PHOTO CONTEST

STOP STIG Short Films 2024 หัวข้อ “ภารกิจ ยุติเอดส์ ไม่ติด ไม่ตีตรา”

มูลนิธิเอ็มพลัส ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สำนัก 2) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการประกวดคลิปวิดีโอ ภายใต้หัวข้อ “ภารกิจ ยุติเอดส์ ไม่ติด ไม่ตีตรา” ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 บาท

STOP STIG Short Films 2024 โครงการประกวดคลิปวิดีโอ ภายใต้หัวข้อ “ภารกิจ ยุติเอดส์ ไม่ติด ไม่ตีตรา” เพื่อออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา การสื่อสาร หรือการให้ข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนให้มวลชนมีส่วนร่วม ในการออกแบบสร้างสรรค์สื่อ ที่ส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอชไอวี ลดการตีตราเลือกปฏิบัติ ต่อผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี รวมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้คนในสังคม ร่วมกันยุติปัญหาเอชไอวีในประเทศไทย โดยใช้สื่อวิดีโอเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด ในการยุติเอดส์ในระดับประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์

  • สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับเอชไอวี / เอดส์
  • กระตุ้นให้คนในสังคม เกิดแรงบันดาลใจในการยุติเอดส์
  • ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียม ของผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวีในสังคม

เป้าหมายของโครงการ

  • ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ ต่อผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี และผู้ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี

กลุ่มเป้าหมาย

  • นักเรียน/นักศึกษา
  • บุคคลทั่วไป

กำหนดระยะเวลา

  • เปิดรับสมัครตั้งแต่ 28 ตุลาคม 2567 ถึง 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 23.59 น.
  • 16 พฤศจิกายน 2567 ประกาศผลทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าประกวด ทางเว็บไซต์ stopstig.com, Facebook Fanpage Stop Stig และ E-mail ผู้เข้าประกวด
  • 17 พฤศจิกายน 2567 กิจกรรม STOPSTIG Masterclass ประชุมชี้แจงรายละเอียด เนื้อหา เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ และการลดตีตราไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ที่อยู่กับเอชไอวี และรายละเอียดโครงการ สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือก ผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom
  • 18 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2567 เปิดรับผลงาน
  • 15 ธันวาคม 2567 ปิดรับผลงานการประกวด เวลา 23.59 น.
  • 16-18 ธันวาคม 2567 ตัดสินผลงานการประกวด
  • 22 ธันวาคม 2567 ประกาศผลการตัดสิน และมอบรางวัลศูนย์นวัตกรรมการสื่อสาร คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กติกาและเงื่อนไข

  1. ผู้เข้าประกวดทุกประเภทการแข่งขัน ต้องกรอกแบบฟอร์มการสมัครใน Google Form เท่านั้น
  2. ผู้ส่งผลงานส่งผลงานได้ 1 เรื่อง ต่อ 1 คน/ทีม *ไม่จำกัดจำนวนสมาชิกในทีมและไม่จำกัดอายุ
  3. จัดทําคลิปความยาว ไม่เกิน 7-10 นาที (รวมเครดิต)
  4. ไฟล์ผลงานที่ส่งประกวดต้อง Upload ลงบน Google Form (สำหรับส่งผลงาน) มีความละเอียดการแสดงผลไม่น้อยกว่าระดับ Full HD (1920×1080) อัตราส่วน ต่อภาพ 16:9 และบันทึกไฟล์ที่มีนามสกุล MOV MPEG4 หรือ MP4
  5. ต้องใส่โลโก้ Stop Stig ที่มุมขวาบนของคลิป และตอนจบของคลิปต้องใส่โลโก้ สสส, Stop Stig, มูลนิธิเพื่อรัก, U=U&ME และ MPLUS (โดยดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ หรือ QR Codeที่ ผู้จัดกําหนด)
  6. ผู้ส่งผลงานต้องระบุชื่อเรื่องของผลงาน ตามด้วยชื่อบุคคล หรือชื่อทีม
  7. ผู้ส่งผลงานต้องจัดทำแนวคิดและเนื้อเรื่องโดยย่อ จำนวน 1 ฉบับ ส่งมาพร้อมผลงานการประกวด
  8. คลิปที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นเนื้อหาภายใต้หัวข้อหลัก “ภารกิจ STOPSTIG หมู่เฮาจาวเจียงใหม่ไม่ติดไม่ตีตราเอชไอวี” ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกหัวข้อย่อยได้อย่างอิสระ เช่น ▪️เรื่องราวของผู้ที่มีชีวิตอยู่กับเอชไอวี ▪️การทำลายอคติและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเอชไอวี และผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี ▪️การส่งเสริมการตรวจหาเชื้อเอชไอวีการสนับสนุนผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี ▪️การสร้างสังคมที่ลดตีตราไม่เลือกปฏิบัติติและเท่าเทียมต่อผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี โดยผู้เข้าร่วมต้องรับฟังข้อมูลเนื้อหา และประเด็น สําหรับนําไปผลิตคลิป ตามวันและเวลาที่กําหนด (ทางระบบออนไลน์)
  9. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นหนังสั้นที่ผู้ส่งประกวดดำเนินการผลิต/จัดทำด้วยตนเองเท่านั้น โดยต้องไม่คัดลอก ทำซ้ำ ลอกเลียนแบบ อันเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น รวมทั้งไม่สามารถว่าจ้างให้ผู้อื่นผลิต/จัดทำแทนได้
  10. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อลิขสิทธิ์ของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิป วีดิโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงาน โดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน ทางผู้จัดโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์
  11. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่มีลักษณะส่อไปในทางลามกอนาจาร หยาบคาย น่ารังเกียจ ดูหมิ่นสถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี ของประชาชนไม่ว่าจะในทางตรงและทางอ้อม ไม่มีโฆษณาแฝง
  12. ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของ สสส. มูลนิธิเอ็มพลัส และมูลนิธิเพื่อรัก ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม
  13. ไม่อนุญาตให้นำผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในเวทีอื่นๆ หรือผลงาน ที่เคยนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะชนในรูปแบบสื่อการสอน cd / dvd / เว็บไซต์ / สื่อวิทยุ / สื่อโทรทัศน์ เข้าร่วมประกวดอีก หากคณะกรรมการสืบทราบ จะถูก ตัดสิทธิ์จากรางวัลทันทีหรือเรียกคืน
  14. ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดหมายเหตุ: ช่องทางการส่งผลงานกำหนดช่องทางการส่งผลงาน เช่น อัปโหลดคลิปวิดีโอลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และส่งลิงก์มาที่อีเมลที่กำหนด
  15. ลิงก์สมัครร่วมการประกวด https://forms.gle/us5MzJQmyCTUsDQa8

เกณฑ์การตัดสิน

  1. เนื้อหาในภาพรวม 40 คะแนน
  2. ความคิดสร้างสรรค์ 20 คะแนน
  3. การเปลี่ยนแปลง ความนิยม 30 คะแนน
  4. คุณภาพการผลิต 10 คะแนน

คณะกรรมการตัดสิน: จัดตั้งคณะกรรมการตัดสินที่มีความหลากหลาย เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข, ผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม, ตัวแทนจากกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเอชไอวี, และผู้มีชื่อเสียง ประสบการณ์การทำงาน ในวงการภาพยนตร์

รางวัลการประกวด

ประเภทนักเรียน นักศึกษา

  1. รางวัลชนะเลิศ 50,000 บาท
  2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 30,000 บาท
  3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 20,000 บาท
  4. รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

ประเภทบุคคลทั่วไป

  1. รางวัลชนะเลิศ 50,000 บาท
  2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 30,000 บาท
  3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 20,000 บาท
  4. รางวัลชมเชย 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท

กิจกรรมส่งเสริมโครงการประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

  • สื่อสังคมออนไลน์, เว็บไซต์, โรงเรียน, มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรม
  • จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปให้ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้าร่วมประกวด
  • ร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการเผยแพร่โครงการ

ติดต่อสอบถาม

  • ออย โทร 088-266-7560
  • เอฟฟี่ โทร 080-030-6915
  • เนสตี้ โทร 065-996-5365
  • อีเมล : [email protected]

หมายเหตุ ข้อมูลเป็นความลับเฉพาะทีมงานเท่านั้น ทีมงานดำเนินการตามแนวปฏิบัติ เรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) อย่างเคร่งครัด

Leave feedback about this

  • Quality
  • Price
  • Service

PROS

+
Add Field

CONS

+
Add Field
Choose Image
Choose Video