BASIC PHOTO TECHNIQUES

อากาศแย่ๆ จะปรับแก้ยังไงดี??

อากาศแย่ๆ จะปรับแก้ยังไงดี?? อากาศแย่ๆ มีผลกับทั้งจิตใจและภาพถ่ายของเราล่ะครับ เช่น ทำให้หดหู่ ไม่สดชื่น ภาพถ่ายของเราในสภาพอากาศแย่ๆ ก็จะออกมาซอฟท์ๆ ทึมๆ สีสันอาจจะไม่จี๊ดจ๊าดเท่าที่ควร ถึงแม้ว่า ในการออกไปถ่ายภาพแต่ละครั้ง ทุกคนก็คาดหวังว่าจะได้สภาพแสงดีๆ ฟ้าใสๆ เพื่อจะได้ภาพที่มีสีสันอิ่มตัวตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องปรับแต่งอะไรมากมายนัก แต่ฤดูกาล หรือสภาพฝนฟ้าอากาศเป็นหนึ่งปัจจัยหลักที่เราไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูมาสุมเช่นนี้ ซึ่งถ้าเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เมื่อต้องเจอกับสภาพอากาศแย่ๆ เราจะมีวิธีแก้ปัญหาในการถ่ายภาพอะไรได้บ้าง

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

จัดมุมกล้องยังไง ถ้าต้องถ่ายย้อนแสง??

จัดมุมกล้องยังไง ถ้าต้องถ่ายย้อนแสง?? จัดมุมกล้อง เป็นอีกหนึ่งเรื่องถ่ายภาพที่จะต้องอาศัยการฝึกฝน อาศัยประสบการณ์ในการถ่ายภาพบ่อยๆ เพราะการจัดมุมกล้อง ก็คือการวาง องค์ประกอบภาพ ให้ดูสวยงามและน่าสนใจ และไม่มีสิ่งอื่นใด เช่น แสงแฟลร์ เข้ามารบกวนในเฟรมภาพ การถ่ายภาพย้อนแสง มักจะมีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ซึ่งถ้าหากว่าช่างภาพไม่มีประสบการณ์มากพอ ไม่มีความเข้าใจในเรื่องพื้นฐานการถ่ายภาพ ก็อาจจะเจอกับปัญหาที่จะเกิดจากการถ่ายย้อนแสงมากมาย เช่น ภาพมืดเกินไป หรือมีแสงแฟลร์จากแหล่งกำเนิดแสงด้านหลัง ทำให้รบกวนตัวแบบหลัก

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

อยากได้โบเก้ จะถ่ายยังไง??

อยากได้โบเก้ จะถ่ายยังไง?? อยากได้โบเก้ ก็ต้องรู้ก่อนว่าโบเก้คืออะไร มาจากไหน โบเก้ (Bokeh) คือจุดสว่าง ที่อยู่นอกระยะชัด หรืออยู่ห่างจากจุดที่เราโฟกัส จะเห็นได้ง่ายๆ เมื่อถ่ายภาพด้วยรูรับแสงกว้างๆ และจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อใช้เลนส์ช่วงเทเลโฟโต้ โบเก้ มาจากหลอดไฟที่เป็นหลอดใส้ แสงไฟที่เป็นดวงกลม หรือเป็นจุด มาจากแสงที่ลอดทะลุใบไม้ลงมา หรือเกิดจากแสงสะท้อนที่เป็นจุดๆ แล้วเบลอจากการจากการใช้รูรับแสงกว้างๆ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่จะได้เรียนเป็นอันดับต้นๆ ของความรู้เรื่องการถ่ายภาพ การใช้

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

ความไวแสงกล้องฟิล์ม ใครว่า เปลี่ยนไปๆ มาๆ ไม่ได้!!!!

ความไวแสงกล้องฟิล์ม ใครว่า เปลี่ยนไปๆ มาๆ ไม่ได้!!!! ปกติแล้ว ก็มักจะเลือกความไวแสงฟิล์ม (ISO) ให้เหมาะสมกับภาพที่ต้องการ เช่น ถ่ายกลางแจ้ง ก็จะใช้ ISO100 หรือ 200 ความไวแสงฟิล์ม สำหรับกล้องฟิล์ม คือการเลือกฟิล์มให้เหมาะสมกับสภาพแสงที่ต้องการถ่ายรูป เช่น ถ่ายกลางแจ้ง ก็เลือกฟิล์ม ISO100 หรือ 200 ถ่ายในอาคาร หรือช่วงแสงน้อย ก็อาจจะเป็น ISO400 หรือ 800 เป็นต้น ซึ่งเมื่อเลือกฟิล์มและใส่เข้าไปในกล้องถ่ายภาพแล้ว

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

โหมด P มีดียังไง??

โหมด P มีดียังไง?? โหมด P หรือโหมดโปรแกรม  มักจะเป็นโหมดถ่ายภาพที่หลายๆ คนมองข้าม เพราะ (อาจจะ) รู้สึกกันไปเอง ว่าเป็นโหมดที่กล้องปรับให้ทุกอย่าง ดูไม่โปร แต่จริงๆแล้ว โหมด P สามารถปรับตั้งค่ากล้องอย่างอื่นได้มากกว่าโหมดอัตโนมัติทั่วๆ ไป โดยเริ่มต้น กล้องจะปรับตั้งค่า ความเร็วชัตเตอร์ และ รูรับแสง ให้ แต่เราก็สามารถปรับเปลี่ยน หรือตั้งค่ากล้องอย่างอื่น อาทิ ปรับชดเชยแสง, ปรับความไวแสง,

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

ชัดลึก ชัดตื้น คือแบบไหน??

ชัดลึก ชัดตื้น คือแบบไหน?? ชัดลึก ชัดตื้น เป็นคำที่ใช้กันบ่อยๆ ในวงการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นการระบุถึงลักษณะของภาพนั้นๆ อย่างชัดเจน ซึ่งชัดตื้น จะใช้ควบคู่ไปกับคำว่าหน้าชัดหลังเบลอ ทำให้ช่างภาพมือใหม่ๆ อาจจะยังเข้าใจผิดไป ว่าชัดตื้นคือข้างหน้าชัด ข้างหลังเบลอ ส่วนชัดลึกคือ ข้างหลังชัด แต่ข้างหน้าเบลอ หรือแบ็คกราวน์ด้านหลังชัด ด้านหน้าเบลอ ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดครับ ภาพบุคคล เป็นอีกรูปแบบชัดตื้นอย่างหนึ่ง

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

รูปเพี้ยนสี ให้เช็กที่ White Balance

รูปเพี้ยนสี ให้เช็กที่ White Balance รูปเพี้ยนสี คือรูปที่มีสีสันไม่ตรงตามจริงนั่นเอง ซึ่งบางครั้ง รูปเพี้ยนสีก็อาจจะทำให้เราได้รูปแปลกๆ แต่สวยงามก็เป็นได้ เพียงแต่ก็ต้องให้รู้ไว้ว่า รูปนั้นสีไม่ตรง รูปเพี้ยนสี เกิดได้ทั้งจากความความไม่รู้ ความผิดพลาด และความตั้งใจ สีสันของภาพที่เกิดขึ้น จะมาจากแหล่งกำเนิดแสงแบบต่างๆ ซึ่งก็จะให้โทนสีที่แตกต่างกันไปตามอุณหภูมิสี การตั้งค่า White Balance ที่ตัวกล้อง คือการบอกให้กล้องรู้ว่า เรากำลังถ่ายรูปอยู่ในสภาพแสงแบบไหน

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

แสง เวลา และจังหวะ

แสง เวลา และจังหวะ แสง คือสิ่งที่เราใช้ระบายแต้มไปในเซ็นเซอร์ภาพ ให้เกิดเป็นภาพที่เราต้องการ ซึ่งแน่นอนว่า ภาพที่ดี ก็ย่อมต้องมาจากแสงที่ดี ซึ่งจะช่วยให้ถ่ายทอดสีสัน เก็บรายละเอียด และความคมชัดของภาพได้ดีขึ้น และเมื่อแสงดีแล้ว ที่เหลือก็คือจังหวะลั่นชัตเตอร์ เพื่อให้ได้ภาพที่เราต้องการนั่นเอง แสงที่ดี มักจะมาจากช่วงเวลาที่เหมาะสม ช่วงเวลาที่แสงดีๆ ก็ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย ซึ่งถ้าหากว่าเป็นช่างภาพแนว Landscape ก็น่าจะเข้าใจได้ดีว่า การถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติ

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

Basic Tips สำหรับถ่ายมาโคร

Basic Tips สำหรับถ่ายมาโคร Basic หรือเรื่องพื้นฐาน กิจกรรมหลายๆ อย่าง ก็ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานให้ดีก่อน อย่างการเล่นกีฬา ถ้าจะให้เก่งเร็วๆ หรือมีความชำนาญ ก็ต้องฝึกพื้นฐานให้แน่นซะก่อน การถ่ายภาพก็เช่นกัน จะให้เก่งๆ ก็ต้องเข้าใจพื้นฐานการปรับตั้งกล้อง เข้าใจพื้นฐานเรื่องแสง เพื่อที่จะถ่ายรูปออกมาให้ได้ตามที่ต้องการ พื้นฐานสำหรับ ถ่ายมาโคร ก็จะอาศัยความเข้าใจพื้นฐานการถ่ายภาพ เรื่องการปรับรูรับแสง และเทคนิคการโฟกัส รวมทั้งการเลือกเลนส์มาโครที่เหมาะสม เพราะภาพมาโคร

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ

ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ ระวังสิ่งแปลกปลอมในภาพ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลุดกันง่ายๆ เพราะไม่ได้สังเกตุก่อนถ่ายภาพ หรือมองข้ามไปเลยก็มี โดยเฉพาะกับมือใหม่ที่ยังไม่มีความชำนาญในการถ่ายภาพมากพอ หรือแม้แต่มืออาชีพที่อาจจะหลุดได้เช่นกัน สิ่งแปลกปลอมในภาพที่ต้องระวัง อย่างเช่น ถังขยะ ถุงพลาสติก กระป๋องเครื่องดื่ม เสาไฟฟ้า ขาตั้งไฟ หรืออะไรก็ตามที่ไม่ได้ส่งเสริมให้ภาพดูดีขึ้น หรือมาแย่งความสนใจไปจากบรรยากาศหลักที่เราต้องการสื่อ อย่างภาพตัวอย่างนี้ สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ได้ต้องการเลยคือ คนเสื้อขาว ที่ถ่ายภาพอยู่ข้างล่างเนินลงไป เสื้อขาวจะดูเด่นขึ้นมาท่ามกลางโทนมืดๆ ต่างจากสองคนในชุดเข้มๆ ที่ยืนถ่ายภาพอยู่ข้างบนเนิน ซึ่งใช้เป็นส่วนเสริมของภาาพ

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

ถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่น

ถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่น ถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่น เป็นคำถามที่เคยตอบอยู่บ่อยๆ วันนี้เลยเอามาเขียนไว้เป็นแบบ Tips ง่ายๆ ที่หลายๆ คนอาจจะมองข้ามไป การถ่ายยังไงให้ตัวแบบเด่นจะมีทั้งการปรับมุมมอง และการตั้งค่ากล้อง ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง โดยจะอ้างอิงกับการถ่ายภาพธรรมชาติ ถ่ายใกล้ๆ แบบมาโคร ถ่ายนก ถ่ายแมลงเป็นหลักครับ ตั้งกล้องในมุมระนาบ อย่างภาพตัวอย่าง เป็นผีเสื้อที่เกาะหากินอยู่บนพื้น ถ้าถ่ายมุมมองแบบก้มกล้องลงไป ตัวผีเสื้อแทบจะกลืนไปกับพื้น ก้อนหิน ก้อนกรวดก็จะชัดไปด้วยทั้งหมด

Read More
BASIC PHOTO TECHNIQUES

ระบบวัดแสงแบบ F-stop กับแบบ EV-step ต่างกันยังไง

ระบบวัดแสงแบบ F-stop กับแบบ EV-step ต่างกันยังไง ระบบวัดแสงแบบ F-stop จะเป็นระบบวัดแสงที่เราคุ้นเคยกันดี  และใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็มีระบบวัดแสงอีกแบบที่อาจจะไม่คุ้นหูกันมากนัก บางคนอาจจะงงๆว่าเอาไปใช้งานอะไร แบบไหน สำหรับการถ่ายภาพที่ซีเรียสเรื่องของรูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ อาจจะเลือกใช้งานแบบ F-stop ซึ่งสามารถเลือกตั้งค่า รูรับแสง หรือความเร็วชัตเตอร์ที่ต้องการไว้ก่อน และตั้งอีกค่าตาม หรือถ้าหากว่าวัดค่าแสงจากเครื่องวัดแสง การหาค่ารูรับแสง เราจะต้องตั้งความไวแสงและความเร็วชัตเตอร์ไว้ก่อน ตัวเลขค่า EV ของกล้อง Konica III ซึ่งจะล็อควงแหวนรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ไว้ด้วยกัน เวลาปรับก็แค่หมุนวงแหวนเดียว ทั้งความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง จะถูกปรับให้สัมพันธ์กัน

Read More