ่นกล้อง หรือการตั้งค่านั่นเอง
ค่าวัดแสงปกติ
กล้องปรับค่าวัดแสงให้มืดลงกว่าที่วัดได้ปกติ
กล้องปรับค่าวัดแสงให้สว่างขึ้นกว่าที่วัดได้ปกติ
ฟังก์ชั่นถ่ายภาพคร่อมของกล้องรุ่นใหม่ๆ จะเลือกฟีเจอร์ถ่ายภาพคร่อมได้หลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะการถ่ายภาพคร่อมแสงเท่านั้น แต่ยังเลือกการถ่ายภาพคร่อมไวท์บาลานซ์, ถ่ายภาพคร่อมไดนามิกเรนจ์ หรือการถ่ายภาพคร่อมเอฟเฟคต์แบบต่างๆ ที่มีในกล้องได้ด้วย ช่วยให้ได้ภาพที่หลากหลายมากขึ้นนั่นเอง
Leave feedback about this