Basic

Simple Tips for Interior Photography

ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมไม่ได้หมายถึงการถ่ายภาพเฉพาะภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ภายในด้วย แม้ว่าบางสถานที่อาจมีข้อห้ามในการถ่ายภาพภายใน แต่บางสถานที่จะสามารถถ่ายภาพได้ซึ่งหลายสถานที่มีภายในที่สวยงามและน่าสนใจไม่แพ้ภายนอก อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าไปภายในของสิ่งก่อสร้างเพื่อถ่ายภาพจะเป็นเหมือนกับอีกด้านของการถ่ายภาพที่แตกต่างไปจากภายนอกอาคารจากลักษณะของความจำกัดในด้านพื้นที่ และลักษณะของแสงที่ใช้เพื่อถ่ายภาพ อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันเมื่อถ่ายภาพทั้งภายนอกและภาบในของสิ่งก่อสร้างคือ อย่าจำกัดเฉพาะการใช้เลนส์มุมกว้างหรือภาพโดยรวมของสถานที่เท่านั้น แต่ควรมองหาสิ่งที่น่าสนใจหรือรายละเอียดเล็กๆ ภายในอาคารด้วย แต่ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเมื่อก้าวเข้าไปภายในสิ่งก่อสร้างเพื่อถ่ายภาพ

อะไรคือศูนย์กลางความสนใจหรือวัตถุในภาพ

เมื่อถ่ายภาพสถาปัตยกรรมภายนอกแน่ชัดว่าศูนย์กลางความสนใจของภาพหรือวัตถุสำคัญในภาพคืออาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถาปัตยกรรมนั้น แต่เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางสถานที่แม้โดยรวมจะมีความสวยงาม แต่นักถ่ายภาพก็ควรมองสิ่งที่เป็นศูนย์กลางความสนใจในภาพด้วย และวิธีหนึ่งที่จะทำให้สิ่งที่เป็นศูนย์กลางความสนใจของภาพชัดเจนคือมองหาเส้นที่จะนำไปยังสิ่งที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจในภาพ เพราะด้วยเส้นที่นำไปสู่ส่วนหลักของภาพจะช่วยความสนใจจากผู้ดูเข้าไปในภาพได้ โดยเส้นที่ใช้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงหรือสิ่งที่เป็นเส้นตามตัวอักษร เพราะอาจเป็นแถวของเก้าอี้หรือแนววัตถุที่มีลักษณะอียงแนวตั้งที่นำไปสู่ส่วนสำคัญได้

นอกจากนี้นักถ่ายภาพควรมีความสังเกตและใช้สายตาให้เป็นประโยชน์เพื่อมองหาสิ่งที่น่าสนใจหรือสิ่งที่จะใช้เป็นศูนย์กลางความสนใจในภาพ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพบนผนัง รายละเอียดของการก่อสร้างที่มีความเก่าแก่ เพราะสิ่งที่สามารถใช้เป็นส่วนหลักในภาพหลายๆ สิ่งภายในอาคารอาจถูกมองข้ามได้

ใช้ฉากหน้าที่เรียบง่าย

รูปแบบหรือลวดลายที่ปรากฏบนพื้นจะสามารถเป็สิ่งที่ช่วยสร้างความลึกให้แก่ภาพได้ ซึ่งหากเป็นไปได้ไม่ว่าจะด้วยการใช้ขาตั้งกล้องหรือปรับควมไวแสงสูงจะช่วยให้สามารถใช้รูรับแสงแคบเพื่อช่วยให้สิ่งต่างๆ มีความชัดมากขึ้นได้จากระยะชัดที่มากในภาพ นอกจากนี้ควรลองจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้บางสิ่งที่อยู่ภายในอาคารเข้ามาประกอบเพื่อช่วยดึงความสนใจไปยังส่วนหลัก

เอาตัวรอดในสภาพแสงที่น้อย

หนึ่งในปัญหาที่มักเจอเมื่อถ่ายภาพในอาคารก็คือเมักเป็นการถ่ายภาพในสภาพแสงที่น้อยซึ่งแน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการเอาชนะสถานการณ์ถ่ายภาพลักษณะนี้คือการใช้ขาตั้งกล้องร่วมด้วย เพราะความนิ่งจากการใช้ขาตั้งกล้องจะช่วยให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้ตํ่าโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องความเบลอจากการสั่นของนักถ่ายภาพ แต่อย่างไรก็ตามแม้จะใช้ขาตั้งกล้องถ่ายภาพ เพื่อเพิ่มความนิ่งให้กับกล้อง แต่สิ่งหนึ่งที่นักถ่ายภาพควรระวังหรือใส่ใจก็คือความนิ่งของขาตั้งกล้อง เพราะพื้นของสถานที่บางแห่งที่มีคนพลุกพล่านก็สามารถทำให้เกิดการสั่นได้ จึงอาจทำให้ต้องเลี่ยงการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ตํ่ามากๆ

พื้นที่ในภาพ

หากพื้นที่ถ่ายภาพมีเพียงพื้นที่เดียวหรือมุมเดียวก็จะเป็นการเน้นถึงสิ่งนั้น แต่หากพื้นที่ที่ถ่ายภาพถูกแบ่งเป็นส่วนนักถ่ายภาพจะสามารถใช้สิ่งนี้เพื่อสร้างความน่าสนใจเพื่อแสดงถึงลักษณะของสถาปัตยกรรมภายในได้มากขึ้น หรือใช้เพื่อแสดงเรื่องราวของสถานที่นั้นได้มากขึ้น แต่สิ่งที่ควรระวังคือการแบ่งพื้นที่ในภาพ โดยควรแบ่งพื้นที่ของภาพเป็น 2/3 ไม่ควรแบ่งในลักษณะ 50:50 หรือครึ่งหนึ่งในแต่ละส่วน สิ่งที่ควรคิดไว้เสมอคืออย่าโลภในการพยายามเก็บพื้นที่ทั้งสองส่วนไว้ในภาพให้มากที่สุดจนทำให้ห็นพื้นที่ทั้งสองเท่าในภาพเท่ากัน เพื่อให้ผู้ดูภาพรู้ว่าส่วนใดคือสิ่งสำคัญในภาพ

ระดับความสูง

แม้ว่าหลายครั้งที่การถ่ายภาพในมุมตํ่าโดยที่ยังคงแสดงให้เห็นถึงส่วนสำคัญภายในอาคารด้วยจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพได้ แต่ก็ไม่ควรละเลยที่จะถ่ายภาพในระดับความสูงที่ช่วยเน้นสิ่งสำคัญในภาพโดยที่ไม่มีสิ่งรบกวนและมีความชัดเจน สิ่งหนึ่งที่ควรระวังในหลายสถานการคือความสับสนและไม่ชัดเจนจากการถ่ายภาพมุมสูงจากการเห็นสิ่งต่างๆ ที่มาก ระดับความสูงหนึ่งที่เหมาะการถ่ายภาพในอาคารคือต่ำกว่าระดับสายตาโดยอยู่ในระดับเอว หากยิ่งถ่ายภาพในมุมสูงมากก็จะยิ่งตัดสิ่งที่อยู่ด้านหน้าออกไปมาก

อย่ากว้างเกินไป

สิ่งหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เริ่มถ่ายภายในอาคารคือมักจะใช้เลนส์มุมกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อพยายามถ่ายภาพห้องทั้งหมด เพราะคิดว่าการใช้เลนส์มุมกว้างจะเห็บภาพห้องทั้งหมดได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่มากกว่าไม่ได้หมายความว่าจะดีกว่า เพราะสิ่งหนึ่งที่นักถ่ายภาพต้องเชิญเเมื่อใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ หรือเลนส์มุมกว้างเป็นพิเศษคือดิสทอร์ชั่นที่ขอบภาพ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนกับห้องหรือพื้นที่ที่มีขนาดเล็กที่ขอบเฟรมอยู่ในส่วนมุมกว้างของกล้อง โดยทั่วไปแล้วเลนส์ทางยาวโฟกัสระหว่าง 21-28 มม. มักจะให้ความสมดุลย์ในเรื่องดิสทอร์ชั่นกับมุมรับภาพที่กว้างเพียงพอสำหรับการถ่ายทอดให้เห็นลักษณะของภายในอาคาร ขณะที่เลนส์มุมกว้างเป็นพิเศษจะทำให้ด้านข้างของเฟรมดูยืดออกและเส้นแนวนอนไม่เป็นเส้นแนวนอน ซึ่งหากพบว่าเมื่อใช้เลนส์ 21 มม. แล้วยังไม่สามารถบันทึกภาพได้กว้างอย่างที่ต้องการการถ่ายภาพเป็นชุดเพื่อนำมาทำภาพพาโนรามาอาจเป็นทางเลือกที่ดี

เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ


อย่าลืมกด Like เพจ FOTOINFO เพื่อติดตามและอัพเดทข่าวสารใหม่ๆ อย่างทันท่วงทีกันนะคร๊าบ ^^


หากเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์และแชร์ด้วยนะครับ
FOTOINFO มี LINE@ OFFICIAL แล้ว !!! อย่าลืมแอดไลน์ @FOTOINFO (หรือสแกน QR Code ในภาพนี้)

? ขอบคุณครับ


ติดตามเทคนิค ความรู้เรื่องการถ่ายภาพ กิจกรรมถ่ายภาพ และสิทธิประโยชน์มากมาย ส่งตรงถึงคุณ ได้ที่นี่ FotoinfoPlus

หรือสนใจสาระความรู้ด้านการถ่ายภาพที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่นี่

https://test2.fotoinfo.online/all-about-photo/basic